พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงของกลุ่มเกษตรกร ไม่ถือเป็นการค้าหากำไร
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยในประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงโจทก์ โดยให้เหตุผลว่าจำเลยนำข้อนำสืบที่นอกเหนือจากคำให้การของจำเลยมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ เป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ จำเลยฎีกาโต้แย้งยืนยันว่าจำเลยมิได้เป็นหนี้ค่าซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงโจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น โดยมิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยว่าชอบหรือไม่ชอบแต่อย่างใดจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามใบทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรและข้อบังคับของโจทก์ระบุวัตถุประสงค์ให้สมาชิกกลุ่มดำเนินการร่วมกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพประมง รวมทั้งการจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย และสำหรับบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่สมาชิกกลุ่มจะซื้อสิ่งของที่โจทก์จัดหามาขายให้สมาชิกต้องซื้อในนามของสมาชิกผู้ให้ความยินยอม ดังนี้ วัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงมิใช่วัตถุประสงค์ของการค้าหากำไร ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำการค้า คำฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสิ่งของที่โจทก์นำมาขายให้สมาชิกจึงไม่ใช่คำฟ้องที่พ่อค้าเรียกเอาค่าส่งมอบสินค้าจากลูกค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1) เดิม ที่มีกำหนดอายุความสองปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเครื่องหมายการค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง: ศาลแก้ไขคำพิพากษาข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าเนื่องจากคำฟ้องไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา108และศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108ดังกล่าวคงบรรยายฟ้องว่าจำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา108ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา110ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา108เท่านั้นกรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา108แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534ได้ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง การวางประกัน และสิทธิในการขอคืนเงินภาษีอากรเมื่อส่งออกคืน
โจทก์นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานจำนวน 7,197,397 ลิตรจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ไม่สามารถทำใบขนที่สมบูรณ์และปฏิบัติการเสียภาษีได้ทันที จึงทำเรื่องขอผ่อนผันนำน้ำมันออกไปก่อนและเสียภาษีอากรภายหลัง จำเลยอนุญาตโดยให้โจทก์วางเงินสดจำนวนหนึ่งไว้เพื่อเป็นประกันภาษีและอากรขาเข้าต่อมาปรากฏว่าน้ำมันที่โจทก์นำเข้ามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่ได้สูบถ่ายน้ำมันจากเรือที่นำเข้าขึ้นไปเก็บในถังบนบก และโจทก์ได้รับอนุมัติจากจำเลยให้ส่งน้ำมันดังกล่าวคืนไปยังผู้ขายที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้นำน้ำมันเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จตั้งแต่ขณะที่เรือนำน้ำมันดังกล่าวเข้ามาในเขตท่าที่จะสูบถ่ายน้ำมันจากเรือไปเก็บในถังบนบก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้จำเลย แต่เงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยดังกล่าวมิใช่เงินค่าภาษีอากรขาเข้า จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ทั้งมาตรา 112 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดว่าในการวางเงินประกันเช่นนี้ พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้โจทก์ผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อนดังนั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งของนั้นกลับออกไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้มาตรฐาน การวางประกันภาษี และสิทธิในการขอคืนเงินภาษีอากร
โจทก์นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน จำนวน 7,197,397 ลิตรจากประเทศสิงค์โปร์เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ไม่สามารถทำใบขนที่สมบูรณ์และปฏิบัติการเสียภาษีได้ทันที จึงทำเรื่องขอผ่อนผันนำน้ำมันออกไปก่อนและเสียภาษีอากรภายหลัง จำเลยอนุญาตโดยให้โจทก์วางเงินสดจำนวนหนึ่งไว้เพื่อเป็นประกันภาษีและอากรขาเข้าต่อมาปรากฏว่าน้ำมันที่โจทก์นำเข้ามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่ได้สูบถ่ายน้ำมันจากเรือที่นำเข้าขึ้นไปเก็บในถังบนบก และโจทก์ได้รับอนุญาติจากจำเลยให้ส่งน้ำมันคืนไปยังผู้ขายที่ประเทศสิงค์โปร์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้นำน้ำมันเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จตั้งแต่ขณะที่เรือนำน้ำมันเข้ามาในเขตท่าที่จะสูบถ่ายน้ำมันจากเรือไปเก็บในถังบนบก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้จำเลย แต่เงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยมิใช่เงินค่าภาษีอากรขาเข้า จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 ทั้งมาตรา 112 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดว่าในการวางเงินประกันเช่นนี้ พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้โจทก์ผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งของนั้นกลับออกไปตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำฝ่าฝืนคำสั่งนายกรัฐมนตรีและฐานลักทรัพย์ กรณีสูบถ่ายน้ำมันผิดสถานที่
