พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อแนะนำทางบัญชีและการไม่ขาดอายุความ
มติที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์โจทก์เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งเป็นคำแนะนำการปฏิบัติทางบัญชีเพื่อให้การปฏิบัติทางบัญชีของสหกรณ์เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งชอบด้วยหลักการของสหกรณ์ด้วย เมื่อจำเลยเห็นว่ามติของที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยโดยชัดแจ้ง อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511 มาตรา 46 สั่งเพิกถอนมตินั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ จำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์โดยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 46ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้น โดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล จำเลยหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าวก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ทั้งการกระทำของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความ
คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ จำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์โดยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 46ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้น โดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล จำเลยหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าวก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ทั้งการกระทำของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและหลักการบัญชี
โจทก์ได้มีหนังสือขอความเห็นชอบในการจัดสรรกำไรสุทธิ ประจำปี 2537 ต่อจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ จำเลย ก็มีหนังสือให้คำแนะนำแก่โจทก์ตามคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชี เรื่อง การ เอาประกันและ การจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ แนะนำให้โจทก์จัดสรร เป็นเงินสำรอง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และจัดสรรเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว กำไรสุทธิที่เหลือ ให้สมทบเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น เมื่อจำเลยมีหนังสือแนะนำ การปฏิบัติให้โจทก์ทราบดังกล่าวแล้ว และตามข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 33 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ว่า ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ (14) พิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อบันทึกของนายทะเบียนสหกรณ์ ฯลฯ แต่ที่ประชุมใหญ่ของโจทก์กลับไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำ ของจำเลย โดยในการประชุมใหญ่เพื่อจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2537 ได้ลงมติให้นำกำไรสุทธิมาจัดสรรเป็นเงินเฉลี่ยคืนตามส่วน แห่งราคาสินค้าที่สมาชิกได้ซื้อร้อยละ 4 จ่ายเป็นเงินโบนัส แก่กรรมการดำเนินการผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ร้อยละ 5จ่ายเป็นทุนส่งเสริมสวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ร้อยละ 10 และจ่ายเป็นทุนรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 10 นอกเหนือจากที่จำเลยแนะนำไว้ ดังนี้ย่อมเห็นได้ว่ามติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลย ซึ่งเป็นคำแนะนำการปฏิบัติทางบัญชี เรื่อง การเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ เพื่อให้การปฏิบัติทางบัญชี ของสหกรณ์ที่มีการเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งชอบด้วยหลักการของสหกรณ์ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่ามติของที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยโดยชัดแจ้ง อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ข้อ 33(14)จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511มาตรา 46 สั่งเพิกถอนมตินั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์นั้นจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์สั่งโดยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 46 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้นโดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวลจำเลยในฐานะนายทะเบียนหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าว ก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่า จำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งการกระทำ ของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้อง ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีส่วนของคำทั่วไป: อำนาจของนายทะเบียนในการสั่งให้สละสิทธิบางส่วน
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 17 (1) ให้อำนาจนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าในอันที่จะสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แต่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นมีส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายส่วนมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ แสดงปฏิเสธว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้ารายนั้น คำว่า "มหาชัย" เป็นชื่อตำบลหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาคร อันเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ดังนั้น การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของ ย. โดยให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำว่า "มหาชัย" จึงหาขัดต่อกฎหมายอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านและการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499
ขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มีคำสั่งย้ายชื่อโจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 อันเป็นทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียนบ้านดังกล่าวไปอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลางซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 ได้ เป็นช่วงเวลาที่พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 ใช้บังคับอยู่ ยังไม่ถึงวันที่พระราช-บัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ การที่จะพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499เป็นเกณฑ์
โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 96/1 มาตั้งแต่ปี 2527 แสดงว่าโจทก์ได้ออกจากบ้านเลขที่ 96/2 อันเป็นบ้านที่โจทก์มีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนหลังนั้น นับถึงวันที่จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 เพื่อให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยที่ 1 เป็นเวลาประมาณ 7 ปี ถือว่าโจทก์ได้ย้ายที่อยู่จากบ้านซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนไปอยู่ที่อื่นแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งการย้ายที่อยู่ของโจทก์ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันย้ายออก เมื่อขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 กำลังมีข้อพิพาทอยู่กับโจทก์เกี่ยวด้วยเรื่องที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่โจทก์ให้ออกจากบ้านเลขที่ 96/1 อันเป็นบ้านอีกหลังหนึ่งของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่แจ้งย้ายชื่อของโจทก์จากทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 ไปอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 96/1 ย่อมไม่เป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งมีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 ของจำเลยที่ 1 ไปไว้ในทะเบียนบ้านกลางหรือทะเบียนคนบ้านกลางตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้สั่งการไปตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 96/1 มาตั้งแต่ปี 2527 แสดงว่าโจทก์ได้ออกจากบ้านเลขที่ 96/2 อันเป็นบ้านที่โจทก์มีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนหลังนั้น นับถึงวันที่จำเลยที่ 1 ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 เพื่อให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยที่ 1 เป็นเวลาประมาณ 7 ปี ถือว่าโจทก์ได้ย้ายที่อยู่จากบ้านซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนไปอยู่ที่อื่นแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งการย้ายที่อยู่ของโจทก์ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันย้ายออก เมื่อขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 กำลังมีข้อพิพาทอยู่กับโจทก์เกี่ยวด้วยเรื่องที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่โจทก์ให้ออกจากบ้านเลขที่ 96/1 อันเป็นบ้านอีกหลังหนึ่งของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่แจ้งย้ายชื่อของโจทก์จากทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 ไปอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 96/1 ย่อมไม่เป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งมีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านเลขที่ 96/2 ของจำเลยที่ 1 ไปไว้ในทะเบียนบ้านกลางหรือทะเบียนคนบ้านกลางตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้สั่งการไปตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน การแจ้งย้ายที่อยู่ และอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนตามพ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร พ.ศ.2499
ขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่1ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่2เพื่อให้จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2499มีคำสั่งย้ายชื่อโจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่96/2อันเป็นทะเบียนบ้านของจำเลยที่1ออกจากทะเบียนบ้านดังกล่าวไปอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลางซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่จำเลยที่2มีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่1ได้เป็นช่วงเวลาที่พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2499ใช้บังคับอยู่ยังไม่ถึงวันที่พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับการที่จะพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ.2499เป็นเกณฑ์ โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่96/1มาตั้งแต่ปี2527แสดงว่าโจทก์ได้ออกจากบ้านเลขที่96/2อันเป็นบ้านที่โจทก์มีชื่อเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเบียนหลังนั้นนับถึงวันที่จำเลยที่1ไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่2เพื่อให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยที่1เป็นเวลาประมาณ7ปีถือว่าโจทก์ได้ย้ายที่อยู่จากบ้านซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนไปอยู่ที่อื่นแล้วจำเลยที่1ในฐานะเจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งการย้ายที่อยู่ของโจทก์ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายในกำหนด15วันนับแต่วันย้ายออกเมื่อขณะที่จำเลยที่1ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่2ให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของจำเลยที่1จำเลยที่1กำลังมีข้อพิพาทอยู่กับโจทก์เกี่ยวด้วยเรื่องที่จำเลยที่1ฟ้องขับไล่โจทก์ให้ออกจากบ้านเลขที่96/1อันเป็นบ้านอีกหลังหนึ่งของจำเลยที่1อยู่การที่จำเลยที่1ไม่แจ้งย้ายชื่อของโจทก์จากทะเบียนบ้านเลขที่96/2ไปอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่96/1ย่อมไม่เป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งมีคำสั่งอนุญาตให้ย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านเลขที่96/2ของจำเลยที่1ไปไว้ในทะเบียนบ้านกลางหรือทะเบียนคนบ้านกลางตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎรกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนพ.ศ.2528ข้อ52ถือว่าจำเลยที่2ได้สั่งการไปตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยหน้าที่นายทะเบียนคนต่างด้าว, การปฏิเสธโดยปริยาย, สิทธิในการขอใบสำคัญ
โจทก์ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนคนต่างด้าวเวลาล่วงเลยมา2ปีเศษแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พิจารณาคำร้องของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่แต่อย่างใดการที่จำเลยจะต้องส่งคำร้องไปให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรตรวจสอบก่อนตามระเบียบก็เป็นเรื่องภายในของจำเลยการปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง2ปีเศษโดยไม่ได้คัดค้านดำเนินการอย่างใดในเรื่องนี้นั้นเป็นการชี้ชัดให้เห็นถึงความละเลยเพิกเฉยไม่ติดตามดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนและเสียหายแก่โจทก์ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยปฏิเสธที่จะออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์มีอำนาจฟ้อง ตามมาตรา8แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าวพ.ศ.2493เป็นเพียงบทบังคับให้ผู้เสียสัญชาติไทยต้องไปร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าตนได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยมิฉะนั้นจะต้องมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาตามมาตรา21เท่านั้นการ้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวมิได้ทำให้เสียสิทธิอันมีอยู่แล้วแต่อย่างใดโจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559-1563/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้พ้นกำหนด 30 วันจากวันที่เสียสัญชาติไทย นายทะเบียนต้องพิจารณาออกใบสำคัญ
