พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญาที่ถูกต้องตามกฎหมายป่าไม้และป่าสงวนแห่งชาติ โดยพิจารณาบทหนักและอำนาจแก้ไขโทษของศาล
ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 31 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทห้าหมื่นบาท แต่โทษฐานทำไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2525มาตรา 4 วางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท โทษจำคุกที่จำเลยทั้งแปดจะได้รับตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวสูงถึงยี่สิบปีจึงเป็นโทษ ที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ซึ่งมีโทษขั้นสูงเพียงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงว่าโทษขั้นต่ำ ของกฎหมายใดจะสูงกว่ากัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยทั้งแปดมีความผิดฐานแผ้วถางป่าและทำไม้หวงห้าม โดยไม่รับอนุญาต แต่ให้ลงโทษฐานแผ้วถางป่าตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนัก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความ ฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และเมื่อศาลฎีกา เห็นอีกว่า ที่ศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ในข้อหาดังกล่าวคนละ 8 ปีนั้นหนักเกินไปก็กำหนดโทษ ให้น้อยลงอีกได้ ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ที่มิได้ฎีกาได้ด้วยเพราะ เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 สำหรับข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี เช่นเดิม แม้ข้อหาดังกล่าวนี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดมานั้นหนักเกินไป ก็มีอำนาจแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไข กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2488 มาตรา 69,72 ตรีโดยไม่ระบุวรรค ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยระบุวรรคให้ถูกต้องได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีอาญาไม่ผูกพันในคดีแพ่ง และการลงโทษบทหนักในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ ขอให้ลงโทษจำเลยกับให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย เฉพาะคดีส่วนแพ่งในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานี้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพในคดีส่วนอาญาเท่านั้น หาได้มีผลเป็นการยอมรับว่าจำเลยได้เอาเงินจำนวน 9,100 บาท ของผู้ตายอันเป็นข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งด้วยไม่ จำเลยจะต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งมากน้อยเพียงใดนั้นก็ต้องพิจารณาตามกฎหมายในทางแพ่งและความเสียหายที่จำเลยก่อขึ้นจริง เมื่อปรากฏตามบันทึกคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนและบันทึกการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพว่าจำเลยกับพวกค้นเอาเงิน200 บาท ของผู้ตายจากกระจาดเก็บเงินไปเช่นนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย
โทษจำคุก 6 เดือน เมื่อลดโทษหนึ่งในสามแล้ว คงเหลือโทษจำคุก 4 เดือนมิใช่ 3 เดือน และเมื่อจำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง และวรรคสาม เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท โทษตามมาตรา 72 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถือว่าเป็นบทที่มีโทษหนักกว่ามาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท การลงโทษปรับตามมาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษเบากว่าจึงเป็นการไม่ชอบ
โทษจำคุก 6 เดือน เมื่อลดโทษหนึ่งในสามแล้ว คงเหลือโทษจำคุก 4 เดือนมิใช่ 3 เดือน และเมื่อจำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง และวรรคสาม เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท โทษตามมาตรา 72 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถือว่าเป็นบทที่มีโทษหนักกว่ามาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท การลงโทษปรับตามมาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษเบากว่าจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา, การรับสารภาพ, และการแก้ไขโทษบทอาวุธปืน
พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จำเลยเอาเงินของผู้ตายไปจำนวน 9,100 บาท แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพในคดีส่วนอาญาเท่านั้น หาใช่มีผลเป็นการยอมรับว่าจำเลยได้เอาเงินจำนวน9,100 บาท ของผู้ตายไปอันเป็นข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งด้วยไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 จำเลยจะต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องพิจารณาตามกฎหมายในทางแพ่งและตามความเสียหายที่จำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นจริง เมื่อปรากฏตามบันทึกคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวน และบันทึกการชี้ ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพได้ความว่าจำเลยกับพวกค้นเอาเงินจำนวน 200 บาท ของผู้ตายจากกระจาด เก็บเงินไป เช่นนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถือว่าเป็นบทที่มีโทษหนักกว่ามาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปรียบเทียบอัตราโทษระหว่าง พ.ร.บ.ป่าไม้ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ: บทหนักกว่าคือ พ.ร.บ.ป่าไม้
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองมีอัตราโทษขั้นสูงจำคุกยี่สิบปี เป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอม พิจารณาความผิดกรรมเดียวและบทหนัก
