พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินถูกซ่อนไว้ภายใต้สัญญากู้เงิน การนำสืบอยู่ในขอบเขตข้อต่อสู้
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องทำขึ้นเพื่อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้มีชื่อ ซึ่งโจทก์ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการซื้อขายแทนโจทก์ เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้วในเหตุแห่งการปฏิเสธ และเป็นคำให้การที่อ่านเข้าใจได้ว่า นิติกรรมอันแท้จริงที่ถูกอำพรางไว้ คือนิติกรรมที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยซื้อขายที่ดินแทนโจทก์ แต่โจทก์จำเลยได้ทำนิติกรรมด้วยการแสดงเจตนาลวงไว้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นพิพาทว่า สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้เจรจาขอซื้อที่ดินจนเป็นที่ตกลงในราคา 220,000 บาท โจทก์เป็นผู้วางมัดจำ10,000 บาท และทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ แล้วโจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแทน ลงชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งโจทก์ออกเงินค่าที่ดินอีก200,000 บาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับข้อต่อสู้ของจำเลยและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ และแม้จำเลยจะนำสืบด้วยว่า โจทก์เข้าหุ้นกับจำเลย ก็พอฟังได้ว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินแล้วใช้ที่ดินมาเข้าหุ้น ทางนำสืบของจำเลยอยู่ในขอบเขตของข้อต่อสู้ในคำให้การและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นพิพาทว่า สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้เจรจาขอซื้อที่ดินจนเป็นที่ตกลงในราคา 220,000 บาท โจทก์เป็นผู้วางมัดจำ10,000 บาท และทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ แล้วโจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแทน ลงชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งโจทก์ออกเงินค่าที่ดินอีก200,000 บาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับข้อต่อสู้ของจำเลยและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ และแม้จำเลยจะนำสืบด้วยว่า โจทก์เข้าหุ้นกับจำเลย ก็พอฟังได้ว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินแล้วใช้ที่ดินมาเข้าหุ้น ทางนำสืบของจำเลยอยู่ในขอบเขตของข้อต่อสู้ในคำให้การและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินซ่อนรูปในสัญญาเงินกู้ ศาลฎีกาวินิจฉัยกลับให้ยกฟ้อง
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องทำขึ้นเพื่อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้มีชื่อ ซึ่งโจทก์ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการซื้อขายแทนโจทก์ เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้วในเหตุแห่งการปฏิเสธ และเป็นคำให้การที่อ่านเข้าใจได้ว่า นิติกรรมอันแท้จริงที่ถูกอำพรางไว้ คือนิติกรรมที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยซื้อขายที่ดินแทนโจทก์แต่โจทก์จำเลยได้ทำนิติกรรมด้วยการแสดงเจตนาลวงไว้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นพิพาทว่า สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้เจรจาขอซื้อที่ดินจนเป็นที่ตกลงในราคา 220,000 บาท โจทก์เป็นผู้วางมัดจำ10,000 บาท และทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ แล้วโจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแทน ลงชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งโจทก์ออกเงินค่าที่ดินอีก 200,000 บาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับข้อต่อสู้ของจำเลยและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ และแม้จำเลยจะนำสืบด้วยว่า โจทก์เข้าหุ้นกับจำเลย ก็พอฟังได้ว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินแล้วใช้ที่ดินมาเข้าหุ้น ทางนำสืบของจำเลยอยู่ในขอบเขตของข้อต่อสู้ในคำให้การและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นพิพาทว่า สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้เจรจาขอซื้อที่ดินจนเป็นที่ตกลงในราคา 220,000 บาท โจทก์เป็นผู้วางมัดจำ10,000 บาท และทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ แล้วโจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแทน ลงชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งโจทก์ออกเงินค่าที่ดินอีก 200,000 บาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับข้อต่อสู้ของจำเลยและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ และแม้จำเลยจะนำสืบด้วยว่า โจทก์เข้าหุ้นกับจำเลย ก็พอฟังได้ว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินแล้วใช้ที่ดินมาเข้าหุ้น ทางนำสืบของจำเลยอยู่ในขอบเขตของข้อต่อสู้ในคำให้การและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินไม่เป็นโมฆะ แม้พื้นที่อยู่ในสีเขียว และไม่มีลักษณะเป็นนิติกรรมอำพราง
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ก่อสร้างโรงงานและที่พักอาศัย เมื่อกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 116 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. การผังเมืองฯ ไม่ได้กำหนดห้ามมิให้ก่อสร้างโรงงานเด็ดขาด ทั้งจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อกระทรวงอุตสาหกรรมจนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
นิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพราง ปกปิดไว้ โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจึงมีอยู่เพียงคู่เดียว ดังนั้นสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แม้จะทำในวันเดียวกัน แต่เมื่อคู่กรณีเป็นคนละคู่กันจึงไม่มีทางที่จะเป็นนิติกรรมอำพรางตามความหมายของกฎหมายได้
นิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพราง ปกปิดไว้ โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจึงมีอยู่เพียงคู่เดียว ดังนั้นสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แม้จะทำในวันเดียวกัน แต่เมื่อคู่กรณีเป็นคนละคู่กันจึงไม่มีทางที่จะเป็นนิติกรรมอำพรางตามความหมายของกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน, นิติกรรมอำพราง, การบอกเลิกสัญญา, และการผิดสัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ก่อสร้างโรงงานและที่พักอาศัย เมื่อกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 116 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ ไม่ได้กำหนดห้ามมิให้ก่อสร้างโรงงานเด็ดขาดทั้งจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อกระทรวงอุตสาหกรรมจนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวแล้วจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงไม่ตกเป็นโมฆะโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ นิติกรรมอำพรางตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพรางปกปิดไว้โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจึงมีอยู่เพียงคู่เดียว ดังนั้น สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 แม้จะทำในวันเดียวกัน แต่เมื่อคู่กรณีเป็นคนละคู่กันจึงไม่มีทางที่จะเป็นนิติกรรมอำพรางตามความหมายของกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมกู้ยืมเงินและจำนองไม่เป็นนิติกรรมอำพราง ตราบเท่าที่เจตนาถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์
โจทก์เป็นนายหน้าและตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ของจำเลยที่ 2โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับมอบอำนาจแจ้งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์แทนจำเลยที่ 2ในการซื้อขายหลักทรัพย์โจทก์จะเป็นผู้ออกเงินทดรองเป็นค่าซื้อหลักทรัพย์และค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นให้แก่จำเลยที่ 2 ภายในวงเงิน 2,500,000 บาท และเพื่อเป็นหลักประกันในการออกเงินทดรองเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2จะต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ ตามที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ระเบียบหรือประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังกำหนดไว้ในแต่ละครั้งมาจำนำเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ไว้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 3,500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ผิดนัดคิดดอกเบี้ยร้อยละ21 ต่อปี โดยจำเลยที่ 2 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการกู้ยืมไว้ ในการกู้ยืมเงินโจทก์ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน3,500,000 บาท เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2534 เช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินได้และในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 2 ก็ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์จำนวนเดียวกันกับที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 และโจทก์ได้นำไปเรียกเก็บเงินได้ในวันดังกล่าวในวันนั้นโจทก์ก็ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนเงิน 3,500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ได้ชำระเงินกู้จำนวน 3,500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2แล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ได้รับเงินจำนวนที่กู้จากโจทก์ไปแล้วตามวิธีการโอนเงินทางธนาคาร ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ได้จ่ายเงินคืนให้แก่โจทก์ก็เพราะจำเลยที่ 2 นำเงินดังกล่าวฝากไว้กับโจทก์ตามวิธีการโอนเงินทางธนาคารเช่นเดียวกัน โจทก์จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยที่ 2 จะทำการซื้อขายหุ้นกับโจทก์ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินและจำนองประกันการกู้ยืมไว้กับโจทก์ แล้วจำเลยที่ 2 ฝากเงินไว้กับโจทก์เพื่อวัตถุประสงค์ในการที่จะให้โจทก์ดำเนินการเป็นนายหน้าและตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็หลักประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเรื่องนิติกรรมอำพรางหรือนิติกรรมทำขึ้นด้วยการแสดงเจตนาลวง สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมและจำนองไม่เป็นนิติกรรมอำพราง เมื่อมีหลักฐานการรับเงินจริงและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ซื้อขายหลักทรัพย์
จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินและจำนองประกันการกู้ยืมไว้กับโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ฝากเงินไว้กับโจทก์เพื่อวัตถุประสงค์ ในการที่จะให้โจทก์ดำเนินการเป็นนายหน้าและตัวแทนในการ ซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นหลักประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่อง นิติกรรมอำพรางหรือนิติกรรมทำขึ้นด้วยการแสดงเจตนาลวงสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางซื้อขาย, อายุความมรดก: การฟ้องแบ่งมรดกต้องทำภายใน 1 ปีนับจากทราบการตาย