จำเลยซึ่งเป็น นายทะเบียนคนต่างด้าว มีหน้าที่พิจารณาและออก ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในกรณีที่คำขอของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายเมื่อมิได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวดังกล่าวทั้งที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอต่อจำเลยนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา2ปีเศษถือว่าจำเลยปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้เป็นการ โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วจำเลยจะอ้างว่ากองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรยังไม่แจ้งให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแก่โจทก์จึงออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไม่ได้เพื่อที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหาได้ไม่เพราะกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรมิใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พระราชบัญญัติ การทะเบียนคนต่างด้าวฯ มาตรา8,21บังคับให้คน สัญชาติไทย ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยกลายเป็น คนต่างด้าวต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวจากนายทะเบียนในท้องที่ที่ตนอยู่ภายใน30วันนับแต่วันที่ตนได้รู้หรือควรรู้ว่าตนได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยมิฉะนั้นย่อมเป็นความผิดมิใช่เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคลดังกล่าวว่าหากไม่ไปยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิขอให้ออก ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จเพื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท และการทำเอกสารเท็จเพื่อหลอกลวงนายทะเบียน
บัญชีผู้ถือหุ้น สำเนารายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นและคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการเป็นสำเนาเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องถือเป็นเอกสารมหาชน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันจะต้องนำสืบความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น การที่จำเลยสั่งให้ อ. ทำรายงานว่า มีการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2534 ซึ่งไม่มีการประชุมขึ้นจริงจึงเป็นการทำเอกสารเท็จการที่จำเลยร่วมกับ อ.ให้อ. ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการของบริษัท ก. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปราการ โดยยื่นรายงานอันเป็นเอกสารเท็จดังกล่าวประกอบไปด้วย จนเป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ เป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัท: ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองได้อ้างเหตุเพียงว่า การที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดรับจดทะเบียนการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ และเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจากโจทก์ที่ 1 เป็น ช.แทนตามคำขอจดทะเบียนนั้น เป็นเพราะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหลงเชื่อตามรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ ช.และ ย.ร่วมกันจัดทำขึ้นโดยเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงไม่มีการประชุมกันแต่อย่างใด และโจทก์ที่ 1 ก็มิได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท โจทก์ทั้งสองมิได้อ้างว่าการรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 1 เพราะเหตุนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการจดทะเบียนนั้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งการทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทก็มิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมดังกล่าว แม้รายงานการประชุมนั้นเป็นรายงานเท็จ ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็มิใช่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยในฐานะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจจัดการ ทำกิจการหรือประกอบกิจการของบริษัท เพราะบริษัทจำกัดกฎหมายให้มีกรรมการจัดการตามข้อบังคับของบริษัทไว้แล้ว กรรมการบริษัทเพียงแต่อยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ ในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้องผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 วรรคแรก ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่ 2 เกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดที่ตนถือหุ้นจึงมีอยู่เพียงการฟ้องร้องกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทเท่านั้น หามีสิทธิฟ้องบุคคลภายนอกเกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดไม่ กรณีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวหาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยนายทะเบียน ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิที่ฟ้องร้องได้
กำหนดเวลาในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยมีหน้าที่ต้องไปทำการร้องขอต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ ให้ออกใบสำคัญประจำตัวให้เพื่อแสดงว่าตนเป็นบุคคลต่างด้าว มิใช่เป็นคนสัญชาติไทยภายในเวลา 30 วัน ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ซึ่งเสียสัญชาติไทยเพิกเฉยหรือละเลย มิฉะนั้นจะมีความผิดและถูกลงโทษตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน หาใช่เป็นการกำหนดเรื่องอายุความเสียสิทธิอันจะทำให้โจทก์หมดสิทธิหรือเสียสิทธิที่จะขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
จำเลยรับคำร้องขอพร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำของโจทก์ไว้ เมื่อถึงเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผล จำเลยก็ไม่ได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ จนล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผลนานถึง 3 ปี จำเลยก็ยังมิได้จัดการออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ แม้จำเลยอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการตามระเบียบของกรมตำรวจ ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งไม่ใช่กฎหมาย จะยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุขัดข้องหรือต่อสู้ยันกับโจทก์หาได้ไม่ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ข้อ 3 ระบุว่า ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเป็นนายทะเบียนตามประกาศดังกล่าว จำเลยจึงมีอำนาจโดยตรงอยู่แล้วที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยรับคำร้องขอพร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำของโจทก์ไว้ เมื่อถึงเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผล จำเลยก็ไม่ได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ จนล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผลนานถึง 3 ปี จำเลยก็ยังมิได้จัดการออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ แม้จำเลยอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการตามระเบียบของกรมตำรวจ ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งไม่ใช่กฎหมาย จะยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุขัดข้องหรือต่อสู้ยันกับโจทก์หาได้ไม่ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ข้อ 3 ระบุว่า ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเป็นนายทะเบียนตามประกาศดังกล่าว จำเลยจึงมีอำนาจโดยตรงอยู่แล้วที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง