คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทุนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง คดีหมั้นหมาย ทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และการโต้เถียงดุลพินิจพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ร่วมกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกัน เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหาดังกล่าวให้ เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาเพียงข้อเดียวว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีราคารวมเป็นเงิน 162,500บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของขำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง เหตุทุนทรัพย์เกินและข้อพิพาทเป็นเรื่องสัญญาหมั้นสินสอด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: คดีครอบครองที่ดินมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ศาลโอนคดีได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทจำเลยที่ 1 ออกเอกสารสิทธิสำหรับที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ครอบทับที่พิพาทที่โจทก์ครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่พิพาทเพื่อเพิกถอนหรือแก้ไขให้เป็นชื่อโจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องและมีคำขอบังคับให้สิทธิครอบครองในที่พิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงในคดีครอบครองที่ดิน: การพิจารณาเรื่องทุนทรัพย์และอำนาจพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินออกเอกสารสิทธิสำหรับที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ครอบทับที่พิพาทที่โจทก์ครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่พิพาทเพื่อเพิกถอนหรือแก้ไขให้เป็นชื่อโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้สิทธิครอบครองในที่พิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทมีราคาไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนครราชสีมาที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดนครราชสีมาชอบที่จะโอนคดีไปให้ศาลแขวงพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีครอบครองที่ดินพิพาทที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครอง ขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นผู้จับจองครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณะ ขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีมีข้อพิพาทโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ตีราคามาเป็นเงิน 50,000 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าแผงขายสินค้าที่จำเลยปลูกสร้างอยู่ในเขตที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าว อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์และพิพากษาคดีมาจึงเป็นการไม่ชอบ ฎีกาโจทก์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาทและการขาดนัดพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ใช้บังคับแก่การฎีกาทั้งในประเด็นแห่งคดีตลอดจนในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นสาขาของคดีด้วย ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์เนื่องจากเสมียนทนายแจ้งวันนัดต่อทนายโจทก์คลาดเคลื่อน ทนายโจทก์ติดตามสำนวนคดีมาตลอดแต่ไม่อาจตรวจสอบได้ โจทก์มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่: การพิจารณาจากคำขอหลักและมูลค่าทรัพย์สินในการอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องคดีโดยมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 อนุมัติให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ซึ่งจำเลยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้เข้าแย่งการครอบครอง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ย่อมเป็นผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท คำขอที่ให้แสดงสิทธิครอบครองดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย แต่การที่ศาลจะพิพากษาตามคำขอในส่วนนี้ได้ ก็ต้องได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองและมิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ คำขอในส่วนนี้จึงเป็นเพียงคำขอที่ต่อเนื่องกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งถือว่าเป็นคำขอประธาน คดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ สิทธิของโจทก์ในการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงต้องพิจารณาจากราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ต่างอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนของตนแต่ละแปลงโดยมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้โจทก์จะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แยกต่างหากจากกัน เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาทและอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องการฟ้องขับไล่พร้อมเรียกค่าเสียหาย: การพิจารณาเรื่องทุนทรัพย์และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่พร้อมกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งกับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมา ดังนี้ จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกจากกัน กล่าวคือ ถ้าหากฎีกาประเด็นเรื่องขับไล่ก็ต้องพิจารณาว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่ โจทก์ฟ้องขับไล่และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 15,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 7,000 บาท โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาย่อมถือว่าในขณะยื่นคำฟ้องนั้น ที่ดินและบ้านพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ที่จำเลยฎีกาว่าคำเบิกความของโจทก์มีพิรุธฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นฎีกาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
ในเรื่องค่าเสียหาย ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 7,000 บาท นับแต่วันที่ 30 มีนาคม 2540 คำนวณถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2542 อันเป็นวันฟ้อง ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลฎีกาเกินสองแสนบาทไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และผลกระทบจากความเข้าใจผิดเรื่องกระบวนพิจารณา
คดีโจทก์มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ตลอดจนศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยต่อมาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ต้นดำเนินการอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์และศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์มาทำให้โจทก์ผิดหลงเข้าใจว่าคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โดยเข้าใจว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิในการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองอุทธรณ์หรือได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามตามมาตรา 249 และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา รวมถึงประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยให้ เนื่องจากไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นเป็นข้อพิพาทไว้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแต่ประการใด และไม่วินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์
of 77