ตามคำให้การจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยกที่พิพาทให้ ศ. แต่เป็นการขายที่พิพาทให้ ช. โดยให้ ศ.ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ทำนิติกรรมยกให้อำพรางนิติกรรมการซื้อขายต้องบังคับตามนิติกรรมซื้อขายที่ถูกอำพรางไว้ นิติกรรมการยกให้เป็นการแสดงเจตนาลวงย่อมตกเป็นโมฆะ สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์เช่นนี้ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้ ช.สามี ศ.เจ้ามรดก ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับ ศ. เมื่อ ศ.ถึงแก่ความตาย การสมรสสิ้นสุดลงสินสมรสย่อมแยกกันตามกฎหมาย และตกเป็นมรดกของ ศ.กึ่งหนึ่ง ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกคือ โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของ ศ. และจำเลยซึ่งเป็นบุตร รวมทั้งช.สามีเจ้ามรดกได้คนละส่วนเท่ากัน โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องแบ่งมรดกภายใน 1 ปีนับแต่วันทราบถึงการตายของเจ้ามรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 คดีจึงขาดอายุความแล้ว
โจทก์ที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้ ช.สามี ศ.เจ้ามรดก ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับ ศ. เมื่อ ศ.ถึงแก่ความตาย การสมรสสิ้นสุดลงสินสมรสย่อมแยกกันตามกฎหมาย และตกเป็นมรดกของ ศ.กึ่งหนึ่ง ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกคือ โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของ ศ. และจำเลยซึ่งเป็นบุตร รวมทั้งช.สามีเจ้ามรดกได้คนละส่วนเท่ากัน โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องแบ่งมรดกภายใน 1 ปีนับแต่วันทราบถึงการตายของเจ้ามรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 คดีจึงขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การซื้อขายที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้การยกให้, การหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานบุคคล
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้ ศ. แต่เป็นการขายที่พิพาทให้ ช. โดยให้ ศ. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำนิติกรรมอำพรางต้องบังคับตามนิติกรรมซื้อขายที่ถูกอำพราง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 155 วรรคสอง นิติกรรมยกให้เป็นการแสดงเจตนาลวงย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 155 วรรคหนึ่ง สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมข้อจำกัดการโอน สัญญาซื้อขายและจำนองเป็นโมฆะ เจ้าของเดิมมีสิทธิ
จำเลยได้ขายที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ให้ผู้ร้องและ ส.โดยทำสัญญาซื้อขายกันเอง ต่อมาทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทให้จำเลยโดยมีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปีในวันเดียวกันนั้นจำเลยจดทะเบียนจำนองที่พิพาทกับผู้ร้องและ ส.และได้ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ผู้ร้องและ ส.ตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนอง การที่จำเลยกับผู้ร้องมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อปรากฏว่าในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องและ ส.ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทกันได้ จึงได้ทำจำนองในวงเงินเท่ากับราคาซื้อขายกันไว้ โดยจำเลยได้ให้คำมั่นที่จะขายที่พิพาทให้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามพฤติการณ์จึงชี้ให้เห็นว่าสัญญาจำนองเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันกันในเรื่องจำนอง สัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ แต่เนื่องจากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องและ ส.จึงตกเป็นโมฆะไปด้วย ผู้ร้องจึงมิได้มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาท และแม้ผู้ร้องยังคงครอบครองที่พิพาทอยู่เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของเดิม จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และโจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขาย, สัญญาจำนองโมฆะ, สิทธิครอบครอง, ที่ดินมีข้อจำกัดการโอน
จำเลยได้ขายที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ให้ผู้ร้องและ ส. โดยทำสัญญาซื้อขายกันเองต่อมาทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทให้จำเลยโดยมีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี ในวันเดียวกันนั้นจำเลยจดทะเบียนจำนองที่พิพาทกับผู้ร้องและ ส. และได้ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ผู้ร้องและ ส. ตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนองการที่จำเลยกับผู้ร้องมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อปรากฏว่าในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องและ ส.ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทกันได้ จึงได้ทำจำนองในวงเงินเท่ากับราคาซื้อขายกันไว้โดยจำเลยได้ให้คำมั่นที่จะขายที่พิพาทให้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามพฤติการณ์จึงชี้ให้เห็นว่าสัญญาจำนองเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันกันในเรื่องจำนองสัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ แต่เนื่องจากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องและ ส. จึงตกเป็นโมฆะไปด้วย ผู้ร้องจึงมิได้มีสิทธิใด ๆในที่พิพาท และแม้ผู้ร้องยังคงครอบครองที่พิพาทอยู่เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของเดิม จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทและโจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้