คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติภาวะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการฉุดคร่าเมื่อเหยื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว และผลของสัญญาใช้ค่าเสียหายที่ไม่สมบูรณ์
จำเลยที่ 1 ได้ฉุดคร่าน้องสาวโจทก์ไปเป็นภรรยาและมาขอสมัคขมาโดยยอมใช้ค่าเสียหายหรือค่าล้างอายให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระให้จึงตกลงทำเป็นสัญญากู้เงินโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงิน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องเรียกให้ชำระเงิน ได้ความต่อไปว่าในขณะฉุดคร่าน้องสาวโจทก์มีอายุเกิน 20 ปีแล้ว เช่นนี้ถือว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ปกครองน้องสาวตาม ก.ม.โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลย แม้การสมัคขมาและการใช้ค่าเสียหายหรือล้างอายจะถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาอันเรื่องหน้าที่โดยศึลธรรมเมื่อยังไม่ได้ส่งมอบให้แก่กัน เพียงแต่ทำสัญญากันไว้เท่านั้นไม่มี ก.ม.ให้ฟ้องร้องบังคับกันได้ เว้นแต่เมื่อชำระให้แก่กันแล้วไม่มีสิทธิเรียกคืนได้ เรื่องเช่นนี้ปรับเข้าได้กับสัญญาให้ซึ่งตาม ก.ม.ย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการฉุดคร่าและการสมัคขมา: สิทธิเรียกร้องเมื่อผู้เสียหายบรรลุนิติภาวะ
จำเลยที่ 1 ได้ฉุดคร่าน้องสาวโจทก์ไปเป็นภรรยาและมาขอสมัคขมา โดยยอมใช้ค่าเสียหายหรือค่าล้างอายให้แก่โจทก์แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระให้จึงตกลงทำเป็นสัญญากู้เงินโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องเรียกให้ชำระเงิน ได้ความต่อไปว่า ในขณะฉุดคร่าน้องสาวโจทก์มีอายุเกิน 20 ปีแล้ว เช่นนี้ถือว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ปกครองน้องสาวตาม กฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลย แม้การสมัครขมาและการใช้ค่าเสียหายหรือล้างอายจะถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาอันเรื่องหน้าที่โดยศีลธรรม เมื่อยังไม่ได้ส่งมอบให้แก่กันเพียงแต่ทำสัญญากันไว้เท่านั้นไม่มีกฎหมายให้ฟ้องร้องบังคับกันได้ เว้นแต่เมื่อชำระให้แก่กันแล้วไม่มีสิทธิเรียกคืนได้ เรื่องเช่นนี้ปรับเข้าได้กับสัญญาให้ซึ่งตาม กฎหมายย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะและไม่มีประโยชน์ในการชี้ขาด ศาลฎีกามีอำนาจจำหน่ายคดีได้แม้ไม่เข้าข่ายมาตรา 172
ในระหว่างพิจารณา ศาลสั่งยกคำร้องในเรื่องข้อตัดฟ้องของจำเลย ๆแถลงว่า ยังติดใจคัดค้านและขอสงวนสิทธิเพื่ออุทธรณ์ แล้วจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาล ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแถลงว่าพอใจคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลแล้วจึงขอค่าธรรมเนียมคืน ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยพอใจในการสั่งของศาล ไม่ใช่พอใจที่จะไม่อุทธรณ์ เมื่อศาลพิพากษาคดีแล้ว จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นได้ เพราะจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งไว้ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 226(2) แล้ว
เมื่อความปรากฎว่าจำเลยเป็นผู้เยาว์ ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 1(12) กรณีก็ต้องตามมาตรา 56 การที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้อนุญาตหรือยินยอมแต่ผู้เยาว์ ที่จะดำเนินคดีหรือไม่เป็นอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลไม่มีอำนาจบังคับผู้แทนโดยชอบธรรมให้ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์
การหมายเรียกตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 57(3) เป็นการหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการดำเนินคดี หรือไม่เข้าดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ตามที่ควรศาลจะตั้งผู้แทนฉะเพาะคดีให้ตามมาตรา 56 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ไม่ได้ เพราะเป็นบทบัญญัติฉะเพาะแต่ในกรณีไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ แต่ถ้าในกรณีที่บิดาเป็นผู้ปกครองและไม่ยอมให้คำยินยอมเช่นนี้ ผู้เยาว์อาจขอต่อศาลให้รอคดีไว้หรือศาลสั่งรอไว้เองก็ได้ โดยให้ผู้เยาว์ไปหาญาติสนิท ดำเนินการตามมาตรา 1552 ป.ม.แพ่ง ฯ ถอนอำนาจบิดาในส่วนนี้ฐานใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบเสียก่อนได้
ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 56 ไม่ได้ห้ามไม่ให้ฟ้องผู้เยาว์ เป็นแต่ว่าถ้าถูกฟ้อง ผู้เยาว์จะดำเนินคดีไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรม เข้าดำเนินคดีแทนเสียทีเดียว ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ ก็ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จะบังคับโจทก์ไม่ได้ ศาลจึงชอบที่จะคอยระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ให้ตามสมควร เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เยาว์ศาลอาจจะแจ้งไปยังพนักงานอัยยการเพื่อพิจารณาและดำเนินการตามมาตรา 1552 นี้ก็ได้เมื่อมีการถอนอำนาจแล้ว ก็เป็นหน้าที่ที่จะใช้มาตรา 56 วรรคท้ายได้ แต่ศาลจะหมายเรียกผู้แทนโดยชอบธรรม ให้เข้ามาแก้คดีแทนผู้เยาว์นั้นหามีกฎหมายสนับสนุนไม่
การบังคับคดีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้น การที่ขอให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลา ก็หมายความว่าไม่ให้ถือเอาการอุทธรณ์เป็นการทุเลาการบังคับ แม้จะมีการอุทธรณ์ ก็ให้ศาลล่างดำเนินการบังคับคดีต่อไป ตามอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องการบังคับคดี ไม่ใช่ว่าถ้าศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลาแล้ว ก็เป็นการบังคับศาลชั้นต้นให้บังคับคดีโดยตัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องบังคับคดีเสียเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรสาวโจทก์อายุ 18 ปี ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาบุตรสาวโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดีเสียแม้กรณีไม่ต้องด้วย ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 132 ศาลฎีกาก็ยังจำหน่ายคดีได้
