พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนอากรกรณีสินค้าส่งออกต้องเป็นไปตามหลักฐานเดิมที่นำเข้า การสุ่มตรวจวัดน้ำหนัก/ความยาวต้องสมเหตุสมผล
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 มาตรา 19 (ง) กำหนดเวลาเฉพาะการขอคืนเงินอากรว่าจะต้องขอภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไป มิได้มีบทบัญญัติว่าจะต้องคืนเมื่อใดหรือในกรณีที่จะไม่คืน จะต้องแจ้งให้ผู้ขอคืนทราบเมื่อใด จึงต้องพิจารณาตามการที่จะพึงปฏิบัติโดยปกติธรรมดาคือจะต้องคืนหรือแจ้งให้ผู้ขอทราบว่าคืนให้ไม่ได้ภายในเวลาอันสมควรเมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 6 ปีเศษ และเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยยังอ้างว่าอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะคืนให้หรือไม่อีก โดยไม่มีกำหนดเวลาว่าการพิจารณานั้นจะสิ้นสุดเมื่อใด เป็นการบ่ายเบี่ยงเสมือนไม่รับรู้สิทธิของโจทก์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินอากรให้โจทก์ตามที่ขอก็คือน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อหลาของสินค้าผ้าที่โจทก์นำเข้าและส่งออกนั้นต่างกัน แต่การคำนวณหาน้ำหนักและความยาวของผ้าทั้งตอนนำเข้าและส่งออก ได้มาโดยวิธีคำนวณเอาจากข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง สินค้าผ้าดังกล่าวมีความยาวต่อม้วนตั้งแต่ 21 - 188 หลา มีสีต่างกัน 10 - 11 สี เมื่อความยาวของผ้าแต่ละม้วนแตกต่างกันอย่างมากและน้ำหนักของผ้าเป็นกรัมต่อหลาจะแตกต่างกันไปตามสีของผ้า การคำนวณโดยวิธีสุ่มตัวอย่างย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทั้งน้ำหนักเฉลี่ยต่อหลาที่ว่าต่างกันนั้น ต่างกันไม่ถึง 0.1 กิโลกรัมต่อหนึ่งหลา จะฟังเอาข้อแตกต่างที่ได้มาโดยคลาดเคลื่อนต่อความจริงและแตกต่างเพียงเล็กน้อยมาฟังว่าเป็นสินค้าคนละรายไม่ได้ ในชั้นตรวจปล่อยสินค้าพิพาท หากเป็นสินค้าคนละรายกับที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานของจำเลยน่าจะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับกรณีเช่นนั้น แต่เจ้าพนักงานของจำเลยหาได้ดำเนินการใด ๆ คงตรวจปล่อยสินค้าพิพาทออกไป เพิ่งยกขึ้นอ้างเมื่อโจทก์ขอคืนเงินค่าภาษีอากร ข้ออ้างของจำเลยข้างต้นจึงรับฟังไม่ได้
ข้อที่จำเลยอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินอากรให้โจทก์ตามที่ขอก็คือน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อหลาของสินค้าผ้าที่โจทก์นำเข้าและส่งออกนั้นต่างกัน แต่การคำนวณหาน้ำหนักและความยาวของผ้าทั้งตอนนำเข้าและส่งออก ได้มาโดยวิธีคำนวณเอาจากข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง สินค้าผ้าดังกล่าวมีความยาวต่อม้วนตั้งแต่ 21 - 188 หลา มีสีต่างกัน 10 - 11 สี เมื่อความยาวของผ้าแต่ละม้วนแตกต่างกันอย่างมากและน้ำหนักของผ้าเป็นกรัมต่อหลาจะแตกต่างกันไปตามสีของผ้า การคำนวณโดยวิธีสุ่มตัวอย่างย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทั้งน้ำหนักเฉลี่ยต่อหลาที่ว่าต่างกันนั้น ต่างกันไม่ถึง 0.1 กิโลกรัมต่อหนึ่งหลา จะฟังเอาข้อแตกต่างที่ได้มาโดยคลาดเคลื่อนต่อความจริงและแตกต่างเพียงเล็กน้อยมาฟังว่าเป็นสินค้าคนละรายไม่ได้ ในชั้นตรวจปล่อยสินค้าพิพาท หากเป็นสินค้าคนละรายกับที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานของจำเลยน่าจะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับกรณีเช่นนั้น แต่เจ้าพนักงานของจำเลยหาได้ดำเนินการใด ๆ คงตรวจปล่อยสินค้าพิพาทออกไป เพิ่งยกขึ้นอ้างเมื่อโจทก์ขอคืนเงินค่าภาษีอากร ข้ออ้างของจำเลยข้างต้นจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากความแตกต่างของน้ำหนักข้าวโพด: การคำนวณความชื้นและสภาพสินค้า
