คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางร่วมในที่ดินมรดกโดยถือวิสาสะ ไม่ถือเป็นภารจำยอม แม้ใช้ต่อเนื่องนานปี
โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค.และพ.โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลง เดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มีค. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่ 4 หลัง รวมทั้งบ้านของค.บ้านของค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็น บุตรหลายและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันใน ระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตร ผู้อาศัยอยู่ในบ้านค. ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกันหลังจากค. ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภารจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภารจำยอม ในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกตกเป็นสมบัติของวัด: นิติกรรมโอนขายที่ดินธรณีสงฆ์เป็นโมฆะ
พระภิกษุ ส. ได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ ส. ในขณะถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1623 แต่วัดมิใช่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุที่ถึงแก่มรณภาพตามมาตรา 1629 ดังนั้น การที่วัดจำเลยร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ส. จึงมิใช่กรณีทายาทร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งมรดกให้ทายาท การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยผลแห่งกฎหมาย
แม้ก่อนถึงแก่มรณภาพพระภิกษุ ส. ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ผ่อนชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อพระภิกษุ ส. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 โดยเป็นที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33 (2) และมาตรา 34 การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกพระภิกษุ ส. จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยร่วม แม้จะ โดยความเห็นชอบของจำเลยที่ 1 ก็เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นิติกรรมย่อมเสียเปล่ามาแต่แรก โดยศาลไม่จำเป็นต้องเพิกถอน และโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เพราะจำเลยทั้งสองไม่มีอำนาจทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นธรณีสงฆ์ให้แก่โจทก์ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดกก่อนมีโฉนด: สัญญาแบ่งมรดกมีผลผูกพัน แม้มีข้อจำกัดการโอนในโฉนด
สัญญาแบ่งมรดกที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทำขึ้นก่อนมีโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสิทธิของโจทก์ก่อนมีโฉนดที่ดิน แม้ที่ดินโฉนดที่พิพาทมีข้อความระบุว่าห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เพราะไม่ใช่กรณีที่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินแก่เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่แท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิในที่ดินมรดก เพื่อใช้ในการพิจารณาคดีแพ่ง ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
หนังสือหลักฐานการได้รับเงินและสละสิทธิ์ในที่ดินมรดกเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแก่การก่อ เปลี่ยนแปลงโอนหรือระงับซึ่งสิทธิในที่ดินมรดก จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และที่ดินมรดก: การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่ดินที่ได้มาจากการครอบครองและทำประโยชน์
ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งจำเลยแถลงไว้ว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของ ล. บิดาจำเลยและโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ต่อมาล. ละทิ้งร้าง จำเลยได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมาจำเลยเคยจะแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้า 5 ไร่ เนื่องจากเห็นแก่มารดา คำแถลงของจำเลยมิได้เกิดการถูกบังคับขู่เข็ญหรือหลอกลวงหากแต่จำเลยได้กระทำโดยสมัครใจ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8227/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากการขายที่ดินมรดกและการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอม
ช.กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยาก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5พ.ศ.2477 ช.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2535 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ระหว่างที่ ช.มีชีวิตอยู่ ช.ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 10/141ให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างสมรสโจทก์ที่ 1 และ ช.ได้หย่าขาดจากกัน ประกอบกับที่ดินมรดกนั้น ช.ได้รับมาก็ไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด กรณีจึงเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่า ที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 ดังนี้เงินที่ช.ได้มาจากการขายที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปฝากธนาคาร เมื่อเป็นการได้ทรัพย์สินมาหลังจาก ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำ ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นมาใช้บังคับ จะนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับหาได้ไม่ เงินที่ ช.ได้จากการขายที่ดินมรดกจึงเป็นสินสมรส
การที่ ช.นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช.ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1 จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9309/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก: ผู้ครอบครองต้องมีกรรมสิทธิ์ในส่วนของตนเองและระยะเวลาครอบครองต้องครบ 10 ปี
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 3644 เป็นกรรมสิทธิ์ของ ว.กับอ.เมื่อ ว.กับอ.ถึงแก่ความตายป.บุตรของว.กับ อ. และ จ. ภริยาของ ป. ได้ครอบครองที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนด้านทิศตะวันออกที่พิพาทกันต่อมา ป. และ จ. ถึงแก่ความตายที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของป. และ จ. ก็ตกได้แก่จ่าสิบตำรวจส. โดยเป็นสินส่วนตัวของจ่าสิบตำรวจ ส.ครั้นจ่าสิบตำรวจส. ถึงแก่ความตายที่พิพาทจึงเป็นมรดกที่ตกได้แก่ทายาทของจ่าสิบตำรวจส.ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่พิพาทโดยผลแห่งกฎหมายด้วย การที่ผู้ร้องเข้าครอบครองที่พิพาททั้งแปลงนั้นเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น มิใช่ทรัพย์สินของผู้อื่นที่ผู้ร้องจะเข้าครอบครองโดยปรปักษ์ได้สำหรับที่พิพาทในส่วนที่เป็นมรดกตกได้แก่ทายาทคนอื่นของจ่าสิบตำรวจ ส. นั้น เมื่อเวลาที่ผู้ร้องครอบครองมานับแต่จ่าสิบตำรวจ ส. ถึงแก่ความตายจนถึงเวลาที่ผู้ร้องยื่นคำร้องยังไม่ถึง 10 ปี จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วยการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: การครอบครองและแบ่งแยกที่ดินตามแผนที่, การพิพาทเรื่องฐานะเจ้าของ
อุทธรณ์ของจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งหมดมิใช่ทรัพย์มรดกหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอุทธรณ์จำเลยย่อมได้รับผลตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งคดีจึงเป็นคดีที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามราคาทรัพย์พิพาทคือ54,000บาทโดยไม่แยกทุนทรัพย์ตามที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเมื่อที่พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาทจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6538/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก: ข้อพิพาทราคาเกินสองแสนบาทไม่ขัดขวางการฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสิบเอ็ดอ้างว่าที่ดินทั้งสองโฉนดตามฟ้องรวมราคา219,560 บาท (ที่ถูก 239,520 บาท) เป็นทรัพย์ในกองมรดกของนางสาหร่ายที่ยังไม่ได้แบ่งให้ทายาท จำเลยต่อสู้ว่า ที่ดินทั้งสองโฉนดเป็นของนายหนูซึ่งได้รับการแบ่งจากกองมรดกมาโดยชอบแล้ว เท่ากับโต้เถียงว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองโฉนดเป็นของนายหนูโดยชอบแล้ว มิใช่ทรัพย์ในกองมรดกของนางสาหร่าย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดชนะคดี จำเลยฎีกาเพื่อให้ได้รับผลตามข้อต่อสู้จึงเป็นคดีที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามราคาที่ดินทั้งสองโฉนด เมื่อที่ดินทั้งสองโฉนดมีราคารวมกันเกินกว่าสองแสนบาท จำเลยจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: การฟ้องบังคับจดทะเบียนและขับไล่ ไม่ใช่ประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนกับคดีนี้ แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่ในคดีก่อนประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนที่โจทก์ฟ้องได้หรือไม่ คงวินิจฉัยไว้แต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทในคดีก่อนเพียงใด เท่าใด ดังนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นที่ดินพิพาท กับขอให้ขับไล่จำเลยที่ 7 และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดก แต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 12