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ข้อ 15(1)(3) ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลส่งแก่ผู้จำหน่ายน้ำมันหรือผู้ซื้อน้ำมัน ทำการสูบถ่ายน้ำมันเบนซินหรือดีเซลระหว่างทางนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว ต้องถือว่าประชาชนรวมทั้งจำเลยได้ทราบคำสั่งฉบับดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว ย่อมเป็นความผิดตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ. 2516 มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งแก้ไขภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
จำเลยกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 3/2529 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2529 ข้อ 20 ออกตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่งระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดนำก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ หรือถ่ายก๊าซออกจากถังก๊าซหุงต้มนอกสถานที่บรรจุก๊าซไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ๆ ทั้งสิ้น" อันเป็นคำสั่งที่ห้ามเด็ดขาดไม่มีข้อยกเว้นให้อนุญาตให้ทำได้ จึงเป็นความผิดอยู่ในตัวมิใช่อยู่ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ดังนั้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการถ่ายก๊าซ เครื่องสูบก๊าซ ท่อพักก๊าซ ถังเก็บก๊าซ และจ่ายก๊าซถังก๊าซหุงต้ม เศษเหล็กของถังก๊าซซึ่งระเบิดเสียหาย สายสูบก๊าซพร้อมหัวสูบ เครื่องชั่งน้ำหนัก แท่นรองถังก๊าซ และรถยนต์บรรทุกถังก๊าซ ของกลาง จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิดฝ่าฝืนคำสั่งนายกฯ และ พ.ร.ก. แก้ไขภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
จำเลยกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่3/2529 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2529 ข้อ 20ออกตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ก. แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่งระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดนำก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ หรือถ่ายก๊าซออกจากถังก๊าซหุงต้มนอกสถานที่บรรจุก๊าซ ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใด ๆ ทั้งสิ้น "อันเป็นคำสั่งที่ห้ามเด็ดขาดไม่มีข้อยกเว้นให้อนุญาตให้ทำได้จึงเป็นความผิดอยู่ในตัวมิใช่อยู่ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ดังนั้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการถ่ายก๊าซคือเครื่องสูบก๊าซ ท่อพักก๊าซ ถังเก็บก๊าซและจ่ายก๊าซ ถังก๊าซหุงต้มเศษเหล็กของถังก๊าซซึ่งระเบิดเสียหาย สายสูบก๊าซพร้อมหัวสูบ เครื่องชั่งน้ำหนัก แท่นรอง ถังก๊าซ และรถยนต์บรรทุกถังก๊าซ ของกลาง จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดตาม พ.ร.ก.น้ำมันเชื้อเพลิง: การริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยกระทำความผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 3/2529เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2529ข้อ 20 ออกตาม ความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่ง ระบุว่า"ห้ามมิให้ผู้ใดนำก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปใช้ เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ หรือถ่าย ก๊าซออกจากถังก๊าซหุงต้มนอกสถานที่บรรจุก๊าซไม่ว่าจะกระทำด้วย วิธีใด ๆ ทั้งสิ้น" อันเป็นคำสั่งที่ห้ามเด็ดขาดไม่มีข้อยกเว้นให้อนุญาตให้ทำได้ จึงเป็นความผิดอยู่ในตัวมิใช่อยู่ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ดังนั้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการถ่าย ก๊าซ เครื่องสูบก๊าซ ท่อพักก๊าซ ถัง เก็บก๊าซ และจ่ายก๊าซถังก๊าซหุงต้ม เศษเหล็กของถังก๊าซซึ่ง ระเบิดเสียหาย สายสูบก๊าซพร้อมหัวสูบ เครื่องชั่งน้ำหนัก แท่นรอง ถังก๊าซ และรถยนต์บรรทุกถังก๊าซ ของกลาง จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือสำหรับสินค้าเคมีเหลวที่เข้าข่ายเป็น 'น้ำมันเชื้อเพลิง' ตามประกาศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยได้กำหนดให้สินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้นำเข้านำเรือไปจอดขนถ่ายสินค้านอกเขตท่าของจำเลยได้และยกเว้นให้ผู้นำเข้าไม่ต้องเสียค่าภาระหรือค่าธรรมเนียมขนขึ้นท่า ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าสินค้าเคมีเหลวที่โจทก์นำเข้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามความหมายของคำวิเคราะห์ศัพย์คำว่า น้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474มาตรา 3 และสินค้าเคมีเหลวดังกล่าวก็มีชื่อตรงกันกับที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474 สินค้าเคมีเหลวของโจทก์จึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและได้รับยกเว้นการเรียกเก็บค่าภาระหรือค่าธรรมเนียมขนขึ้นท่าตามที่จำเลยได้กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นค่าภาระท่าเรือ: สินค้าเคมีเหลวเข้าข่าย 'น้ำมันเชื้อเพลิง' ตามกฎหมาย, จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยได้กำหนดให้สินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้นำเข้านำเรือไปจอดขนถ่ายสินค้านอกเขตท่าของจำเลยได้และยกเว้นให้ผู้นำเข้าไม่ต้องเสียค่าภาระหรือค่าธรรมเนียมขนขึ้นท่า ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าสินค้าเคมีเหลวที่โจทก์นำเข้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามความหมายของคำวิเคราะห์ศัพท์คำว่า น้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 3และสินค้าเคมีเหลวดังกล่าวก็มีชื่อตรงกันกับที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชนิดของเหลวต่าง ๆ ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 สินค้าเคมีเหลวของโจทก์จึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและได้รับยกเว้นการเรียกเก็บค่าภาระหรือค่าธรรมเนียมขนขึ้นท่าตามที่จำเลยได้กำหนดไว้