พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทผ่านสื่อ: การลงข่าวเรื่องเช็คไม่มีเงินกระทบต่อชื่อเสียงของนายกเทศมนตรี
จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์มีข้อความสำคัญว่าโจทก์จ่ายเช็คจำนวน 1 ล้านบาทให้แก่ธนาคาร ถึงกำหนดปรากฏว่าเช็คไม่มีเงิน ธนาคารแจ้งตำรวจขอให้จับโจทก์ดำเนินคดี ตามข้อความดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์มีฐานะการเงินไม่ดีไม่น่าเชื่อถือการลงข่าวของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีและประกอบการค้าโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ เสียชื่อเสียง ทั้งเรื่องที่โจทก์จ่ายเช็คไม่มีเงินและถูกธนาคารแจ้งความเป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับหน้าที่การงานของโจทก์ในตำแหน่งนายกเทศมนตรีอันจะถือได้ว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชน จำเลยจะอ้างว่าข่าวนั้นเป็นความจริงเพื่อมิให้ต้องรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่เทศบาลในการรับถนนและระวังแนวเขตที่ดิน: นายกเทศมนตรีไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 53 เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าวนอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 71 เท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา165
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70ไม่ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70ไม่ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยการใส่ความว่านายกเทศมนตรีรับสินบนจากพ่อค้าเนื้อ
จำเลยกล่าวต่อหน้าบุคคลอื่นว่า "นายกกินเนื้อของนายเนี้ยววันละ 8 กิโลจึงอนุญาตให้ฆ่า ถ้าไม่กินเนื้อวันละ 8 กิโล เขาก็คงไม่อนุญาต" ซึ่งมีความหมายว่าโจทก์ร่วมนายกเทศมนตรีจังหวัดชัยภูมิร่วมรับสินบนของนายสมชายหรือเนี้ยว คำกล่าวเช่นนี้ถือเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ร่วมให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล: ไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่ต้องรับผิด
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปโดยมีจำเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นผลโดยตรงให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยอื่น
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่ว ๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้ว คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทน ฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัด ไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้นหากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่ว ๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้ว คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทน ฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัด ไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้นหากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล: ต้องมีเจตนาประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรง
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปโดยมีจำเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นผลโดยตรงให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยอื่น
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า เป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่วๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้วคณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทนฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัดไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้น หากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า เป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่วๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้วคณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทนฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัดไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้น หากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุกสาธารณสมบัติของเทศบาล: นายกเทศมนตรีฟ้องแทนเทศบาลได้
บุคคลในตำแหน่งนายกเทศมนตรีย่อมมีอำนาจฟ้องในนามของเทศบาลได้
ฟ้องโจทก์ขึ้นต้นว่า "นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสตูล โดยนายเขตต์ ฉัตรศิริ โจทก์" นั้นหมายความว่าฟ้องในนามของเทศบาลไม่ใช่ฟ้องเป็นส่วนตัว
เทศบาลที่ได้รับมอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายให้ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดิน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในเขตเทศบาลนั้น ย่อมหมายรวมถึงให้มีอำนาจฟ้องร้องคดีผู้ที่บุกรุกที่ดินนั้นด้วย
ฟ้องโจทก์ขึ้นต้นว่า "นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสตูล โดยนายเขตต์ ฉัตรศิริ โจทก์" นั้นหมายความว่าฟ้องในนามของเทศบาลไม่ใช่ฟ้องเป็นส่วนตัว
เทศบาลที่ได้รับมอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายให้ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดิน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในเขตเทศบาลนั้น ย่อมหมายรวมถึงให้มีอำนาจฟ้องร้องคดีผู้ที่บุกรุกที่ดินนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายกเทศมนตรีสั่งจ่ายเงินเกินระเบียบโดยไม่ได้รับอนุมัติจากข้าหลวงประจำจังหวัด ต้องรับผิดชดใช้เงินคืน
นายกเทศมนตรีสั่งจ่ายเงินของเทศบาล โดยไม่ได้รับอนุมัติข้าหลวงประจำจังหวัด เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ นายกเทศมนตรีต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลยพินิจนายกเทศมนตรีในการอนุญาตฆ่าสุกรตาม พ.ร.บ.อากรการฆ่าสัตว์
ตาม พ.ร.บ.อากรการฆ่าสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 นายกเทศมนตรีซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.อากรการฆ่าสัตว์ มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดฆ่าสุกรได้ตามเหตุผลอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจนายกเทศมนตรีในการอนุญาตฆ่าสุกรตาม พ.ร.บ.อากรการฆ่าสัตว์
ตาม พระราชบัญญัติอากรการฆ่าสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2490มาตรา 3 นายกเทศมนตรีซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติอากรการฆ่าสัตว์ มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดฆ่าสุกรได้ตามเหตุผลอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนายกเทศมนตรี และผลของการสิ้นสุดสัญญาเช่า
เทศบาลเป็นนิติบุคคลนายกเทศมนตรีมีอำนาจฟ้องคดีซึ่งเทศบาลเป็นโจทก์ และลงชื่อแต่งทนายได้
สัญญาเช่าที่มีกำหนดเมื่อครบกำหนด สัญญาย่อมระงับโดยมิพักต้องบอกล่าวก่อน
สัญญาเช่าที่มีกำหนดเมื่อครบกำหนด สัญญาย่อมระงับโดยมิพักต้องบอกล่าวก่อน