ถ้าหากไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะชี้ขาดแล้วเช่นคดีนี้ แต่คดีนี้ศาลล่างดำเนินการพิจารณามาสับสน จะเพียงแต่จำหน่ายคดี โดยให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คงไว้ หาชอบไม่ ทั้งจะให้ศาลล่างพิจารณาใหม่ก็ไม่ได้ เพราะบุตรสาวโจทก์ที่ฟ้องเรียกคืนบรรลุนิติภาวะแล้ว เช่นนี้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง และให้จำหน่ายคดีเสีย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องคดีมรดกของผู้เยาว์: เริ่มนับเมื่อบรรลุนิติภาวะครบ 1 ปี
เจ้ามฤดกตายในระหว่างที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทยังเป็นผู้เยาว์อยู่ อายุความในการฟ้องคดีมฤดกนั้นยังไม่สิ้นสุดลงจนกว่าผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะครบ 1 ปีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดกของผู้เยาว์: เริ่มนับเมื่อบรรลุนิติภาวะ + 1 ปี
เจ้ามรดกตายในระหว่างที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทยังเป็นผู้เยาว์อยู่อายุความในการฟ้องคดีมรดกนั้นยังไม่สิ้นสุดลงจนกว่าผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะครบ 1 ปีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์แทนบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ และการพิจารณาข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น
บิดาทำการร้องทุกข์แทนบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะได้ ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้ง 2 ฟังต้องกันมาและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี นั้น ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิในที่ดินของผู้เยาว์และการปกครองปรปักษ์: อายุความเริ่มนับเมื่อบรรลุนิติภาวะ
การที่มารดาปกครองทรัพย์สินไว้แทนบุตร์อายุความในเรื่องปกครองปรปักษ์ย่อมเริ่มนับแต่วันที่บุตร์บรรลุนิติภาวะเป็นต้นไป ถ้าปกครองมายังไม่ครบ 9 ปี (ในกรณีที่เป็นเรื่องที่ดินมารดายังไม่ได้กรรมสิทธิ) อายุความตาม ม.183 -184 ประมวลแพ่ง ฯ นั้นเป็นเรื่องขยายอายุความให้แก่ผู้เยาว์ในการใช้สิทธิเรียกร้องเอาจากผู้ปกครอง เพราะเหตุที่อายุความได้ครบกำหนดหรือเกือบจะครบกำหนดแล้วก่อนผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ จึงให้อายุความยึดออกไปอีก 1 ปีนับแต่เมื่อบรรลุนิติภาวะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10289/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: แก้ไขระยะเวลาจนบรรลุนิติภาวะ & ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
หน้าที่ของบิดามารดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นให้กระทำขณะเป็นผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 แสดงว่าการอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ ซึ่งอาจบรรลุนิติภาวะได้โดยการสมรสเมื่ออายุ 17 ปีบริบูรณ์ หรือมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ การที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นช่วงระยะเวลาจนบุตรผู้เยาว์อายุ 20 ปีนั้น ไม่ถูกต้อง เห็นควรแก้ไขให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าบุตรผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 155 บัญญัติว่า ในการยื่นคำฟ้องหรือคำร้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในคดีครอบครัวเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม จึงได้รับยกเว้นค่าขึ้นศาลและคดีไม่มีค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับไม่ชอบ และที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามานั้นจึงไม่ชอบเช่นกัน เห็นควรให้ยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ และให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันสองฉบับ เพื่อค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. เจ้าหนี้เดิม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 และ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ตามลำดับ ในขณะที่จำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ จึงยังไม่บรรลุนิติภาวะตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 เพราะจำเลยที่ 3 เกิดวันที่ 11 มีนาคม 2520 การทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) หรือแทนบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) จึงเป็นการทำนิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ซึ่งตามมาตรา 1574 (10) แห่ง ป.พ.พ. ได้บัญญัติว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานให้เห็นว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน ผู้ใช้อำนาจปกครองของจำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตจากศาลให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันได้ การทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9574/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย: ผู้ฟ้องต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปีหลังบรรลุนิติภาวะ
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติว่า "คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็น...คำร้องขอ..." การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจึงเป็นคำฟ้อง
ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 จึงเกินกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้องขอ) ดังนั้นปัญหาว่าผู้ร้องเป็นบุตรของ ป. หรือไม่ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย หากผู้ร้องเห็นว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องในการรับมรดกของ ป. อย่างไร ผู้ร้องต้องไปใช้สิทธิทางศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทต่อไป
of 3