คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินสาธารณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกสาธารณสมบัติ การก่อสร้างบนที่ดินสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีการรื้อถอนแล้วก็ยังถือเป็นความผิด
แม้ทางราชการมิได้ใช้ที่ดินพิพาทที่ได้รับการให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ทำการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตามความประสงค์ของผู้ให้ ก็ไม่ได้ทำให้จำเลยทั้งสองเกิดสิทธิที่จะบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาทก่อสร้างอาคารหรือปลูกสร้างท่าจอดเรือลงในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้อาคารที่ก่อสร้างจะถูกรื้อไปแล้วก็ไม่ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นสำเร็จแล้วกลายเป็นไม่ผิด การกระทำของบริษัทจำเลยที่ 2 ที่กระทำลงไปนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง และ ป.อ. มาตรา 360 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินเวนคืนกลายเป็นที่สาธารณะ แม้ไม่มีการจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกแก่ผู้รับโอนต่อๆ กัน
พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ถูกเวนคืนกับนายอำเภอภาษีเจริญและรับเงินค่าทดแทนไปครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาจะซื้อจะขายมีข้อความว่า พ. ผู้ขายตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อเพื่อจัดสร้างถนน โดยจะนำโฉนดไปขอรังวัดแบ่งแยกเป็นที่ดินสาธารณะและให้ผู้ซื้อมีสิทธิเข้าดูแลสถานที่ได้ทันทีนับแต่วันทำสัญญา เห็นได้ชัดเจนว่า พ. มีเจตนาขายที่ดินพิพาทเพื่อให้ก่อสร้างถนนสาธารณะโดยให้ยอมสร้างได้ทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันทันทีนับแต่วันทำสัญญา แม้ภายหลังจะไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกันก็ตาม ที่ดินพิพาทจึงจะโอนให้แก่กันมิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 การที่ พ. แบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทออกเป็นชื่อของ พ. แล้วมีการโอนต่อให้ อ. และ อ. นำไปขายฝากให้แก่ น. แล้ว น. โอนให้แก่โจทก์ผู้รับโอนต่อ ๆ มารวมทั้งโจทก์ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของ พ. ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณะโดยเจตนา ศาลพิพากษาลงโทษปรับและให้รอการลงโทษ
ที่ดินที่จำเลยซื้อจาก พ. เป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งมีรูปแผนที่แสดงอาณาเขตและเขต ติดต่อไว้อย่างชัดแจ้ง การซื้อขายได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าที่ดินที่ซื้อ ด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่า เมื่อจำเลยปลูกสร้างบ้านและอาคารโรงงานล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อจะยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง จึงมีความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1), 108 ทวิ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครอง ที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้องไม่
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่ง ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ เป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครอง โดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา อันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิด เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมาจนถึงวันฟ้อง จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณะโดยเจตนา และอายุความความผิดต่อเนื่อง
ที่ดินที่จำเลยซื้อจาก พ. เป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีรูปแผนที่แสดงอาณาเขตและเขตติดต่อไว้อย่างชัดแจ้ง การซื้อขายได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าที่ดินที่ซื้อด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่าเมื่อจำเลยปลูกสร้างบ้านและอาคารโรงงานล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อจะยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่าตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครองที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้อง
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9(1)ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมาอันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิดก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมา จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะ ตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิด คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432-7440/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด: ที่ดินสาธารณะคั่นกลาง ทำให้จำเลยไม่ต้องรื้อถอนบ้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934-1936/2534 ที่วินิจฉัยว่า ทางเดินหน้าบ้านจำเลยเป็นที่ดินของโจทก์นั้นเป็นคดีที่โจทก์พิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับบ้านหลังอื่นซึ่งมิใช่บ้านพิพาทของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แม้จำเลยที่ 4 จะเป็นคู่ความด้วยแต่ก็อยู่ในฐานะเจ้าของบ้านเลขที่ 31 ซึ่งเป็นคนละหลังกับบ้านพิพาทของจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ ส่วนบ้านพิพาทคดีนี้โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยทั้งเจ็ดและเจ้าของบ้านเดิมของบ้านพิพาทโดยอ้างเหตุว่าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดปลูกสร้างบนที่ดินโจทก์ คดีถึงที่สุดว่าที่ดินปลูกบ้านพิพาทและทางเดินหน้าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นที่สาธารณะ คำพิพากษาคดีก่อน มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก ดังนั้นบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดจึง ไม่อยู่ติดต่อกับที่ดินโจทก์เพราะมีทางสาธารณะคั่นอยู่ บ้านของจำเลยทั้งเจ็ดย่อมไม่เกี่ยวข้องกับการที่โจทก์จะสร้างพนังกั้นน้ำหรือทำเขื่อนเพื่อป้องกันดินพัง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อถอนบ้านพิพาทออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432-7440/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนบ้านบนที่ดินสาธารณะ: ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากบ้านไม่ได้อยู่ติดที่ดินโจทก์
เดิมมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934-1936/2534 วินิจฉัยว่า ทางเดินหน้าบ้านจำเลยเป็นที่ดินของโจทก์นั้น ในชั้นฎีกาเป็นคดีที่โจทก์พิพาทกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับบ้านหลังอื่น ซึ่งไม่ใช่บ้านพิพาทของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แม้จำเลยที่ 4 เป็นคู่ความด้วยก็อยู่ในฐานะเจ้าของบ้านเลขที่ 31 ซึ่งเป็นคนละหลังกับบ้านพิพาทของจำเลยที่ 4 ในคดีนี้แต่ในส่วนบ้านพิพาทคดีนี้โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยทั้งเจ็ดและเจ้าของเดิมของบ้านพิพาทโดยอ้างเหตุว่าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดปลูกสร้างบนที่ดินโจทก์ คดีถึงที่สุดว่าที่ดินปลูกบ้านพิพาทและทางเดินหน้าบ้านของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นที่สาธารณะ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ไม่ต้องนำมาตรา 145(2) มาใช้ ดังนั้นบ้านจำเลยทั้งเจ็ดไม่อยู่ติดต่อกับที่ดินโจทก์เพราะมีทางสาธารณะคั่นอยู่ บ้านจำเลยทั้งเจ็ดย่อมไม่เกี่ยวข้องกับการที่โจทก์จะสร้างพนังกั้นน้ำหรือทำเขื่อนเพื่อป้องกันดินพังโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อถอนบ้านออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมยกที่ดินเป็นทางสาธารณะจากความผิดพลาด เจ้าของมีสิทธิเรียกคืนได้ ศาลสั่งให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
++ เรื่อง ที่ดิน เพิกถอนนิติกรรม ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว คงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1305 การที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่า ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อปี 2523 โจทก์ซื้อบ้านเลขที่ 52/6 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 10265 ตำบลลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นบ้านและที่ดินจัดสรรในโครงการหมู่บ้านสยามวิลล่าของบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด ต่อมาวันที่ 6 มกราคม 2524 โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 18 ตารางวา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่1265 และอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 ในราคาตารางวาละ3,500 บาท เป็นเงิน 63,000 บาท จากจำเลยที่ 1 โจทก์วางเงินมัดจำเป็นเงิน 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนับแต่วันทำหนังสือวางมัดจำ โจทก์จึงขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจากสำนักงานเขตบางเขน แล้วปลูกสร้างอาคารบนที่ดินพิพาทจากนั้นขอเลขหมายประจำบ้านจากสำนักงานเขตบางเขนและได้เลขหมายประจำบ้าน 52/60
++ ครั้นวันที่ 15 เมษายน2528 โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทอีกครั้งหนึ่งโดยโจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทที่ค้างอีก 53,000 บาท ให้จำเลยที่ 1และมีข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งขณะนั้นจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์
++ แต่เมื่อวันที่ 5 กันยายน2533 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265ให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยมิได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดิน 1265 ให้โจทก์ตามข้อตกลง
++
++ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์และขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 นั้น
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำพิพากษาดังเช่นที่จำเลยที่ 2 ฎีกา หากแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 โดยมิได้บังคับจำเลยทั้งสองให้ไปจดทะเบียนเพิกถอนแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
++
++ คงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการแรกว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้หรือไม่
++ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ทำหนังสือและจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที การโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 เพื่อโอนให้โจทก์จึงเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมาย
++
++ ในข้อนี้ ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องการโอนขายที่ดินโครงการที่ 2 ให้แก่บริษัทเซ็นจูรี่พาร์คคอนโดมิเนียม จำกัด เพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้รับจำนองและในการโอนขายที่ดินดังกล่าวจำเลยที่ 1 จะต้องยินยอมให้ถนนในที่ดินโฉนดเลขที่1264 และ 1265 ซึ่งอยู่ในโครงการที่ 1 เป็นทางสาธารณประโยชน์ก่อน การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ1265 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์นั้น จำเลยที่ 1 มีเจตนายกให้เฉพาะที่ดินส่วนที่เป็นถนนอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 1 ตกลงขายให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว
++ ดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อนหากแต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 สัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์และจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์มาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 และเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2แล้ว คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้และไม่ขัดต่อกฎหมาย
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการที่สองมีว่า มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และมีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์หรือไม่
++ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า กรณีพิพาทเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนร่วมหรือรับรู้ในการกระทำหรือในความสำคัญผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ควรต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคแรก บัญญัติให้ความรับผิดชั้นสุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ทั้งนี้ให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย
++ ตามคำขอยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265 ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าเพื่อให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในโฉนดเลขที่ 1265 จำเลยที่ 1 สัญญาจะขายให้โจทก์ และโจทก์ปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทก่อนจำเลยที่ 1 จะทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265 แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ ย่อมเป็นการข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย ทั้งก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การและต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์
++ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ10,000 บาท และที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการสุดท้ายมีว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือไม่
++ เห็นว่า คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมายถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
++ เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีในศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาท และที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสาธารณะ: สิทธิของโจทก์และการอุทิศที่ดิน
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ประเด็นในเรื่องนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานและพิพากษาใหม่แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยจะอุทธรณ์โต้แย้งว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา144
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยายแล้ว การซื้อขายระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาครั้งแรกได้วินิจฉัยเพียงว่า ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะขายที่ดินของตนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของที่ดินเดิมโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยายหรือไม่ อันจะเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การปรับบทกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยจะขอให้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทนี้อีกไม่ได้เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในครั้งแรกแล้วเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนในโครงการศูนย์การค้าที่จัดสรรทุกสายซึ่งรวมถึงถนนที่ที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยผลของการแสดงเจตนาอุทิศดังกล่าว แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนก็ตาม ก็ต้องถือว่าเจ้าของเดิมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฎษฎีกา
ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินก่อนโจทก์จะรับโอนที่ดินมา การรับโอนที่ดินพิพาทของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายโจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ทั้งไม่มีสิทธิยึดถือที่ดินพิพาทเอาเป็นของตนเองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย และสิทธิของประชาชนในการใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณสมบัติ
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยได้จัดสรรแบ่งขายโดยรังวัดแบ่งแยกออกเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยจำเลยใช้แผนผังโฆษณาขายที่ดินเพื่อแสดงว่าที่ดินที่จัดสรรแบ่งขาย มีถนนใหญ่ตัดผ่านกลางที่ดินและมีถนนซอยผ่านที่ดินที่แบ่งขายทุกแปลงออกสู่ถนนใหญ่ และผู้ซื้อที่ดินแต่ละแปลงจะต้องสละที่ดินของตนเองทำเป็นถนนซอยของส่วนรวม ส่วนถนนใหญ่จำเลยจะกันที่ดินของจำเลยไว้ให้ทำเป็นถนนใหญ่ จึงเป็นการที่จำเลยได้อุทิศโฉนดเลขที่พิพาทเป็นทางสาธารณะคือถนนสายพิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออก แม้ภายหลังทางราชการทำถนนเคลื่อนจากแนวถนนเดิม ก็หามีผลทำให้ถนนสายพิพาทกลับกลายเป็นไม่ใช่ทางสาธารณะไม่ ถนนสายพิพาทย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีที่จำเลยได้แสดงเจตนาอุทิศถนนสายพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามป.พ.พ.มาตรา 525
ถนนสายพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งโจทก์มีส่วนใช้และดูแลรักษาคุ้มครองป้องกัน การที่จำเลยทั้งหกไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวที่อุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ฟ้องโจทก์บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อที่ดินกับจำเลย รวมถึงความรับผิดและข้อผูกพันของจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินที่แบ่งขาย ให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี และตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฎว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะระบุที่ดินเลขโฉนดซึ่งพิมพ์ผิดพลาดไปก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไป ทั้งปรากฎว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับเลขที่โฉนดที่ดินที่พิมพ์ผิดพลาดให้เป็นการถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม
คดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ10,000 บาท แทนโจทก์จึงไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้แก้ไขในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย และสิทธิในที่ดินสาธารณะ
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อมาจำเลยได้จัดสรรแบ่งขายโดยรังวัดแบ่งแยกออกเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยจำเลยใช้แผนผัง โฆษณาขายที่ดินเพื่อแสดงว่าที่ดินที่จัดสรรแบ่งขายมีถนนใหญ่ตัดผ่านกลางที่ดินและมีถนนซอยผ่านที่ดินที่แบ่งขายทุกแปลงออกสู่ถนนใหญ่ และผู้ซื้อที่ดินแต่ละแปลงจะต้องสละที่ดินของตนเองทำเป็นถนนซอยของส่วนรวมส่วนถนนใหญ่จำเลยจะกันที่ดินของจำเลยไว้ให้ทำเป็นถนนใหญ่ จึงเป็นการที่จำเลยได้อุทิศโฉนดเลขที่พิพาทเป็นทางสาธารณะ คือถนนสายพิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออก แม้ภายหลัง ทางราชการทำถนนเคลื่อนจากแนวถนนเดิม ก็หามีผลทำให้ถนน สายพิพาทกลับกลายเป็นไม่ใช่ทางสาธารณะไม่ ถนนสายพิพาท ย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทันทีที่จำเลยได้แสดงเจตนาอุทิศถนนสายพิพาทเป็น ทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย โดยไม่จำต้องจดทะเบียน โอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ถนนสายพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งโจทก์มีส่วนใช้และดูแลรักษาคุ้มครองป้องกัน การที่จำเลยทั้งหกไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวที่อุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อที่ดินกับจำเลย รวมถึงความรับผิดและข้อผูกพันของจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินที่แบ่งขายให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี และตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะระบุที่ดินเลขโฉนด ซึ่งพิมพ์ผิดพลาดไปก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไป ทั้งปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง เกี่ยวกับเลขที่โฉนดที่ดินที่พิมพ์ผิดพลาดให้เป็นการถูกต้อง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม คดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 10,000 บาท แทนโจทก์จึงไม่ชอบเพราะตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดี ไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนโดยมิได้แก้ไขในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข เสียให้ถูกต้อง
of 13