คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิรโทษกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนเถื่อนได้รับการนิรโทษกรรมตามกฎหมายฉบับแก้ไขใหม่
ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายเลขทะเบียนและกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่6) พ.ศ.2518 ประกาศใช้บังคับ ในวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และวันที่จำเลยฎีกายังอยู่ภายใน 90 วัน ที่ มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัตินั้นให้โอกาสแก่ผู้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าว นำไปขออนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จึงถือว่าจำเลยไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358-1369/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดขอบเขตความรับผิดของผู้รื้อถอนอาคาร รื้อเกินคำสั่งไม่เป็นนิรโทษกรรม แต่ต้องมีสิทธิเหนือทรัพย์สินก่อน
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้สั่งการตามประกาศของคณะปฏิวัติรื้อห้องแถวที่ให้โจทก์เช่าทั้งหมด มิใช่รื้อเฉพาะส่วนที่รุกล้ำทางสาธารณะนั้น เป็นการทำเกินคำสั่ง ส่วนที่จำเลยทำเกินจะอ้างว่าเป็นนิรโทษกรรมตามกฎหมายไม่ได้ แต่ถ้าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาหรือไม่ได้รับความเสียหายอันจะเป็นละเมิดแล้ว จำเลยก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่
การที่จำเลยรื้อห้องแถวดังกล่าว ทำให้สามีโจทก์เสียใจไปกระโดดน้ำตาย การที่โจทก์เสียค่าทำศพสามีและไม่ได้ขายสินค้านั้น ความเสียหายนั้นหาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยไม่ ฉะนั้น จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจในการยิงผู้ต้องสงสัยกบฎ ไม่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นโทษตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
เมื่อปรากฎว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจยิงผู้ตายซึ่งถูกสงสัยว่าจะมีส่วนร่วมกับการกบฎยึดวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ 2492) ขณะอยู่กับบ้านตามปกติ ไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าผู้ตายต่อสู้ขัดขวางการตรวจค้รและการเชิญไปสอบสวนแล้วก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำอันเกี่ยวเนื่องจากการป้องกัน ระงับหรือปราบปราบการกบฎ อันจะได้รับยกเว้นโทษตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาส 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาของผู้ต้องหากับพวกเจ้าพนักงานตำรวจที่ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการชันสูตรพลิกศพ
ในกรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับและควบคุมตัวฐานกบฏไว้แล้ว ไม่ได้ทำอะไรขึ้นอีกระหว่างนั้น ผู้ใดร่วมกันเพทุบายควบคุมตัวเขาไปฆ่าเสียนั้น ย่อมไม่ใช่เป็นการกระทำอันเกี่ยวเนื่องจากการป้องกัน ระงับหรือปราบปราม อันจะถือว่าไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 มาตรา 4
ในกรณีที่จำเลยกับพวกเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยนำผู้ต้องหาไปฆ่าเสีย นั้น ไม่เข้าลักษณะเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่ การชันสูตรพลิกศพผู้ตายจึงไม่ต้องมีผู้พิพากษาร่วมด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 วรรค 2
ขณะเกิดเหตุ ยังมิได้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา นั้น จะเอาความในมาตรา 289 (4) มาใช้ไม่ได้ เพราะมาตรานี้ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้กระทำผิดในทางใด
เมื่อพยานหลักฐานไม่ได้ความชัดว่า จำเลยได้ร่วมรู้ในแผนการณ์ที่จะกำจัดผู้ตายมาก่อน ไม่เคยมีสาเหตุกับผู้ตาย บางคนก็ไม่รู้จักกัน การกระทำของจำเลยเห็นได้ว่าเป็นเครื่องมือของผู้อื่นที่ใช้ให้กระทำ จึงถือไม่ได้ว่า กระทำโดยพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมาย อนึ่งปรากฎว่าผู้ตายถูกยิงด้วยปืนกลตายทันที จึงถือไม่ได้ว่ากระทำโดยทรมานหรือแสดงความโหดร้ายให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยุยงทหารและการนิรโทษกรรม: การกระทำนอกข่ายกฎหมายนิรโทษกรรมและขอบเขตสิทธิเสรีภาพทางการเมือง
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2500 จำเลยทำผิดฐานยุยงทหารให้ก่อการกำเริบโดยมุ่งหมายจะบ่อนให้วินัยและสมรรถภาพของกรมกองทหารเสื่อทราบลงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 115 จำเลยจะอ้างว่า การกระทำของจำเลยอยู่ในข่ายแห่ง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราช การแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2500 หาได้ไม่ เพราะ พ.ร.บ. ดังกล่าวนี้ใช้แก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหาร ราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยุยงทหารบ่อนวินัยไม่เข้าข่ายนิรโทษกรรม และการใช้สิทธิหาเสียงต้องไม่ผิดกฎหมาย
