คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 305 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน, การแปรสภาพบริษัท, และผลของการเป็นบุคคลล้มละลายต่อการทำนิติกรรม
กรรมการเป็นผู้แทนและเป็นผู้แสดงออกซึ่งความประสงค์ของบริษัทมีอำนาจหน้าที่กระทำการในนามของบริษัทภายในอำนาจของตน และถือว่าเป็นการกระทำของบริษัทเอง ไม่ใช่ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทหรือบริษัทเป็นผู้สั่งการให้ทำจึงไม่ถูกจำกัดอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801
บริษัทเอกชนที่จัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งจัดตั้งตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดฯ ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมดตามกฎหมาย ไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบถึงการจดทะเบียนแปรสภาพ และไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เช่น ได้จากพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องนำสืบในประเด็นหรือได้จากเอกสารพยานที่มีกฎหมายบังคับให้คู่ความที่กล่าวอ้างต้องแสดง เป็นต้น เมื่อไม่มีจำเลยคนใดให้การว่า ธ. เป็นบุคคลล้มละลาย แม้จำเลยบางคนจะเบิกความถึงเรื่องดังกล่าวก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ไม่อาจรับฟังเพื่อวินิจฉัยข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกผู้สุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง แม้มีการบอกล้างนิติกรรมโมฆียะจากกลฉ้อฉล
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลย จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อนอันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินโดยฉ้อฉลเจ้าหนี้ และการเพิกถอนนิติกรรมเฉพาะส่วนของสินสมรส
การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้เหล่านี้ย่อมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามมาตรา 214 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวและต้องเสียเปรียบเนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้เพราะการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หรือเจ้าหนี้ที่ยังมิได้ฟ้องร้องเพื่อให้บังคับชำระหนี้ก็ตาม
ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 หมายถึง เจ้าหนี้ได้รู้ทั้งข้อที่ว่าลูกหนี้กระทำนิติกรรมที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และข้อที่ว่าลูกหนี้รู้ว่านิติกรรมดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ซึ่งการรู้ต้นเหตุในกรณีโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาลหมายถึงการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้ซึ่งเป็นผู้แทนผู้แสดงเจตนาความประสงค์ของโจทก์ ไม่อาจถือว่าการรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลของพนักงานอัยการที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแพ่งเดิมเป็นการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมทำนิติกรรมของคู่สมรสทำให้เกิดหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 สามีของจำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอม ซึ่งมีข้อความว่าตนยินยอมให้จำเลยที่ 1ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 3 ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อให้เกิดขึ้นและให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมการให้สินสมรสหลังพ.ร.บ.ใช้บังคับ และอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
ที่ดินและบ้านพิพาท เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ก่อน ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจในการจัดการรวมทั้งอำนาจจำหน่ายสินสมรสอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไป การที่จำเลยที่ 1 ได้ยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้กระทำเมื่อใช้บทบัญญัติ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับ ซึ่งเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ. มาตรา 1480 มาใช้บังคับตามมาตรา 4 นิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1480 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
ที่ดินและบ้านพิพาท เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจในการจัดการ รวมทั้งอำนาจจำหน่ายสินสมรสอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไป การที่จำเลยที่ 1 ได้ยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้กระทำเมื่อใช้บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ ซึ่งเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 มาใช้บังคับตามมาตรา 4 นิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นสิบปี นับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำนิติกรรม แม้เป็นเพียงกรรมการ
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริง คำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การ โดยรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำนิติกรรมร่วมกัน แม้ไม่ได้ลงนามในสัญญาโดยตรง
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน บริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริงคำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำสัญญา แม้จะอ้างเป็นเพียงตัวแทน
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริง คำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การ โดยรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับบัญชาและการตักเตือนลูกจ้าง: หนังสือตักเตือนไม่เป็นนิติกรรม
ศ.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลย มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์ เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่องโดยมาทำงานสายเป็นประจำอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ศ.ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือตักเตือนก็ไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการกระทำนิติกรรมแทนจำเลย
of 31