คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บทมาตรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางคดีเครื่องหมายการค้าปลอม: ศาลอุทธรณ์ยืนยันริบ แม้แก้บทมาตรา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 และ ป.อ.มาตรา 32, 33 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกในส่วนที่ศาลชั้นต้นบังคับจำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 30 และริบของกลางตาม ป.อ.มาตรา 32 เสีย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องโดยมิได้พิพากษาให้ยกการริบของกลาง และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 และ ป.อ.มาตรา 33 อยู่ เนื่องจากเสื้อและกางเกงที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางเป็นสินค้าที่จำเลยมีไว้จำหน่ายอันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และป้ายยี่ห้อกับริบบิ้นของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำขอให้เรื่องการริบของกลาง ของกลางคดีนี้จึงยังเป็นของกลางที่ศาลสั่งริบอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9081/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษทางอาญา: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขบทมาตราที่ศาลล่างใช้ผิดได้ แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามบทมาตราเดิม
จำเลยขับรถจักรยานยนต์โดยไม่มีใบอนุญาต แต่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 62, 43 (2)ซึ่งไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเป็นมาตรา 42, 43 (6) และแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 43 (2) ก็ตาม เป็นเพียงแต่โจทก์อ้างบทมาตราผิดไป ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาที่ไม่ระบุวรรคของมาตราที่อ้างถึง ศาลมีอำนาจปรับบทมาตราเองได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)บัญญัติเพียงแต่ให้อ้างบทมาตราซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดก็เพียงพอแล้วหาจำต้องระบุวรรคด้วยไม่เพราะการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดวรรคใดเป็นหน้าที่ของศาลปรับบทมาตราและวรรคให้ถูกต้องตามฟ้องและข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6290/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราและการกระทำความรุนแรงทางเพศ ศาลแก้ไขบทมาตราที่ใช้ลงโทษให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก,277 ทวิ,297, 364,365,80 การกระทำ ของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงลงโทษ ฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราซึ่งเป็นบทหนัก และศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนโดยไม่ได้ระบุว่าลงโทษตามบทมาตราใด เมื่อ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องโดยเจตนาแท้จริง เพื่อข่มขืนกระทำชำเราเป็นสำคัญเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษาก็เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคแรก ประกอบมาตรา 80,277 ทวิ(1),297,364,365(3)เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษ ตามมาตรา 276 วรรคแรก ประกอบมาตรา 80,277 ทวิ(1) ซึ่งเป็น บทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีป่าไม้: การขอลงโทษตามบทมาตราที่มิได้ระบุในคำขอท้ายฟ้อง และการแก้ไขโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีไม้ที่ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองแต่คำขอท้ายฟ้องมิได้อ้างมาตรา 69 แห่ง พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 อันบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษในข้อหานั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48,73วรรคสอง อันเป็นการลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดเมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และฎีกาขอให้ลงโทษเพิ่มขึ้น ศาลฎีกาจึงลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา แม้ท้ายฟ้องอ้างมาตรา 288 ศาลก็ลงโทษตามมาตรา 290 ได้ หากข้อเท็จจริงสอดคล้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยกับพวกที่ร่วมกันทำร้ายผู้ตาย จนได้รับบาดเจ็บและเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลยกับพวก และท้ายฟ้องโจทก์อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ดังนี้เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 แล้ว การกล่าวว่าผู้ตายตายสมดังเจตนาของจำเลยย่อมแปลได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายนั่นเองหาจำต้องกล่าวซ้ำในฟ้องอีกว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตายอีกไม่ แม้ตามฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 แต่ถ้าศาลเห็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290ซึ่งเป็นฐานความผิดที่ถูกต้องได้ กรณีเป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องผิดฐานความผิด ศาลไม่อาจลงโทษเกินกว่าที่ฟ้องได้ แม้จะอ้างบทมาตรานั้นในคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการขายให้เช่าหรือเสนอขายเสนอให้เช่าหรือนำออกโฆษณาซึ่งภาพยนตร์วีดีโอเทปเพื่อการค้าโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2521มาตรา27และ44วรรคสองซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดตามมาตรา24,25และ43วรรคสองกล่าวคือความผิดตามมาตรา27และ44วรรคสองเป็นการกระทำแก่งานที่ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยขายให้เช่าให้เช่าซื้อหรือเสนอขายเสนอให้เช่าหรือเสนอให้เช่าซื้อนำออกโฆษณาแจกจ่ายนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรแต่ความผิดตามมาตรา24,25และ43วรรคสองเป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือนำออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา13เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยตามมาตรา24,25และ43วรรคสองแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ: ข้อจำกัดการริบของกลาง และการแก้ไขบทมาตราที่อ้าง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน ปรับ 5,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี และริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า ของกลางในคดีนี้เดิมจำเลยมีไว้ในครอบครองจำนวนอย่างละ 2 ตัว ซึ่งชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาสัตว์ได้ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติจนมีจำนวนตามฟ้อง ลูกของสัตว์ป่าดังกล่าวหาใช่สัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2503 ไม่ จึงมิใช่ทรัพย์ที่จะริบได้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ฟังได้ตามคำรับสารภาพของจำเลยแล้วว่าจำเลยมีสัตว์ป่าคุ้มครองในจำนวนทั้งหมดตามฟ้องไว้ในครอบครอง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดอายุความฟ้องอาญา ต้องพิจารณาจากอัตราโทษตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง ไม่ใช่โทษที่ศาลตัดสิน
อัตราโทษที่จะนำมาพิจารณากำหนดอายุความฟ้องผู้กระทำผิดตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 นั้น ถืออัตราโทษสูงสุดสำหรับความผิดที่บัญญัติไว้ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้องเป็นหลักมิใช่ถือตามโทษที่ศาลกำหนดในคำพิพากษาลงแก่จำเลย แม้ศาลฟังว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีจะต้องฟ้องภายในอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิตกำหนดอายุความยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(1) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 6ธันวาคม 2517 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2532 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การพิพากษาลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจพบว่าผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์โดยไม่มีใบอนุญาต อันเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับข่มขืนใจให้ผู้เสียหายมอบเงินเพื่อละเว้นการจับกุม อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าว เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 ในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการแกล้งจับโดยผู้เสียหายไม่มีความผิดแล้วเรียกรับเงิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 149 ดังนี้ ถือว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมแล้วและการที่จะถือว่าเป็นเรื่องอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดหรือไม่ เป็นเรื่องพิจารณาจากฟ้อง คดีนี้ ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างบทมาตราความผิดตามบทเฉพาะมาตรา 148 แต่เมื่อปรากฏว่าตามคำบรรยายฟ้องและข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทเฉพาะมาตรา 149 จึงถือว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ซึ่งเมื่อเป็นความผิดตามบทเฉพาะแล้วก็ไม่ต้องปรับบทมาตรา 157 ที่เป็นบททั่วไปอีก
of 6