พบผลลัพธ์ทั้งหมด 439 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนและความรับผิดร่วมของนิติบุคคลในสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแพ่งว่าด้วยสัญญาซื้อขายแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนโจทก์เมื่อมีข้อโต้แย้งในเรื่องสัญญาซื้อขาย ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวกับบุคคลใดผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับมอบหมายได้โดยไม่จำต้องระบุว่าให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอีก
แม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดจะจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ต่อไป แต่เมื่อยังไม่มีการชำระบัญชี สภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 3 ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดในฐานะหุ้นส่วนไม่ใช่ในฐานะห้างหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249, 1077 (2)
แม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดจะจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ต่อไป แต่เมื่อยังไม่มีการชำระบัญชี สภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 3 ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดในฐานะหุ้นส่วนไม่ใช่ในฐานะห้างหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249, 1077 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหลังเลิกบริษัท: ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทนบริษัทหลังจดทะเบียนเลิกบริษัท
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด มี ว. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทวันที่ 18 มิถุนายน 2541 มี ว. เป็นผู้ชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 ดังนี้ เมื่อโจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทและมีการตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว อำนาจในการฟ้องคดีจึงตกอยู่แก่ผู้ชำระบัญชี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 โจทก์ฟ้องคดีนี้โดย ว. ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินและบ้าน แม้ไม่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือขออนุญาตจัดสรร ไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกง หากมีเจตนาดำเนินการจริง
จำเลยทั้งสองร่วมกับ จ. และ ว. เป็นหุ้นส่วนร่วมกันจัดสรรที่ดินพร้อมสร้างอาคารพาณิชย์และทาวน์เฮาส์ขายให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า โครงการหมู่บ้านศรีเมืองทองฯ แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล และไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญจะบ่งชี้ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 และประชาชน การที่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 เข้าจองซื้อที่ดินและบ้านของโครงการดังกล่าว ก็ได้รับการชักชวนจาก จ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของจำเลยทั้งสองและเป็นการชักชวนกันของโจทก์ร่วมทั้งแปด หาใช่เป็นเพราะเชื่อถือว่าโครงการดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทั้งจำเลยทั้งสองก็ได้ดำเนินการก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ไปแล้วบางส่วน และยังดำเนินการแบ่งแยกที่ดินจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม มีการจัดการสาธารณูปโภคเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมของโครงการ และได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ให้แก่ผู้ซื้อบางส่วนแล้ว แม้ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามโครงการและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 ได้ครบตามสัญญาทุกรายก็เป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2774/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์โดยนิติบุคคลเป็นนายวงแชร์ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและเช็คไม่มีมูลหนี้
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ฯ ได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะเป็นความผิดไว้ต่างหากจากกันตามมาตรา 5 และมาตรา 6 ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะกรณีนายวงแชร์ผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ในกรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่เป็นนิติบุคคล กฎหมายหาได้ให้สิทธิเช่นว่านั้นแก่สมาชิกวงแชร์ที่จะเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ เมื่อแชร์รายพิพาทมีบริษัท ส. เป็นนายวงแชร์ การแล่นแชร์รายนี้จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาทที่สั่งจ่ายเงินเพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวจึงปราศจากมูลหนี้ที่จะบังคับกันได้ตามกฎหมาย แม้โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างเป็นสมาชิกวงแชร์ด้วยกัน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณา 'งานแสวงหากำไร' เพื่อบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ต้องดูวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
การพิจารณาว่างานที่จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลจ้างโจทก์ทำเป็นงานที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ ต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของจำเลยประกอบด้วย
จำเลยมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการสถาบันเทคโนโลยี่บนมูลฐานไม่แบ่งสรรกำไร จำเลยมีอำนาจหน้าที่ทำนิติกรรมสัญญาและดำเนินกิจการในการให้เช่าทรัพย์สิน ให้กู้ยืม จำนำ จำนองได้ตามกฎบัตรก็เพื่อให้มีอำนาจบริหารจัดการทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ของจำเลยที่มีอยู่ เพื่อเป็นทุนดำเนินงานในโครงการตามวัตถุประสงค์ เป็นการช่วยเหลือตนเองโดยไม่จำต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนจากรัฐบาลของประเทศผู้ให้ทุนแต่เพียงอย่างเดียว งานโครงการเฟอร์โรซีเมนต์ที่จำเลยจ้างโจทก์ทำมีรายรับจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลไทยและรัฐบาลต่างประเทศ กับจากการจัดทำวารสารและสัมมนาทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปหากมีรายรับเหลือจ่ายจากการดำเนินงานต้องนำไปใช้ในการดำเนินงานของโครงการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในโครงการอื่นและห้ามนำมาแบ่งปันกัน งานที่จำเลยทำจึงไม่ใช่กิจการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในเรื่องค่าชดเชย
จำเลยมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการสถาบันเทคโนโลยี่บนมูลฐานไม่แบ่งสรรกำไร จำเลยมีอำนาจหน้าที่ทำนิติกรรมสัญญาและดำเนินกิจการในการให้เช่าทรัพย์สิน ให้กู้ยืม จำนำ จำนองได้ตามกฎบัตรก็เพื่อให้มีอำนาจบริหารจัดการทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ของจำเลยที่มีอยู่ เพื่อเป็นทุนดำเนินงานในโครงการตามวัตถุประสงค์ เป็นการช่วยเหลือตนเองโดยไม่จำต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนจากรัฐบาลของประเทศผู้ให้ทุนแต่เพียงอย่างเดียว งานโครงการเฟอร์โรซีเมนต์ที่จำเลยจ้างโจทก์ทำมีรายรับจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลไทยและรัฐบาลต่างประเทศ กับจากการจัดทำวารสารและสัมมนาทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปหากมีรายรับเหลือจ่ายจากการดำเนินงานต้องนำไปใช้ในการดำเนินงานของโครงการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในโครงการอื่นและห้ามนำมาแบ่งปันกัน งานที่จำเลยทำจึงไม่ใช่กิจการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในเรื่องค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของกรรมการบริษัทในฐานะตัวการร่วม กรณีละเมิดลิขสิทธิ์ของนิติบุคคล
เจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา 74 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ต้องการให้ดำเนินคดีเพื่อลงโทษกรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคลที่นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นด้วย โดยให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคลดังกล่าวโดยเป็นตัวการด้วยกัน ตาม ป.อ. มาตรา 83 แต่ความเป็นนิติบุคคลของบริษัทจำเลยที่ 1 นั้น เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากความเป็นบุคคลของจำเลยที่ 2 ที่มีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ประกอบกับความรับผิดในทางอาญาเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้กระทำผิด กล่าวคือ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเท่านั้น ดังนั้น แม้บทบัญญัติมาตรา 74 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะบัญญัติให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคลจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมีหนังสือมอบอำนาจให้ ว. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยหนังสือมอบอำนาจระบุให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น กรณีจึงไม่มีผลที่จะให้ถือได้ว่าโจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้รับผิดในฐานที่ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
แม้ว่าในขณะที่ไปร้องทุกข์ดังกล่าวโจทก์ร่วมยังไม่รู้จักชื่อกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ร่วมก็มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่ระบุตำแหน่งไว้ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามไว้
แม้ว่าในขณะที่ไปร้องทุกข์ดังกล่าวโจทก์ร่วมยังไม่รู้จักชื่อกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ร่วมก็มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่ระบุตำแหน่งไว้ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6064/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค – นิติบุคคล – กรรมการ – ความรับผิดร่วม – ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ความประสงค์หรือเจตนาแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล คือจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ออกเช็คทั้งสองฉบับเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 กระทำทั้งฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกันกระทำผิด จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างได้ว่าไม่มีเจตนาออกเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การกำหนดพื้นที่และค่าใช้จ่ายส่วนกลางยึดตามสัญญาและข้อบังคับนิติบุคคล
ตารางราคาที่ตัวแทนของจำเลยนำออกเผยแพร่ในชั้นโฆษณาจำหน่ายห้องชุดคิดราคาห้องชุดในอัตราหนึ่ง แต่ตามสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุดมีข้อความระบุว่า"ข้อความในเอกสารหรือคำโฆษณาอื่นใดที่มีมาก่อนการทำสัญญานี้ย่อมไม่ผูกพันผู้จะขายคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้ยึดถือข้อความและเอกสารตามสัญญานี้เป็นข้อปฏิบัติต่อกันทุกประการ" แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนาจะซื้อจะขายกันตามแบบแปลนเอกสารแนบท้ายสัญญาเป็นสำคัญ ดังนั้น หากจำเลยก่อสร้างห้องชุดมีลักษณะและขนาดกว้างยาวเท่ากับที่ระบุไว้ในแบบแปลนท้ายสัญญาแล้วจะถือว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ แม้พื้นที่ของห้องชุดจะมากกว่าหรือน้อยกว่าตามที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์หรือจำเลยก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มขึ้นหรือลดลง
