คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิยาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'ผู้เช่านา' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พิจารณาจากพื้นที่เช่าเพื่อทำนาเป็นหลัก ไม่ใช่พื้นที่ทั้งแปลง
ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 ให้คำนิยามของคำ"ผู้เช่านา"ว่า หมายความถึงผู้ที่เช่านาเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ และ "ผู้ให้เช่านา" หมายความว่าผู้ที่ให้เช่านาเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ คำว่าส่วนใหญ่ในที่นี้หมายถึงส่วนใหญ่ของเนื้อที่ดินส่วนที่เช่ากัน ไม่ได้หมายถึงส่วนใหญ่ของเนื้อที่ดินทั้งแปลง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ศาลจึงต้องพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความเสียก่อนแล้วจึงพิพากษาไปตามประเด็นข้อโต้เถียง ไม่ควรด่วนงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'ผู้เช่านา' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พิจารณาจากเนื้อที่ดินที่เช่า ไม่ใช่เนื้อที่ดินทั้งหมด
ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 ให้คำนิยามของคำ'ผู้เช่านา'ว่า หมายความถึงผู้ที่เช่านาเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ และ'ผู้ให้เช่านา'หมายความว่าผู้ที่ให้เช่านาเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่คำว่าส่วนใหญ่ในที่นี้หมายถึงส่วนใหญ่ของเนื้อที่ดินส่วนที่เช่ากัน ไม่ได้หมายถึงส่วนใหญ่ของเนื้อที่ดินทั้งแปลง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517 จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ศาลจึงต้องพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความเสียก่อนแล้วจึงพิพากษาไปตามประเด็นข้อโต้เถียง ไม่ควรด่วนงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74-75/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างไม่ได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่กฎหมายบัญญัติ แม้เป็นเจ้าพนักงานก็อาจเป็นลูกจ้างได้
บุคคลใดจะมีฐานะเป็นลูกจ้างหรือไม่นั้น ย่อมเป็นไปตามคำนิยามของคำว่า 'ลูกจ้าง' ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน บุคคลที่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายก็อาจเป็นลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'นา' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา: พืชไร่คือพืชที่ต้องการน้ำน้อย
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มาตรา 4 บัญญัติว่า "นา"หมายถึงที่ดินซึ่งโดยสภาพใช้เป็นที่เพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ และคำว่า "พืชไร่" หมายความว่าพืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและมีอายุสั้นหรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายในสิบสองเดือน
จำเลยปลูกพืชจำพวกพริก หอม กระเทียม ผักกาด คะน้ามันเทศ ถั่วลิสง และมันแกวในที่พิพาท ไม่ได้ปลูกข้าวที่พิพาททั้งสี่ด้านมีต้นมะม่วงปลูกอยู่โดยรอบ ส่วนในที่พิพาทยกเป็นร่องในร่องมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่บนร่องปลูกต้นมันเทศบางร่องมีต้นถั่วฝักยาวปลูกอยู่ที่พิพาทมีคันดินทั้ง 4 ด้าน สูงเกินศีรษะทำไว้เพื่อกันน้ำท่วม แสดงว่าพืชที่จำเลยปลูกบนร่องเป็นพืชที่ไม่ต้องการให้น้ำท่วม เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย พืชที่จำเลยปลูกจึงเป็นพืชไร่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517 และที่ดินที่จำเลยปลูกพืชไร่ย่อมถือว่าเป็น "นา" ตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนิยาม 'ยาเส้นปรุง' ตาม พ.ร.บ.ยาสูบ: การผสมยาเส้นพื้นเมืองกับยาเส้นเวอร์ยิเนียเข้าข่ายหรือไม่