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2500. จำเลยทำผิดฐานยุยงทหารให้ก่อการกำเริบโดยมุ่งหมายจะบ่อนให้วินัยและสมรรถภาพของกรมกองทหารเสื่อมทรามลงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 115จำเลยจะอ้างว่าการกระทำของจำเลยอยู่ในข่ายแห่งพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายนพ.ศ.2500 หาได้ไม่เพราะ พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมดังกล่าวนี้ใช้แก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดเมื่อคดีความถึงที่สุด แม้มีการนิรโทษกรรมภายหลัง ก็ไม่ทำให้คำสั่งเดิมเป็นโมฆะ
โจทก์ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดฐานให้ทรัพย์สินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปรับ 200 บาท กับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 8 ปี คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัด ต่อมาคดีที่โจทก์ถูกฟ้องนั้นถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เช่นนี้ ต้องถือว่า คำสั่งจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ลบล้างมลทินโทษ พ.ศ.2500 ไม่มีผลทำให้คำสั่งของจำเลยที่สั่งไว้ก่อนแล้วเช่นนั้นเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนสมาชิกสภาจังหวัดชอบด้วยกฎหมายเมื่อคดีอาญาถึงที่สุด แม้มีการอ้างนิรโทษกรรม
โจทก์ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดฐานให้ทรัพย์สินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปรับ 200 บาทกับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 8 ปี คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัด ต่อมาคดีที่โจทก์ถูกฟ้องนั้นถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เช่นนี้ ต้องถือว่าคำสั่งจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติลบล้างมลทินโทษ พ.ศ.2500 ไม่มีผลทำให้คำสั่งของจำเลยที่สั่งไว้ก่อนแล้วเช่นนั้นเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511-1515/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครอง และความผิดฐานก่อการขบถ การยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่เข้าข่ายนิรโทษกรรม
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกสะสมกำลับเครื่องศาสราวุธ สมคบกันตระเตรียมการและพยายามก่อการขบถช่วยกันปกปิดความผิด ไม่นำความไปร้องเรียน และได้สมคบกันลงมือกระทำการขบถ ทั้งได้บรรยายรายละเอียดแห่งการกระทำของจำเลยไว้โดยชัดแจ้งแล้วย่อมเป็นฟ้องที่ถูกต้องตาม ป.ม.วิอาญามาตรา 158 โจทก์ไม่จำต้องกล่าวเจาะจงจำเลยเป็นคน ๆ ไปว่าผู้ใดกระทำอย่างใด ที่ไหน เวลาใดบ้าง
รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับเป็นหลักแห่งการปกครองพระราชอาณาจักรแต่ละฉบับย่อมมีบทบัญญัติแตกต่างกันราชประเพณีการปกครองย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐธรรมนูญนั้น การที่จำเลยนำเอารัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยฉบับอื่นมาใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครองพระราชอาณาจักร
รัฐบาลที่ได้ตั้งขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้เข้าครอบครองและบริหารราชการแผ่นดินด้วยความสำเร็จเด็ดขาดและรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติตลอดมา เป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปว่าเป็นรัฐบาลอันสมบูรณ์มาช้านานจนบัดนี้ ย่อมถือว่าเป็นรัฐบาลอันชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ใน พ.ศ.2492 หาได้ไช้แก่ผู้ที่จะนำรัฐธรรมนูญฉบับอื่นมาใช้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญา: หน้าที่การสืบพยานเมื่อจำเลยอ้างได้รับการนิรโทษกรรม
โจทก์ฟ้องว่าขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาและขอให้เพิ่มโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 72 จำเลยให้การรับว่าข้อเคยต้องโทษตามฟ้องนั้น จำเลยได้รับนิรโทษกรรมตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ศ. 2489 แล้ว ดังนี้เท่ากับเถียงว่าเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบ เมื่อโจทก์จำเลยต่างไม่สืบพยาน ศาลก็เพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
of 3