คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธนาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเงินตามเช็คปลอม ลูกจ้างเบิกเงินผิดพลาด ธนาคารต้องรับผิดเต็มจำนวน
โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับจำเลยที่ 1 โดยฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานและเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินแล้วนำมาถอนเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ดังกล่าว 21 ครั้ง การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 จ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานอยู่ด้วยกันโดยมิได้ใส่ใจให้ความสำคัญแก่ลายมือชื่อผู้ถอนเงินว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินไม่เหมือนกับลายมือชื่อโจทก์ในตัวอย่างลายมือชื่อที่ให้ไว้โดยชัดแจ้ง และในกรณีที่ใบถอนเงินลงชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเองแต่ไม่มีตัวโจทก์มา พนักงานของจำเลยที่ 1 ก็ยังจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแทน พฤติการณ์ชี้ชัดว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 หากพนักงานของจำเลยที่ 1 ใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพธนาคารแล้วก็ย่อมจะทราบได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินเป็นลายมือชื่อปลอม ส่วนที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ทำไปโดยสุจริตเพราะเชื่อใจจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลาน การที่จำเลยที่ 2 ถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเงินจากเช็คที่มีลายมือชื่อไม่ตรงกับข้อมูล ทำให้ลูกค้าเสียหาย ต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด
ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินไม่เหมือนกับลายมือชื่อโจทก์ในตัวอย่างลายมือชื่อในสมุดเงินฝากและคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โดยชัดแจ้ง เพียงแต่คล้ายกันเท่านั้น ซึ่งโดยปกติถ้าเป็นลูกค้าทั่วไป พนักงานของจำเลยที่ 1 ก็จะไม่จ่ายเงินให้หากลายมือชื่อไม่เหมือนกัน แต่ที่จ่ายให้เพราะจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างทำงานอยู่ในสำนักงานของจำเลยที่ 1 สาขาสนามจันทร์ด้วยกัน จึงเชื่อใจอนุโลมและยืดหยุ่นจ่ายให้ไป โดยมิได้ใส่ใจให้ความสำคัญแก่ลายมือชื่อผู้ถอนเงินว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ใบถอนเงินลงชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเอง แต่ไม่มีตัวโจทก์มาพนักงานของจำเลยที่ 1 ก็ยังจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแทน พฤติการณ์ชี้ชัดว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2หากพนักงานของจำเลยที่ 1 ใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพธนาคารแล้ว ก็ย่อมจะทราบได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินเป็นลายมือชื่อปลอม และจำเลยที่ 2 ก็จะไม่สามารถถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้
แม้ในปกหน้าด้านในของสมุดเงินฝาก จะมีข้อความให้ผู้ฝากเงินเป็นผู้เก็บรักษาสมุดเงินฝากเองก็ตาม ก็เป็นเพียงคำแนะนำมิใช่ข้อตกลงในการฝากเงิน ส่วนในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากนั้นก็ไม่ได้มีเงื่อนไขโดยชัดแจ้งว่าผู้ฝากหรือโจทก์จะต้องเก็บรักษาสมุดเงินฝากไว้เอง คงมีแต่คำแนะนำว่าควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัยเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดเต็มจำนวนต่อความเสียหายจากลายมือชื่อปลอม หากพนักงานประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบอย่างรอบคอบ
ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินไม่เหมือนกับตัวอย่างลายมือชื่อในสมุดเงินฝากและคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โดยชัดแจ้งเพียงแต่คล้ายกันเท่านั้น ซึ่งโดยปกติถ้าเป็นลูกค้าทั่วไป พนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1 จะไม่จ่ายเงินให้ แต่ที่จ่ายให้เพราะจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างทำงานอยู่ในสำนักงานของจำเลยที่ 1 ด้วยกัน จึงเชื่อใจอนุโลมและยืดหยุ่นจ่ายให้ไปโดยมิได้ใส่ใจให้ความสำคัญแก่ลายมือชื่อผู้ถอนเงินว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงหรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ใบถอนเงินลงชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเองแต่ไม่มีตัวโจทก์มา พนักงานของจำเลยที่ 1 ก็ยังจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแทน พฤติการณ์ชี้ชัดว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 เพราะเชื่อใจจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานของโจทก์และเป็นผู้จัดการให้โจทก์ฝากเงินกับจำเลยที่ 1 แม้ในปกหน้าด้านในจะมีข้อความให้ผู้ฝากเงินเป็นผู้เก็บรักษาสมุดเงินฝากเอง ก็เป็นเพียงคำแนะนำมิใช่ข้อตกลงในการฝากเงินทั้งโจทก์ไม่ได้รับสมุดเงินฝากและไม่เห็นคำแนะนำหรือคำเตือนดังกล่าว เนื่องจากจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับและเก็บรักษาสมุดเงินฝากไว้แทนตั้งแต่แรก การที่จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วยจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปลอมและใช้เช็คปลอมฉ้อโกงธนาคาร – พิจารณารอการลงโทษ – การริบของกลาง (บัตร ATM)