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ยาเส้นปรุง" หมายความว่า ใบยาซึ่งมิใช่ยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัดซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ คำว่าวัตถุในพระราชบัญญัติยาสูบไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าหมายความถึงอะไร จึงต้องถือตามความหมายทั่ว ๆ ไปว่า หมายถึงสิ่งต่าง ๆ จะเป็นอะไรก็ได้ ยาเส้นพันธุ์พื้นเมืองจึงต้องอยู่ในความหมายของคำว่าเป็นวัตถุอย่างหนึ่งและมิใช่เป็นวัตถุที่เรียกว่าน้ำ ดังนั้น การนำเอายาเส้นพันธุ์พื้นเมืองมาปนกับยาเส้นพันธุ์เวอร์ยิเนียซึ่งมิใช่ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด จึงเป็นยาเส้นปรุงตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติยาสูบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'ยาเส้นปรุง' ตาม พ.ร.บ.ยาสูบ: การปนยาเส้นเวอร์ยิเนียกับยาเส้นพื้นเมืองเข้าข่ายหรือไม่
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 มาตรา 3 บัญญัติว่า 'ยาเส้นปรุง' หมายความว่า ใบยาซึ่งมิใช่ยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำคำว่าวัตถุในพระราชบัญญัติยาสูบไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าหมายความถึงอะไร จึงต้องถือตามความหมายทั่วๆ ไปว่า หมายถึงสิ่งต่างๆ จะเป็นอะไรก็ได้ ยาเส้นพันธุ์พื้นเมืองจึงต้องอยู่ในความหมายของคำว่าเป็นวัตถุอย่างหนึ่งและมิใช่เป็นวัตถุที่เรียกว่าน้ำดังนั้น การนำเอายาเส้นพันธุ์พื้นเมืองมาปนกับยาเส้นพันธุ์เวอร์ยิเนียซึ่งมิใช่ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัดจึงเป็นยาเส้นปรุงตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติยาสูบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยามโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2512: เตาเผาหินปูนขนาดใหญ่เข้าข่ายต้องขออนุญาต
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 5 มีคำจำกัดความคำว่าโรงงานไว้ให้หมายถึงอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่สองแรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สองแรงม้าขึ้นไป ฯลฯ และมีคำจำกัดความคำว่าเครื่องจักรไว้ด้วยว่าหมายถึงสิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิดพลังงานฯลฯดังนั้น จึงถือได้ว่า โรงผลิตปูนขาวซึ่งใช้เตาหินปูนขนาดให้ความร้อนเท่ากับเครื่องจักรขนาด 368 แรงม้า โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง เป็นโรงงานที่ต้องขออนุญาตตามความหมายของพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ด้วยเพราะใช้เตาซึ่งย่อมต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น และใช้เชื้อเพลิงก่อให้เกิดพลังงานคือความร้อนขึ้นอันเป็นเครื่องจักรตามคำจำกัดความข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ พิจารณาจาก 'เครื่องจักร' และ 'การใช้พลังงาน' แม้มีคนงานน้อย
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 5 มีคำจำกัดความคำว่าโรงงานไว้ ให้หมายถึงอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่สองแรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สองแรงม้าขึ้นไป ฯลฯ และมีคำจำกัดความคำว่าเครื่องจักรไว้ด้วยว่าหมายถึงสิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิดพลังงานฯลฯ ดังนั้น จึงถือได้ว่า โรงผลิตปูนขาวซึ่งใช้เตาหินปูนขนาดให้ความร้อนเท่ากับเครื่องจักรขนาด 368 แรงม้า โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง เป็นโรงงานที่ต้องขออนุญาตตามความหมายของพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 ด้วย เพราะใช้เตาซึ่งย่อมต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น และใช้เชื้อเพลิงก่อให้เกิดพลังงานคือความร้อนขึ้นอันเป็นเครื่องจักรตามคำจำกัดความข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'ทางแยก' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก: รวมถนนซอยที่แยกจากถนนสายหลักด้วย
ทางแยกนั้นมิได้หมายความ.เฉพาะบริเวณตรงที่ถนนอันเป็นทางตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตัดผ่านกันเท่านั้น แต่หมายความรวมตลอดถึงตรงบริเวณที่มีถนนซอยเป็นทางแยกจากถนนอีกสายหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'ทางแยก' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ครอบคลุมถึงถนนซอยแยกจากถนนใหญ่
ทางแยกนั้นมิได้หมายความ.เฉพาะบริเวณตรงที่ถนนอันเป็นทางตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตัดผ่านกันเท่านั้น แต่หมายความรวมตลอดถึงตรงบริเวณที่มีถนนซอยเป็นทางแยกจากถนนอีกสายหนึ่งด้วย
of 3