เจ้าของร่วมจะต้องชำระเงินกองทุนสำรองส่วนกลางและค่าใช้จ่ายส่วนกลางจำนวนเท่าใดนั้น ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น ๆ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ มาตรา 18,32(4)(10) และมาตรา 40 เมื่อข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 5 ระบุให้เรียกเก็บเงินกองทุนและค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อเดือนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้น
เจ้าของร่วมจะต้องชำระเงินกองทุนสำรองส่วนกลางและค่าใช้จ่ายส่วนกลางจำนวนเท่าใดนั้น ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น ๆ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ มาตรา 18,32(4)(10) และมาตรา 40 เมื่อข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 5 ระบุให้เรียกเก็บเงินกองทุนและค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อเดือนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลและผู้มีอำนาจกระทำการ, ฟ้องเคลือบคลุม, การกระทำแทนบริษัท
ฟ้องโจทก์ระบุว่า โจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ว. จำกัด มี ม. เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้แทนโจทก์ที่ 1 และในฐานะส่วนตัวได้ติดต่อสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องหนังและรองเท้ากับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ขายสินค้าให้โจทก์ภายหลังโจทก์พบว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่อง ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสามทราบและรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยเพิกเฉย คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวบรรยายถึงฐานะโจทก์สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคล ในคำฟ้องก็ไม่จำต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ในช่องชื่อโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องบรรยายในคำฟ้องอยู่แล้ว และตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้บรรยายไว้แล้วว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 กระทำการแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 เมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญาที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำขึ้นโดยผู้มีอำนาจกระทำการเป็นผู้ทำแทนจึงย่อมผูกพันเฉพาะโจทก์ที่ 1 และเฉพาะโจทก์ที่ 1 เท่านั้น มีอำนาจฟ้องคดีได้ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจะฟ้องคดีในนามของตนเองแทนโจทก์ที่ 1 ตามสัญญานั้นไม่ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคล ในคำฟ้องก็ไม่จำต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ในช่องชื่อโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องบรรยายในคำฟ้องอยู่แล้ว และตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้บรรยายไว้แล้วว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 กระทำการแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 เมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญาที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำขึ้นโดยผู้มีอำนาจกระทำการเป็นผู้ทำแทนจึงย่อมผูกพันเฉพาะโจทก์ที่ 1 และเฉพาะโจทก์ที่ 1 เท่านั้น มีอำนาจฟ้องคดีได้ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจะฟ้องคดีในนามของตนเองแทนโจทก์ที่ 1 ตามสัญญานั้นไม่ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น: สิทธิในทรัพย์สินของบริษัทไม่ใช่สินสมรสหรือมรดก
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ต. ซึ่งเป็นสามีของผู้ร้องสอดที่ 1 และบิดาของผู้ร้องสอดที่ 2 การที่ ต. และผู้ร้องสอดที่ 1เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโจทก์และ ต. เคยเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทโจทก์รวมทั้งเคยเป็นกรรมการบริหารบริษัทโจทก์มาก่อน ก็หาก่อให้ ต. เกิดสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆในทรัพย์สินหรือหนี้สินของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ หาก ต. นำสินสมรสระหว่าง ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 ไปลงทุนซื้อหุ้นของโจทก์ ต. คงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งเท่านั้นการที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามสัญญาซื้อขายและฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าจากจำเลยหากโจทก์ชนะคดี เงินค่าสินค้าที่จำเลยต้องชำระย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต. หาได้มีสิทธิใด ๆ ในเงินค่าสินค้าดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่เป็นสินสมรสหรือเป็นทรัพย์มรดกของ ต. จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเงินค่าสินค้าที่โจทก์ฟ้อง ที่จะขอให้ศาลให้ความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิเรียกร้องในเงินค่าสินค้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม