พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันกับคดีก่อนที่ถึงที่สุดแล้ว
เดิมโจทก์ในคดีนี้ถูกจำเลยฟ้องหาว่าโจทก์บุกรุกที่ดินของจำเลย ศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ในชั้นบังคับคดีนั้นโจทก์หาว่าจำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนปักหลักรุกล้ำที่ดิน แทนที่จะปักหลักตามที่จำเลยชนะคดี ขอให้ศาลสั่งให้พนักงานศาลไปรังวัดสอบเขตใหม่ แล้วโจทก์รับรองแผนที่ที่พนักงานศาลทำขึ้นโดยลงชื่อไว้ ต่อมาโจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยปักหลักรุกล้ำที่ดินของโจทก์ ที่โจทก์ได้รับรองแผนที่ไว้นั้น เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าที่พิพาทในคดีนี้เป็นที่แปลงเดียวกันกับในคดีก่อน ซึ่งศาลได้พิพากษาในประเด็นเดียวกันนี้ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมต้องเกิดเมื่อกรรมสิทธิ์แยกขาด การใช้ทางเดินต่อเนื่องหลังแบ่งแยกที่ดินยังไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม
ทางเดินพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดแปลงเดียวกัน ซึ่งมีเจ้าของรวม 2 ฝ่ายครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้แยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด และในระหว่างนั้น ถึงแม้ผู้เช่าห้องแถวของเจ้าของรวมอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ใช้ทางเดินพิพาทนั้นมาเป็นเวลา 20 ปีเศษก็ตาม และภายหลังเมื่อได้แบ่งแยกโฉนดครอบครองกันเป็นส่วนสัดแล้ว แต่ก็ยังใช้ทางเดินพิพาทนั้นไม่ถึง 10 ปี นับแต่ได้แยกกันครอบครองทางเดินพิพาทย่อมไม่เป็นทางภาระจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประนีประนอมยอมความแล้วย่อมไม่ฟ้องซ้ำ – การรับรองที่ดินแปลงเดียวกันในคดีก่อนมีผลผูกพัน
จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ จำเลยได้ทำการประนีประนอมยอมความกันโดยศาลจดรายงานไว้เป็นหลักฐานในคดีหนึ่งแล้ว
ในวันชี้สองสถาน โจทก์รับว่าที่ดินที่ฟ้องเป็นที่รายเดียวกันกับที่ยื่นคำร้องคัดค้านไว้ต่อศาลในคดีที่จำเลยอ้างจริงดังนี้ ศาลจะฟังตามที่จำเลยอ้างว่าคดีนี้มีประเด็นอย่างเดียวกับคดีก่อน และโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันแล้วไม่ได้. เพราะโจทก์มิได้แถลงรับทั้งคดีที่กล่าวอ้างก็ยังไม่มีคู่ความใดอ้างสำนวนเป็นพยาน
ในวันชี้สองสถาน โจทก์รับว่าที่ดินที่ฟ้องเป็นที่รายเดียวกันกับที่ยื่นคำร้องคัดค้านไว้ต่อศาลในคดีที่จำเลยอ้างจริงดังนี้ ศาลจะฟังตามที่จำเลยอ้างว่าคดีนี้มีประเด็นอย่างเดียวกับคดีก่อน และโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันแล้วไม่ได้. เพราะโจทก์มิได้แถลงรับทั้งคดีที่กล่าวอ้างก็ยังไม่มีคู่ความใดอ้างสำนวนเป็นพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4150/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก: โจทก์ไม่ต้องเสียค่าทดแทนหากที่ดินเดิมเป็นแปลงเดียวกัน
ตามคำฟ้องและคำให้การมีประเด็นอยู่ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางจำเป็นหรือไม่ หากเป็นทางจำเป็นแล้วควรกว้างยาวเพียงใด และโจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินหรือไม่ โจทก์หาต้องบรรยายว่า ที่ดินของโจทก์จำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อน ส่วนการที่ที่ดินของโจทก์และจำเลยจะเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อนก็เป็นเรื่องผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทน ดังนั้น มาตรา 1350 นั้น จึงไม่จำต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องและเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นจากการพิจารณา กล่าวคือ หากที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่จำต้องเสียค่าทดแทน หากทางจำเป็นมิได้เกิดจากการแบ่งแยกที่ดินแปลงเดียวกันผู้ที่ขอใช้ทางจำเป็นก็จำต้องใช้ค่าทดแทน การที่โจทก์นำสืบว่า ที่ดินของโจทก์จำเลยเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อนจึงไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8591/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางพิพาทในที่ดินแปลงเดียวกันกับกรรมสิทธิ์ร่วม ไม่ถือเป็นการใช้เพื่อสร้างภาระจำยอม จนกว่าจะมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
ก่อนหน้าวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1129-1130/2544 ที่ดินโฉนดเลขที่ 3437 เดิมซึ่งมีทางพิพาทอยู่บนที่ดิน เป็นที่ดินที่โจทก์กับพวกมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย ดังนั้น การใช้ทางพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการใช้ตามกรรมสิทธิ์ของตนซึ่งไม่ใช่การใช้ทางพิพาทโดยเจตนาให้เป็นทาภาระจำยอม แต่การใช้ทางพิพาทโดยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมหากจะเกิดขึ้นก็ต้องเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีดังกล่าว ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องคดีนี้ยังไม่ครบ 10 ปี ทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์