พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินโดยเสนหาเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และฐานะลูกหนี้ร่วมของสามีภรรยา
+ในศาลชั้นต้นในฐานะ+ที่ปรึกษากฎหมายแล้ว+พิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ในฐานะผู้พิพากษา+หาต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลพิจารณาแพ่ง ม.11 ข้อ 5 ไม่ การยกที่ดินให้แก่กันโดย+เสนหา โดยทำหนังสือ+จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหนี้นั้น จะนำพะยานบุคคลมาสืบว่าผู้ให้ยังสงวนเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิไว้หาได้ไม่ ต้องกลับด้วยข้อห้ามตามประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.94 (ข) สามีเป็นลูกหนี้เขาแล้วภรรยาโอนทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสให้ผู้อื่น โดยเป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบดังนี้ เจ้าหนี้ขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม ม.237 โดยถือว่าภรรยาตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14094/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน: ต้องแสดงฐานะลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา อันเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. เสียเปรียบ กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 237 แล้ว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ถึง (4) อันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวร่วมกับ จ. ซึ่งจะมีผลให้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6545/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินมรดก: ศาลมีอำนาจสั่งค่าขึ้นศาลในชั้นรับฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกที่จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. โอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกให้โดยเสน่หาแก่จำเลยที่ 3 เพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของ จ. ด้วย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาของที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
เมื่อตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องรอจำเลยทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม และประเด็นการใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริต
แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกปัญหาว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ขึ้นอ้างในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์กับจำเลยที่ 2 คนละครึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
ที่จำเลยทั้งสองอ้างข้อเท็จจริงตามหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ล. มาท้ายฎีกานั้น จำเลยทั้งสองเพิ่งกล่าวอ้างขึ้นในชั้นฎีกา เป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 และโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านเกี่ยวกับเอกสารนี้ ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์กับจำเลยที่ 2 คนละครึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
ที่จำเลยทั้งสองอ้างข้อเท็จจริงตามหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ล. มาท้ายฎีกานั้น จำเลยทั้งสองเพิ่งกล่าวอ้างขึ้นในชั้นฎีกา เป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 และโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านเกี่ยวกับเอกสารนี้ ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้