พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำเป็นหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับนายอำเภอ การมอบแก่เจ้าพนักงานที่ดินไม่ถือว่าเป็นการสละมรดกตามกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งหมายถึงนายอำเภอ การมอบให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่การทำหนังสือสละมรดกที่มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรานี้
บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ประกอบมาตรา 850 แล้ว
บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ประกอบมาตรา 850 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีโต้แย้งสิทธิในที่ดิน: จำเลย (นายอำเภอ) ไม่ต้องรับผิดเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี
ตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์มีข้อโต้แย้งกับ ฮ. หรือผู้จัดการมรดกของ ฮ.ที่ไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ครอบครองตามหนังสือสัญญาเลิกหุ้นส่วนโจทก์ต้องว่ากล่าวดำเนินคดีทางศาลแก่ ฮ.หรือผู้จัดการมรดกของ ฮ.ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71ประกอบด้วยมาตรา 72 หมายถึง ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจะต้องมีสิทธิในอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยชอบและคู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หาใช่หนังสือแสดงสิทธิเป็นของผู้อื่นและยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่เช่นกรณีของโจทก์ไม่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่สามารถที่จะจดทะเบียนสิทธิครอบครองให้ได้ขอให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบไม่เป็นละเมิดและไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสัญชาติ: การพิจารณาความเป็นไทยของบุตรจากมารดาที่ถูกถอนสัญชาติ และอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ที่ให้ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่มาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น ข้อความที่ว่า"ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงคนต่างด้าวที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นข้อความที่ใช้ถ้อยคำติดต่อกันตลอดไม่มีลักษณะที่จะให้เข้าใจได้ว่าต้องการจะให้แยกความหมายของคำว่า "เข้ามา" กับคำว่า "อยู่"ออกจากกันเหมือนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ที่ใช้คำว่า "เข้ามาหรืออยู่" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องการให้มีผลบังคับถึงคนต่างด้าวทั้งที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร กับที่อยู่ในราชอาณาจักรอยู่แล้วโดยมิได้เดินทางมาจากนอกราชอาณาจักรด้วย โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)เป็นกฎหมายที่มีลักษณะถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้น กรณีของนาง ท. มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดในราชอาณาจักรไทยแม้จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) กลายเป็นคนต่างด้าวและอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็มิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรนาง ท. และเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมิใช่บุคคลตามข้อ 1แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แม้โจทก์ทั้งสามจะเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับแล้วก็ไม่ต้องด้วยกรณีที่จะไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 2 โจทก์ทั้งสามจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) และไม่ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)
แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.
แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทย: การพิจารณาบุคคลที่เกิดหลังประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และอำนาจหน้าที่นายอำเภอ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ที่ให้ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่มาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น ข้อความที่ว่า"ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงคนต่างด้าวที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นข้อความที่ใช้ถ้อยคำติดต่อกันตลอดไม่มีลักษณะที่จะให้เข้าใจได้ว่าต้องการจะให้แยกความหมายของคำว่า "เข้ามา" กับคำว่า "อยู่"ออกจากกันเหมือนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ที่ใช้คำว่า "เข้ามาหรืออยู่" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องการให้มีผลบังคับถึงคนต่างด้าวทั้งที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร กับที่อยู่ในราชอาณาจักรอยู่แล้วโดยมิได้เดินทางมาจากนอกราชอาณาจักรด้วย โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)เป็นกฎหมายที่มีลักษณะถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้น กรณีของนาง ท. มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดในราชอาณาจักรไทยแม้จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) กลายเป็นคนต่างด้าวและอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็มิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรนาง ท. และเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมิใช่บุคคลตามข้อ 1แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แม้โจทก์ทั้งสามจะเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับแล้วก็ไม่ต้องด้วยกรณีที่จะไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 2 โจทก์ทั้งสามจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) และไม่ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรจากบิดามารดาต่างด้าว และอำนาจหน้าที่นายอำเภอในการจดทะเบียนสัญชาติ
หลังจากจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารแล้วเศรษฐกิจของบ้านเมืองเปลี่ยนไป วัสดุก่อสร้างขึ้นราคา ทางราชการโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงคิดค่าวัสดุก่อสร้างที่ราคาเพิ่มขึ้นชดเชยให้แก่ผู้ก่อสร้างที่รับจ้างก่อสร้างอาคารสถานที่ของทางราชการสัญญาชดเชยค่าก่อสร้างให้ผู้รับจ้างระบุให้ยึดถือสัญญาการก่อสร้างที่ได้ทำไว้ต่อกันเป็นสัญญาเดิมและเป็นหลักที่จะปฏิบัติตามสัญญานี้ ต่อไป เงินชดเชยค่าก่อสร้างจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาก่อสร้างเดิม การรับเหมาก่อสร้างเป็นลักษณะของการรับจ้าง ทำของชนิดหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 โจทก์เป็นพ่อค้ารับจ้าง ทำของเรียกร้องเอาค่าทำของ จึงต้องเรียกร้องเอาภายใน2 ปี นับแต่วันส่งมอบของ กรณีของโจทก์ส่งมอบงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2518 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม2527 เกิน 2 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 165(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรเกิดจากมารดาต่างด้าว: การตีความประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และอำนาจหน้าที่นายอำเภอ
หลังจากจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารแล้วเศรษฐกิจของบ้านเมืองเปลี่ยนไป วัสดุก่อสร้างขึ้นราคา ทางราชการโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงคิดค่าวัสดุก่อสร้างที่ราคาเพิ่มขึ้นชดเชยให้แก่ผู้ก่อสร้างที่รับจ้างก่อสร้างอาคารสถานที่ของทางราชการ สัญญาชดเชยค่าก่อสร้างให้ผู้รับจ้างระบุให้ยึดถือ สัญญาการก่อสร้างที่ได้ทำไว้ต่อกันเป็นสัญญาเดิมและเป็นหลักที่จะปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไป เงินชดเชยค่าก่อสร้างจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาก่อสร้างเดิม การรับเหมาก่อสร้างเป็นลักษณะของการรับจ้างทำของชนิดหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 โจทก์เป็นพ่อค้ารับจ้างทำของเรียกร้องเอาค่าทำของจึงต้องเรียกร้องเอาภายใน 2 ปี นับแต่วันส่งมอบของ กรณีของโจทก์ส่งมอบงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2518 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2527 เกิน 2 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 165(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3905/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมดูแล คชก. ของนายอำเภอและการแจ้งข้อเท็จจริงต่อ คชก. ไม่ถือเป็นการละเมิด
นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบล (คชก.) ในท้องที่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 14(2)
โจทก์ผู้เช่าที่นามีกรณีพิพาทกับเจ้าของที่นา และอยู่ระหว่างคชก. ตำบลกำลังจะพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอทำหนังสือถึงประธาน คชก. ตำบล แจ้งว่าโจทก์กับเจ้าของที่นาได้ตกลงยอมความในเรื่องที่พิพาทต่อหน้าศาลแล้ว ขอให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาและห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไป ประธานคชก. ตำบลจึงทำหนังสือถึงโจทก์แจ้งให้ทราบว่าจำเลยมีหนังสือให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาพิพาทและคืนนาให้เจ้าของเป็นเหตุให้โจทก์ออกไปจากที่นาพิพาท ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยมีหนังสือถึงประธานคชก.ตำบลโดยตรง และข้อความในหนังสือก็เป็นการกล่าวถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้นในศาลตามความเป็นจริงโดยสุจริตอันเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของ คชก. ตำบลให้เป็นไปโดยถูกต้องเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิด
โจทก์ผู้เช่าที่นามีกรณีพิพาทกับเจ้าของที่นา และอยู่ระหว่างคชก. ตำบลกำลังจะพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอทำหนังสือถึงประธาน คชก. ตำบล แจ้งว่าโจทก์กับเจ้าของที่นาได้ตกลงยอมความในเรื่องที่พิพาทต่อหน้าศาลแล้ว ขอให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาและห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไป ประธานคชก. ตำบลจึงทำหนังสือถึงโจทก์แจ้งให้ทราบว่าจำเลยมีหนังสือให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาพิพาทและคืนนาให้เจ้าของเป็นเหตุให้โจทก์ออกไปจากที่นาพิพาท ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยมีหนังสือถึงประธานคชก.ตำบลโดยตรง และข้อความในหนังสือก็เป็นการกล่าวถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้นในศาลตามความเป็นจริงโดยสุจริตอันเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของ คชก. ตำบลให้เป็นไปโดยถูกต้องเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3905/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายอำเภอควบคุมดูแล คชก. และการกระทำที่ไม่เป็นละเมิดจากหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในศาล
นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) ตำบลในเขตท้องที่ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 14(2) การที่จำเลยในฐานะนายอำเภอทำหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบล แจ้งว่า โจทก์กับเจ้าของที่นาได้ตกลงยอมความในเรื่องที่นาพิพาทต่อหน้าศาลแล้วขอให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาและห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไปนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยมีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบล โดยตรง และข้อความในหนังสือก็เป็นการกล่าวถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้นในศาลตามความเป็นจริงโดยสุจริต อันเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของ คชก.ตำบล ให้เป็นไปโดยถูกต้องเท่านั้นแม้ความจริงจะไม่ใช่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์กับเจ้าของที่นา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3905/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายอำเภอควบคุมดูแล คชก. และความรับผิดทางละเมิดจากการแจ้งข้อเท็จจริงตามสัญญา
นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบล (คชก.) ในท้องที่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 14(2) โจทก์ผู้เช่าที่นามีกรณีพิพาทกับเจ้าของที่นา และอยู่ระหว่างคชก. ตำบลกำลังจะพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอทำหนังสือถึงประธาน คชก. ตำบล แจ้งว่าโจทก์กับเจ้าของที่นาได้ตกลงยอมความในเรื่องที่พิพาทต่อหน้าศาลแล้ว ขอให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาและห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไป ประธานคชก. ตำบลจึงทำหนังสือถึงโจทก์แจ้งให้ทราบว่าจำเลยมีหนังสือให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาพิพาทและคืนนาให้เจ้าของเป็นเหตุให้โจทก์ออกไปจากที่นาพิพาท ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยมีหนังสือถึงประธานคชก.ตำบลโดยตรง และข้อความในหนังสือก็เป็นการกล่าวถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้นในศาลตามความเป็นจริงโดยสุจริตอันเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของ คชก. ตำบลให้เป็นไปโดยถูกต้องเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำให้เสียทรัพย์ แม้จะอ้างคำสั่งนายอำเภอ ก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย
นายอำเภอขอความร่วมมือจากประชาชนให้ร่วมกันพัฒนาบริเวณที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ได้ตัดฟันต้นไม้ของโจทก์ในบริเวณนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของโจทก์ทั้งจำเลยที่ 2 เคยตัดฟันต้นไม้ของโจทก์มาก่อนจนถูกฟ้องมาแล้วครั้งหนึ่ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย การที่นายอำเภอขอความร่วมมือดังกล่าว เป็นแต่เพียงคำแนะนำ จำเลยที่ 2 จะกระทำหรือไม่กระทำตามก็ได้ มิได้มีลักษณะเป็นคำสั่งตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับโทษ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358