แม้หลักฐานทางบัญชีของโจทก์จะปรากฏว่าจำนวนน้ำหนักข้าวโพดคงเหลือในรอบระยะเวลาบัญชีปีที่พิพาทกันขาดจำนวนไปเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่รับซื้อเข้ามาและขายออกไป แต่ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์ขายข้าวโพดตามจำนวนน้ำหนักที่ขาดหายไปโดยไม่ลงบัญชีเพราะข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่รู้กันอยู่ทั่วไปโดยสภาพของธรรมชาติว่าน้ำหนักจะเปลี่ยนแปลงไปตามความชื้นที่มีอยู่ในตัว ถ้ามีความชื้นมากน้ำหนักก็จะมากขึ้น ถ้ามีความชื้นน้อยน้ำหนักก็จะลดไปตามส่วน ทั้งก่อนโจทก์ส่งข้าวโพดไปขายต่างประเทศจะต้องอบให้เหลือความชื้นไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด น้ำหนักย่อมลดลงไปอีก การคำนวณน้ำหนักจึงมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้มากเพราะความชื้นแตกต่างกัน จำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปจากบัญชีมีเพียง 1,091.140 ตัน แต่โจทก์ส่งข้าวโพดออกไปต่างประเทศถึง700,000 เมตริกตันเศษ จึงเห็นได้ว่าจำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปดังกล่าวเกิดจากการคำนวณน้ำหนักความชื้นที่เปลี่ยนแปลงไปผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามสภาพของสินค้าประเภทนี้ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปมาถือว่าโจทก์ขายไปโดยไม่ลงบัญชี จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักข้าวโพดตามความชื้น และความจำเป็นในการมีหลักฐานการขาย
โจทก์รับซื้อข้าวโพดจากพ่อค้าและสหกรณ์ของชาวไร่ซึ่งมีความชื้น 17-18 เปอร์เซ็นต์แต่โจทก์จะคิดหักน้ำหนักข้าวโพดโดยถือน้ำหนักในระดับความชื้น 14.7 เปอร์เซ็นต์ โดยคิดตามสูตรที่พ่อค้าข้าวโพดในประเทศไทยยอมรับใช้กันทั่วไปเมื่อโจทก์รับซื้อแล้วจะนำไปอบให้มีความชื้นไม่เกิน 14.5 เปอร์เซ็นต์ย่อมทำให้น้ำหนักลดลงไปอีก ในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2515ถึง 1516 โจทก์ซื้อข้าวโพดรวม 147,493,815 ตัน ยอดสินค้าข้าวโพดคงเหลือยกมา 31,616,977 ต้น รวมเป็นสินค้ามีไว้ขายระหว่างปี 179,100.792 ตัน ยอดขายในระหว่างปีจำนวน 162,259.859 ต้น สินค้าคงเหลือปลายปีควรจะเป็น 16,840.933 ตัน แต่ยอดคงเหลือ15,749,793 ตัน น้ำหนักข้าวโพดขาดหายไปจำนวน 1,091.140 ตัน เมื่อเทียบส่วนน้ำหนักที่ขาดไปไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์น้อยกว่าขั้นต่ำของน้ำหนักที่ลดซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการเกษตรว่า เมล็ดข้าวโพดที่เก็บไว้นานน้ำหนักจะละระหว่าง 193 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ยซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของเมล็ดข้าวโพด ประกอบกับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ออกเมื่อปี 2515 ห้ามมิให้โจทก์จำหน่ายข้าวโพดในประเทศ การขายข้าวโพดออกไปต่างประเทศมีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งในส่วนราชการและเอกชนเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากจึงเป็นการยากที่โจทก์จะละเว้นไม่ลงบัญชี จำนวนน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดไปจากบัญชี 1,091.140 ต้น เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวโพดที่ส่งออกไปต่างประเทศแต่ละครั้งมีน้ำหนักสุทธิ 494,210 เมตริกตัน และ237,505 เมตริตัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะส่งออกไปเพียงประมาณ1,000 ต้นเศษ โดยไม่ลงหลักฐานการขายไปต่างประเทศ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปเป็นการขายโดยไม่ลงบัญชีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีในส่วนข้าวโพดที่ขาดหายไปย่อมไม่ถูกต้อง เพราะน้ำหนักข้าวโพดที่ขาดหายไปเนื่องจากความชื้น เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นกับสินค้าประเภทเมล็ดข้าวโพด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับจากยาสูบที่ไม่มีแสตมป์: ปรับตามน้ำหนักทั้งหมด ไม่หัก 500 กรัม
จำเลยมียาสูบต่างประเทศหนัก 1,920 กรัม ที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครอง ยาสูบทั้ง 1,920 กรัมเป็นเหตุให้เกิดความผิด มิใช่เฉพาะจำนวนที่เกิน 500 กรัมเท่านั้น จึงต้องปรับจำเลยตามจำนวนน้ำหนักของยาสูบทั้งหมด โดยไม่ต้องหักจำนวนยาสูบ 500 กรัมที่พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 19 วรรคแรกให้มีไว้ในครอบครองได้ออกก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับ พ.ร.บ.ยาสูบ: ปรับตามน้ำหนักยาสูบทั้งหมด ไม่หัก 500 กรัม
ผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2519 มาตรา 19 วรรคแรกโดยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่า 500 กรัมซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 49 คือปรับสิบเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดนั้น ความผิดตามมาตรา 19 วรรคแรก เกิดจากการมียาสูบทั้งหมดไว้ในครอบครอง มิใช่เฉพาะจำนวนที่เกิน 500 กรัม จึงต้องปรับจำเลยตามจำนวนน้ำหนักของยาสูบทั้งหมดที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายและมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบมิใช่ปรับเฉพาะตามจำนวนน้ำหนักของยาสูบที่เกิน 500 กรัมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำให้การ: หลักฐานรายงานเจ้าพนักงานศาลมีน้ำหนักกว่าคำกล่าวอ้างที่ไม่โต้แย้ง
การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายหลังวันที่เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายระบุไว้ในรายงาน โดยมิได้โต้แย้งคัดค้านหรือให้เหตุผลว่ารายงานดังกล่าวขัดต่อความเป็นจริงหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดนั้นเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ปราศจากเหตุผลอ้างอิงที่อาจจะหักล้างหลักฐานรายงานของเจ้าพนักงานศาลได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยเพื่อรับคำให้การไว้พิจารณาต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2853/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำเนาบัญชีผู้ถือหุ้นที่ยื่นต่อทะเบียนมีน้ำหนักเป็นพยานหลักฐานตามกฎหมาย
สำเนาบัญชีผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญของบริษัทจำเลยที่ยื่นต่อ นายทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทตามบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1139 วรรคสองเมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่า ไม่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น อย่างไร จำเลย เพียงแต่อ้างว่าสำเนาบัญชีผู้ถือหุ้นดังกล่าว อาจผิดพลาดเพราะ กรรมการผู้จัดการคนก่อนเป็นผู้ทำโดยไม่รู้ ภาษาไทยซึ่งก็เป็นแต่ คำกล่าวอ้างลอยๆหาได้มี พยานหลักฐานสนับสนุนไม่ จึงต้องฟังว่า เป็นสำเนาอันถูกต้องของสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย ย่อมได้รับ การ สันนิษฐานว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1141 เช่นเดียวกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเบิกความที่เป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหา ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้
คำเบิกความของ ต. พยานโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยเคยมาขอร้องให้ ต. เป็นพยานให้และช่วยปกปิดไว้เป็นความลับนั้น ปรากฏจากคำเบิกความของ ต. เองว่า ต. ถูกกำนัน ก. เรียกตัวไปสอบถามว่าเป็นคนฆ่า ป. หรือไม่ ต. ปฏิเสธว่าไม่ได้ฆ่า กำนัน ก. เอาจดหมายฉบับหนึ่งมาให้ ต.ดูแล้วพูดว่าถ้าไม่รับจะส่งตัวไปอำเภอ ต. จึงเล่าเรื่องให้ฟังและบอกแก่สารวัตรใหญ่ในวันรุ่งขึ้นว่าจำเลยเป็นคนฆ่าป.คำเบิกความของ ต. ดังกล่าวแล้วจึงมีลักษณะเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาในคดี ไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำบอกเล่าผู้ตายก่อนเสียชีวิต ขาดน้ำหนักหากไม่แสดงสติสัมปชัญญะ
คำบอกเล่าของผู้ตายระบุชื่อผู้กระทำผิดต่อผู้ตาย ซึ่งการนำสืบไม่ปรากฏว่าขณะนั้นผู้ตายได้แสดงว่ารู้สึกตัวดีอยู่ว่าตนกำลังจะตายนั้น ขาดน้ำหนักให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดไม่มีน้ำหนักเพียงพอในการลงโทษจำเลย จำเลยต้องมีหลักฐานอื่นประกอบ
ลำพังแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันเพียงอย่างเดียวนั้นไม่มีน้ำหนักให้รับฟังลงโทษจำเลยได้