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันปลอมเช็คของกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาแล้วนำเช็คปลอมดังกล่าวไปฉ้อโกงธนาคารผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับเงินไปถึง1,485,628.18 บาท นั้น ลักษณะความผิดเป็นเรื่องร้ายแรงและกระทบต่อความเชื่อถือระหว่างธนาคารซึ่งเป็นสถาบันการเงินและของประชาชนผู้สุจริตทั่วไปในการใช้เช็คนับเป็นการกระทำที่มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนเสียหายของผู้อื่นและสังคมส่วนรวม กรณีไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบัตร เอ.ที.เอ็ม. เป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33 แต่อย่างใด จึงไม่อาจริบบัตรดังกล่าวได้ ต้องคืนแก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารต่อเช็คปลอมและการประมาทเลินเล่อของลูกค้า
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกค้าประเภทบัญชีกระแสรายวันของธนาคารจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินก็ต่อเมื่อโจทก์ได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงิน ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คจากบัญชีของโจทก์ให้แก่ ย. โดยลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม จึงเป็นการปฏิบัตินอกหน้าที่อันพึงมีต่อผู้เคยค้า เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ให้การปฏิเสธว่ามิได้จ่ายเงินโดยประมาทเลินเล่อ และโจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเอง โจทก์เป็นผู้ถูกตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 ประเด็นข้อพิพาทจึงครอบคลุมถึงความรับผิดตามบทบัญญัติเรื่องตั๋วเงิน และครอบคลุมข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำฟ้องและคำให้การว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัตินอกหน้าที่ตามนิติสัมพันธ์ที่มีต่อโจทก์และเป็นละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอม การที่ศาลอุทธรณ์นำบทบัญญัติในลักษณะตั๋วเงินมาปรับบทและวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยในกรอบแห่งประเด็นข้อพิพาทและไม่เกินคำขอ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิตามตั๋วเงินซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมมิได้ แม้ผู้นั้นจะมิได้ประมาทเลินเล่อ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1จ่ายเงินตามเช็คของโจทก์ให้แก่ ย. ซึ่งมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมไปโดยมิได้ประมาทเลินเล่อและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 จึงเป็นคุณเฉพาะตัวแก่จำเลยที่ 2 หามีผลให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีความรับผิดตามกฎหมายอยู่แล้วต้องหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยไม่
โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะชั้นล่างซึ่งอยู่ภายในบ้านพักอาศัย บางครั้งโจทก์วางสมุดเช็คไว้บนโต๊ะมิได้เก็บเข้าลิ้นชักเมื่อสถานที่ดังกล่าวอยู่ภายในบ้านพักของโจทก์ ย. เป็นผู้เช่าบ้านอยู่ใกล้บ้านของโจทก์ก็เคยเข้าออกบ้านโจทก์ มิใช่คนแปลกหน้า จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ย. ลักเช็คไปทำการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในเช็คได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยเฉพาะประเด็นดอกเบี้ยผิดกฎหมาย
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยมิได้ยื่นก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า7 วัน แต่ยื่นในวันนัดสืบพยาน เป็นการขอเพิ่มเติมคำให้การเพื่อโต้แย้งว่า การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ในฐานะเป็นธนาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศธนาคารโจทก์ตามข้อกำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย อันเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14(2) ที่บัญญัติให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อการลงทุนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ บัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ที่ฝ่าฝืนมีความผิดทางอาญาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท ข้ออ้างของจำเลยที่ขอเพิ่มเติมคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ส่วนที่จำเลยขอเพิ่มเติมคำให้การว่า การชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะหลังจากทำสัญญาทรัสต์รีซีทแล้ว อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อแลกเป็นเงินบาทต้องใช้เงินบาทสูงขึ้นมาก และอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็เพิ่มขึ้นมากจนจำเลยที่ 1 มีหนี้เพิ่มสูงกว่าความเป็นจริงทั้งนี้เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอันเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชอบกับเพิ่มเติมเป็นคำให้การว่า หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระงับไปแล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่เป็นหนี้การซื้อขายเงินตราต่างประเทศแล้ว และสัญญาค้ำประกันกับสัญญาจำนองตามคำฟ้องเป็นการค้ำประกันและจำนองประกันการชำระหนี้ประเภทอื่นไม่ได้ประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีท ล้วนเป็นเรื่องที่จำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่มาเพิ่มเติมเป็นคำให้การเพื่อปฏิเสธความรับผิด ซึ่งข้อเท็จจริงที่อ้างเป็นเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวแม้เป็นเหตุที่อาจมีผลต่อคู่สัญญาบางรายได้ แต่ไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การขอแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกิจการธนาคารและการสวมสิทธิเรียกร้องหลังการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์
ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)และบริษัทบริหารสินทรัพย์ระบุให้ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)โจทก์โอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีแก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับให้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นก็ไม่สามารถรับโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพจากโจทก์ได้ แต่การที่โจทก์ได้เริ่มโอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้เริ่มดำเนินการโอนกิจการตามโครงการดังกล่าวตามความมุ่งหมายของประกาศฉบับดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นเมื่อผู้ร้องได้จดทะเบียนตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์และโจทก์ได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องกันซึ่งแม้จะพ้นกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ไม่เป็นผลให้การให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศดังกล่าวสิ้นผลไป ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพื่อบังคับคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อขอถอนเงินจากธนาคาร เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
จำเลยนำแบบพิมพ์ใบคำขอถอนเงินของธนาคารมากรอกข้อความพร้อมกับลงลายมือชื่อปลอมของ ก. ในช่องผู้ขอถอนเงินและช่องผู้รับเงิน แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานของธนาคาร ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นใบคำขอถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไปใบคำขอถอนเงินจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้ขอถอนบัญชีของตน ย่อมเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามมาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อขอถอนเงินธนาคาร ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
การที่จำเลยนำแบบพิมพ์ใบคำขอถอนเงินของธนาคารมากรอกข้อความพร้อมกับลงลายมือชื่อปลอมของ ก. ในช่องผู้ขอถอนเงินและช่องผู้รับเงิน แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานของธนาคารดังกล่าว ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นใบคำขอถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไปนั้น ใบคำขอถอนเงินจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้ขอถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของตน ย่อมเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10385/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารสิทธิเพื่อถอนเงินจากบัญชีธนาคาร ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ใบถอนเงินที่จำเลยทำปลอมขึ้นและนำไปใช้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย เป็นหลักฐานที่ใช้แสดงว่าผู้เสียหายได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากไปแล้ว ใบถอนเงินจึงเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคารจึงเป็นเอกสารสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (9)
of 40