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า การที่จำเลยปลอมขึ้นซึ่ง ดวงตราของ กระทรวงการต่างประเทศ แล้วนำไปประทับในหนังสือเดินทางให้เกิดรอยตรา ที่ประทับเหมือนของจริง จึงเป็นการปลอมหนังสือเดินทางสำเร็จบริบูรณ์สมเจตนาของจำเลยแล้ว การกระทำของจำเลยส่วนนี้จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อ กฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 265 กับมาตรา 251 ซึ่ง เป็นบทหนักกระทงหนึ่ง ส่วนการที่จำเลยนำหนังสือเดินทางปลอมซึ่ง มีรอยตรา ปลอมประทับดังกล่าวไปใช้ แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อตรวจ ประทับตราเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น การกระทำของจำเลยส่วนหลังนี้จึงเป็นการใช้เอกสารปลอมและรอยตรา ปลอมในขณะเดียว กัน เป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 265 และมาตรา 252 ประกอบด้วย มาตรา 251 ต้องลงโทษตาม มาตรา 252 ซึ่ง เป็นบทหนัก แต่ ตาม มาตรา 263 กำหนดว่าผู้กระทำผิดตาม มาตรา 251 หากกระทำผิดตาม มาตราอื่นในหมวดนี้อันเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดจากการกระทำความผิดนั้นด้วย ให้ลงโทษตาม มาตรา251 เพียงกระทงเดียว ดังนี้ จึงต้อง ลงโทษจำเลยตาม มาตรา 251 ประกอบด้วย มาตรา 263 เพียงกระทงเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา: การลงโทษตามบทหนักและข้อจำกัดการกระทำความผิดหลายบท
จำเลยเป็นประธานสหภาพแรงงานยาสูบ เป็นผู้เขียนบทความลงในเอกสารสหภาพแรงงานยาสูบ โฆษณาเผยแพร่ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้อำนวยการยาสูบว่า โจทก์เป็นผู้อำนวยการยาสูบที่ไม่มีประสิทธิภาพ ขาดสติปัญญาความสามารถในการบริหารงาน เป็นผู้มีเจตนาทำลายศีลธรรมอันดีของพนักงานยาสูบ สร้างสถานการณ์สับสนวุ่นวายเพื่อให้เกิดความแตกแยกในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ทำลายระเบียบแบบแผนขั้นตอนในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม สมรู้ร่วมคิดกับสมุนเลวร้ายให้พนักงานบรรจุใหม่กระโดดข้ามหัวหน้างานเก่า สนับสนุนพวกที่ได้รับโทษทางวินัยขึ้นมาเสวยอำนาจเพื่อป้องกันการซัดทอดคอร์รัปชันให้พ้นตัว ไม่มีจิตสำนึกเห็นความสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สหภาพแรงงานยาสูบกำลังถูกอำนาจป่าเถื่อนกลั่นแกล้งข่มขู่ลิดรอนอำนาจและหาทางกลั่นแกล้งพนักงานยาสูบบกพร่องในหน้าที่ ปล่อยให้ผลประโยชน์ของโรงงานยาสูบรั่วไหลอยู่ในมือพ่อค้า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม แต่เป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
กรณีที่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ได้กระทำโดยการโฆษณา ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้เหตุที่ต้องรับโทษหนักขึ้นไว้ในมาตรา 328 นั้น เป็นการลำดับการลงโทษเป็นชั้น ๆ ไปตามลักษณะฉกรรจ์ มิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายบทตามมาตรา 90
กรณีที่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ได้กระทำโดยการโฆษณา ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้เหตุที่ต้องรับโทษหนักขึ้นไว้ในมาตรา 328 นั้น เป็นการลำดับการลงโทษเป็นชั้น ๆ ไปตามลักษณะฉกรรจ์ มิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายบทตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: การลงโทษตามบทหนัก มาตรา 328 มิใช่ความผิดหลายบท
จำเลยเป็นประธานสหภาพแรงงานยาสูบ เป็นผู้เขียนบทความลงในเอกสารสหภาพแรงงานยาสูบ โฆษณาเผยแพร่ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้อำนวยการยาสูบว่า โจทก์เป็นผู้อำนวยการยาสูบที่ไม่มีประสิทธิภาพ ขาดสติปัญญาความสามารถในการบริหารงาน เป็นผู้มีเจตนาทำลายศีลธรรมอันดีของพนักงานยาสูบ สร้างสถานการณ์สับสนวุ่นวายเพื่อให้เกิดความแตกแยกในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ก้าวก่ายหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาทำลายระเบียบแบบแผนขั้นตอนในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมสมรู้ร่วมคิดกับสมุนเลวร้ายให้พนักงานบรรจุใหม่กระโดดข้ามหัวหน้างานเก่าสนับสนุนพวกที่ได้รับโทษทางวินัยขึ้นมาเสวยอำนาจเพื่อป้องกันการซัดทอดคอร์รัปชั่น ให้พ้นตัว ไม่มีจิตสำนึกเห็นความสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สหภาพแรงงานยาสูบกำลังถูกอำนาจป่าเถื่อนกลั่นแกล้งข่มขู่ลิดรอนอำนาจและหาทางกลั่นแกล้งพนักงานยาสูบ บกพร่องในหน้าที่ ปล่อยให้ผลประโยชน์ของโรงงานยาสูบรั่วไหลอยู่ในมือพ่อค้า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม แต่เป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง กรณีที่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ได้กระทำโดยการโฆษณา ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้เหตุที่ต้องรับโทษหนักขึ้นไว้ในมาตรา 328 นั้น เป็นการลำดับการลงโทษเป็นขั้น ๆตามลักษณะฉกรรจ์ มิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายบท ตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีและดำรงชีพจากรายได้จากการค้าประเวณีเป็นกรรมเดียว ใช้บทหนักลงโทษได้
ข้อหาความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้จัดการสถานการค้าประเวณีและความผิดฐานดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณีของจำเลยเองนั้นเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา แต่การปรับบทลงโทษเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานค้าประเวณีและดำรงชีพจากรายได้จากการค้าประเวณี: การใช้บทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
ข้อหาความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้จัดการสถานการค้าประเวณีและความผิดฐานดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณีของจำเลยเองนั้นเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา แต่การปรับบทลงโทษเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าเพื่อชิงทรัพย์: ความผิดฐานฆ่าเพื่อประสงค์เอาทรัพย์ ต้องลงโทษบทหนักตาม ม.289(7)
จำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิง และจำเลยที่ 2 ใช้มีดฟัน ม.ผู้ตายถึงแก่ความตาย แล้วเอาเงินสดจากตัวผู้ตายพากันหลบหนีไป แม้จำเลยทั้งสองจะกระทำไปโดยประสงค์จะชิงทรัพย์ของผู้ตายก็ตามแต่ในขณะเดียวกันจำเลยทั้งสองก็มีเจตนาฆ่าผู้ตายด้วย จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้ตายเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่จำเลยทั้งสองได้กระทำการชิงทรัพย์ เพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองได้กระทำไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(7) อีกบทหนึ่งและต้องใช้กฎหมายบทนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยทั้งสองตามมาตรา 90.