คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นับเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4157/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาฎีกา: วันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเป็นสำคัญ
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 8กันยายน 2527 ต่อมาอ่านให้โจทก์และทนายจำเลยฟังอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2527 ดังนี้ ต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2527 ไม่ใช่วันที่30 กันยายน 2527 จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2527.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหา: เริ่มเมื่อถึงสถานีตำรวจ ไม่ใช่เวลาจับกุม
ผู้ต้องหาถูกจับกุมเวลา23.50นาฬิกาของวันที่12กันยายน2527และถูกนำตัวมาถึงสถานีตำรวจหลังเวลา00.00นาฬิกาของวันที่13กันยายน2527ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา87ให้เริ่มนับเวลาควบคุมตั้งแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังต่อศาลในวันที่19กันยายน2527จึงยังไม่เกินเจ็ดวัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค: นับวันเริ่มทำงานใหม่เมื่อวันครบกำหนดเป็นวันหยุด
ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องผู้สั่งจ่ายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คได้ภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันออกเช็คตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาซึ่งเป็นวันหยุดราชการและวันหยุดของธนาคารโจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ อายุความจึงเริ่มนับในวันรุ่งขึ้นของ วันออกเช็ค และเมื่อวันสุดท้ายซึ่งครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาและติดต่อกับวันเสาร์วันอาทิตย์ตามลำดับ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในวันจันทร์ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่ได้
วันหยุดราชการเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปจึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องหรือนำสืบแสดงเหตุผลให้ปรากฏ และข้อที่ว่าถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุดราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลรับรู้เองและศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และอำนาจขยายเวลาของรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มิได้กำหนดวิธีการนับระยะเวลาไว้ จึงต้องนำวิธีการกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158 มาใช้บังคับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับคำร้องของนายเกรียงศักดิ์ นพศรี ลูกจ้าง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 จึงจะนับวันแรกที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับคำร้องรวมคำนวณด้วยไม่ได้กำหนดระยะเวลาเก้าสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 125 จึงต้องเริ่มนับจาก วันที่ 28 พฤษภาคม 2524 และจะครบกำหนดเก้าสิบวันในวันที่ 25 สิงหาคม 2524
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 125 วรรคสองให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจในการขยายเวลาการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไว้อย่างกว้างขวาง ไม่มีข้อจำกัดหรือกำหนดวิธีการในการร้องขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งอนุญาตไว้แต่อย่างใด เมื่อมีคำขออนุมัติขยายเวลาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไปอีกสามสิบวัน นับแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2524 ถึงวันที่ 24 กันยายน 2524 ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งอนุมัติให้ขยายระยะเวลาตามคำขอนั้นแล้ว และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำสั่งก่อนครบกำหนดสามสิบวัน ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาออกไป คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟ้องแย้งและการนับระยะเวลาให้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ต้องเริ่มนับเมื่อได้รับหมายเรียก ไม่ใช่วันอ่านคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การของจำเลย ส่วนฟ้องแย้งสั่งไม่รับ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นต้องสั่งให้ส่งหมายเรียกและฟ้องแย้งให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายในแปดวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคแรก และระยะเวลาแปดวันนั้นต้องนับตั้งแต่โจทก์ได้รับหมายเรียกแล้วมิใช่นับตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้รับฟ้องแย้งของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นงดออกหมายเรียกให้โจทก์ทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาเดินทางไปราชการเพื่อเบิกค่าใช้จ่าย กรณีเดินทางหลายครั้งและกลับระหว่างทาง
โจทก์ได้รับคำสั่งจากจำเลยให้เดินทางไปปฏิบัติงานรวม 4ครั้ง แต่ละครั้งเมื่อครบกำหนดก็เดินทางกลับการนับเวลาการเดินทางไปราชการว่าเกินปีหนึ่งหรือไม่ต้องถือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการฯ คือนับแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่ดังกล่าว ดังนี้เมื่อโจทก์ออกจากสถานที่ปฏิบัติราชการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2523 กลับวันที่ 5กุมภาพันธ์ 2524 จึงไม่เกินหนึ่งปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาเดินทางไปราชการเพื่อเบิกค่าใช้จ่าย ต้องนับจากวันออกจากสถานที่ปฏิบัติราชการจนกลับถึงสถานที่เดิม ไม่เกิน 1 ปี
โจทก์ได้รับคำสั่งจากจำเลยให้เดินทางไปปฏิบัติงานรวม 4ครั้ง แต่ละครั้งเมื่อครบกำหนดก็เดินทางกลับ การนับเวลาการเดินทางไปราชการว่าเกินปีหนึ่งหรือไม่ต้องถือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการฯ คือนับแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่ดังกล่าว ดังนี้เมื่อโจทก์ออกจากสถานที่ปฏิบัติราชการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2523 กลับวันที่ 5กุมภาพันธ์ 2524 จึงไม่เกินหนึ่งปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาตามหนังสือแจ้งให้ส่งโฉนดที่ดิน: เริ่มนับวันถัดจากวันที่ได้รับหนังสือ และวันหยุดราชการ
จำเลยได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมให้จำเลยส่งโฉนดที่ดินภายในกำหนด 15 วัน การนับระยะเวลา ในกรณีนี้ ต้องนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 ซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย เว้นแต่จะเริ่มทำการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่มีประเพณีเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้กำหนด 15 วันจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมและครบกำหนดในวันที่ 23 ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ จำเลยจึงยังมีสิทธินำส่งในวันที่ 24 ธันวาคม อันเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา161 ดังนี้ จำเลยจึงมิได้กระทำผิดในวันที่ 23 ธันวาคม ดังที่โจทก์ฟ้อง เพราะยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้จำเลยส่ง (อ้างฎีกาที่ 235/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลายื่นคำให้การ: หลักการนับเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การนับระยะเวลายื่นคำให้การภายใน 8 วัน ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177,178 บัญญัติไว้นั้นต้องนับตามวิธีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158,160 บัญญัติไว้ คือไม่นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วยถ้าระยะเวลานั้นผ่อนออกไป ให้นับเอาวันซึ่งต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมนั้นเป็นวันต้นแห่งระยะเวลาซึ่งผ่อนออกไป
ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 22 สิงหาคม 2503 ว่าให้ยึดเวลายื่นคำให้การไป 3 วัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การได้ในวันที่ 25 สิงหาคม 2503

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาการยื่นคำให้การหลังการส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมาย และผลของการผัดยื่น
การส่งหมายเรียกให้แก้คดีโดยวิธีปิดหมายนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 กำหนดให้เวลาล่วงแล้ว 15 วันจึงจะมีผลพนักงานส่งหมายส่งหมายในวันที่ 4 ก.ย. 98 เรื่องการนับระยะเวลาล่วงพ้น 15 วันจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 5 แล้วเริ่มนับกำหนดยื่นคำให้การภายใน 8 วันตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. 98 ครบในวันที่ 27 ก.ย. 98 แต่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยผัดยื่นคำให้การได้ 3 วันโดยมิได้ระบุว่านับแต่วันใด จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับหนึ่งแต่วันที่ 28 ก.ย. 98จำเลยยื่นคำให้การวันที่ 1 ต.ค.98 จึงพ้นกำหนดไป 1 วันแล้วจึงไม่รับเป็นคำให้การได้
of 3