คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติกรรมโมฆะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะจากการสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมยกที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อนกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 การที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9154-9155/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้ทำสัญญาหลังพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว
พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มีเจตนารมณ์ให้รัฐบาลจัดที่ดินของรัฐให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้นการที่มีบทบัญญัติห้ามโอนที่ดินแก่ผู้อื่นเว้นแต่การตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ผู้รับที่ดินเป็นสมาชิกอยู่และกำหนดให้ที่ดินดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็เพื่อให้ผู้ได้รับที่ดินใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ตามเจตนารมณ์ดังกล่าวโดยไม่ต้องเสียที่ดินไปโดยง่ายหรือมีการจำหน่ายจ่ายโอนไปให้ผิดจากเจตนารมณ์ดังกล่าวดังนั้นการที่โจทก์ตกลงขายที่ดินให้จำเลยเพื่อหักหนี้และมอบที่ดินให้จำเลยซึ่งได้กระทำกันภายในระยะเวลาซึ่งยังอยู่ในกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีเจตนาจะโอนที่ดินกันและก่อสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อไปแม้จะกำหนดให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันภายหลังพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตามก็เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายเป็นนิติกรรมอันมีวัตถุที่มีประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113(เดิม)จำเลยจะยกนิติกรรมอันเป็นโมฆะดังกล่าวนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้กู้ยืมจากโจทก์และไม่ออกจากที่ดินของโจทก์ไม่ได้ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดก vs. อำนาจผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทผู้เยาว์: นิติกรรมไม่โมฆะ
นอกจากจำเลยที่1จะเป็นทายาทของผู้ตายและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วยแล้วก็ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยเมื่อจำเลยที่1ขายที่พิพาทไปในขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์จึงเป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574มาใช้บังคับไม่ได้นิติกรรมขายที่พิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยที่1และที่2ยอมโอนที่พิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดกตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดก็ถือว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่1ย่อมมีอำนาจโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิด/หลอกลวง นิติกรรมซื้อขายตกเป็นโมฆะ อำนาจฟ้องโจทก์ที่ 2
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่1ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1โดยสำคัญผิดว่าเป็นนิติกรรมการจดทะเบียนจำนองเพิ่มวงเงินตามคำหลอกลวงของจำเลยที่1กับสามีนิติกรรมระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1จึงตกเป็นโมฆะแล้วพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1เท่านั้นนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเช่นนี้เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่2ที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ที่2ไม่มีอำนาจฟ้องจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้มีการส่งมอบการครอบครองก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิ
ขณะที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นยังอยู่ในระยะเวลาการห้ามโอนตามกฎหมาย นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และในกำหนดเวลาห้ามโอนนี้ย่อมไม่อาจส่งมอบการครอบครองแก่กันได้การส่งมอบการครอบครองในระยะเวลาการห้ามโอนตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ถือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเช่นกัน ดังนี้แม้จะฟังว่าจำเลยส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่ได้ครอบครองในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5473/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆะ: สิทธิเรียกร้องทรัพย์สินพิจารณาจากลาภมิควรได้
นิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติถึงการให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม คู่กรณีจะมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมหรือสัญญาอย่างใดเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตามลักษณะลาภมิควรได้อีกชั้นหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโอนและจำนองที่ดินเป็นโมฆะจากเจตนาทุจริต ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ ลงลายมือชื่อใน หนังสือมอบอำนาจโดยยังไม่กรอกข้อความจำเลยที่1นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่1เป็นผู้มีอำนาจยื่นคำขอจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่1โดยโจทก์ไม่รู้เห็นด้วยนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นจากการทุจริตจึงตกเป็น โมฆะ ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของโจทก์ฉะนั้นการที่จำเลยที่2รับจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่1จึงไม่เกิดผลให้จำเลยที่2มีสิทธิตามนิติกรรมจำนองโจทก์จึงมีสิทธิขอให้ เพิกถอนนิติกรรม จำนองระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยใช้ชื่อผู้อื่นแทน ถือเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซ.สามีของจำเลยเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจาก อ.แต่ให้ ส. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่าง ซ.กับ อ.และนิติกรรมการถือกรรมสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทของ ส.แทน ซ.จึงมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 86 และมาตรา 113 ตกเป็นโฆฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยคนต่างด้าวผ่านคนไทยเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดินเป็นโมฆะ ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดิน
ซ. สามีของจำเลยเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากอ.แต่ให้ส. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่าง ซ.กับอ.และนิติกรรมการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทของ ส.แทนซ.จึงมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 86 และมาตรา 113 ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวงและเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้
ที่ดินและบ้านพิพาทเดิมโจทก์เป็นผู้ซื้อจาก บ. และจำนองไว้กับธนาคาร แม้ได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย แต่โจทก์และครอบครัวยังคงอยู่อาศัยในที่พิพาท และเป็นผู้ชำระหนี้จำนองเป็นรายเดือนตลอดมา สาเหตุที่โจทก์ต้องทำนิติกรรมพิพาท เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ไปชำระหนี้ อีกทั้งสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทมีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขพิเศษให้โจทก์มีสิทธิซื้อคืนได้ตลอดเวลาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่ซื้อโดยแท้จริง นิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยมิได้ซื้อขายกันจริง จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย นิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ
กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่
of 5