คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บรรณาธิการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความทำให้เสียชื่อเสียง และขอบเขตความรับผิดของบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ระบุชื่อและนามสกุล ทั้งลงรูปโจทก์ในคอลัมน์ซึ่งมีความหมายว่า โจทก์ประพฤติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม การที่โจทก์ผ่านการสัมมนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารไม่ได้ช่วยดัดสันดานและนิสัยให้กลับตัวกลับใจมีคุณธรรม โจทก์มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เพราะโจทก์มีนิสัยชอบวางอำนาจบาตรใหญ่ มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย และใช้อำนาจในทางที่ผิด อำนาจฝ่ายต่ำจึงเข้าครอบงำ ถ้าประเทศมีข้าราชการระดับนักบริหารอย่างโจทก์ บ้านเมืองจะไปไม่รอด ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการเสนอข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของหนังสือพิมพ์จะพึงกระทำหรือเป็นการลงข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการที่ต้องรับผิดเป็นตัวการต้องเป็นบรรณาธิการซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์เท่านั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการอำนวยการมีหน้าที่ทางด้านการจัดการและธุรการทั่วไป ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงโฆษณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2973/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในข้อความหมิ่นประมาท แม้จะไม่ได้อยู่ ณ ที่เกิดเหตุ
ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 48 เห็นได้ชัดว่าเจตนารมย์ของกฎหมายมุ่งให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยย่อมมีความผิดในฐานะเป็นตัวการ จะอ้างว่าไม่อยู่ ไม่รู้เห็น ปัดความรับผิดไปให้รองบรรณาธิการนั้นหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2973/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในข้อความหมิ่นประมาท แม้จะไม่อยู่ในขณะเกิดเหตุ
ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 48 เห็นได้ชัดว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยย่อมมีความผิดในฐานะเป็นตัวการ จะอ้างว่าไม่อยู่ ไม่รู้เห็น ปัดความรับผิดไปให้รองบรรณาธิการนั้นหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อบทความหมิ่นประมาท การตีความเจตนา และขอบเขตความรับผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคแรก บัญญัติว่า "เมื่อมีความผิดนอกจากที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์ นอกจากหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์ ซึ่งตั้งใจให้โฆษณาบทประพันธ์นั้นต้องรับผิดเป็นตัวการ ถ้าผู้ประพันธ์ไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้ลงโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการ" วรรค 2 บัญญัติว่า "ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์ และบรรณาธิการ ต้องรับผิดเป็นตัวการ และถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการด้วย" เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์และผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ ซึ่งลงบทความตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นตัวการตามวรรค 2
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 เป็นกฎหมายพิเศษ ในมาตรา 4 ได้บัญญัติให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์ หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการพิมพ์บทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย หากบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นที่พิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นความผิดตามมาตรา 48 จึงบัญญัติให้บรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ ดังนั้น จำเลยจะได้สมคบร่วมรู้กับ ส.หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อแก้ตัว เพราะถ้าจำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส. ในการลงบทความ จำเลยก็เป็นตัวการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ถ้าจะให้จำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส.แล้ว จึงจะเป็นความผิด ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 จะบัญญัติมาตรา 48 ขึ้นมา และที่ไม่ได้บัญญัติโทษไว้ก็เพราะความผิดที่เกิดขึ้นมีบทกำหนดโทษอยู่แล้ว ดังเช่นคดีนี้ บทความของ ส.ซึ่งจำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยต้องรับผิดเป็นตัวการตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรค 2 และต้องได้รับโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
การวินิจฉัยว่าบทความของ ส.ตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท และดูหมิ่นพระมหากษัตริย์และพระราชินีหรือไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำว่าผิดกฎหมายหรือไม่ มิใช่วินิจฉัยผลแห่งการกระทำ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลพิจารณาบทความแล้ววินิจฉัยได้เอง หรือจะเอาพยานโจทก์จำเลยมาประกอบวินิจฉัยด้วยก็ได้ จึงไม่ผิดกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อบทความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตาม พ.ร.บ.การพิมพ์
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคแรกบัญญัติว่า"เมื่อมีความผิดนอกจากที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์ นอกจากหนังสือพิมพ์ผู้ประพันธ์ ซึ่งตั้งใจให้โฆษณาบทประพันธ์นั้นต้องรับผิดเป็นตัวการ ถ้าผู้ประพันธ์ไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ก็ให้ลงโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการ" วรรค 2 บัญญัติว่า "ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์และบรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ และถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการด้วย" เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ และผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ ซึ่งลงบทความตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นตัวการตามวรรค 2
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 เป็นกฎหมายพิเศษ ในมาตรา 4 ได้บัญญัติให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการพิมพ์บทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย หากบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นที่พิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นความผิดตามมาตรา 48จึงบัญญัติให้บรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ ดังนั้นจำเลยจะได้สมคบร่วมรู้กับ ส. หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อแก้ตัวเพราะถ้าจำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส. ในการลงบทความ จำเลยก็เป็นตัวการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ถ้าจะให้จำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส.แล้วจึงจะเป็นความผิด ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 จะบัญญัติมาตรา 48 ขึ้นมาและที่ไม่ได้บัญญัติโทษไว้ก็เพราะความผิดที่เกิดขึ้นมีบทกำหนดโทษอยู่แล้วดังเช่นคดีนี้บทความของ ส. ซึ่งจำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยต้องรับผิดเป็นตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรค 2 และต้องได้รับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
การวินิจฉัยว่าบทความของ ส. ตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นพระมหากษัตริย์และพระราชินีหรือไม่นั้นเป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำว่าผิดกฎหมายหรือไม่มิใช่วินิจฉัยผลแห่งการกระทำ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลพิจารณาบทความแล้ววินิจฉัยได้เอง หรือจะเอาพยานโจทก์จำเลยมาประกอบวินิจฉัยด้วยก็ได้ จึงไม่ผิดกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความเสียหายต้องความรับผิดของผู้เขียนและบรรณาธิการ
บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นห้วหน้ากองบรรณาธิการ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพัน บาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2, 3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้ และต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงิน ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถู-บ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดี ตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันสวนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326
ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดชื่อเสียงจากสื่อสิ่งพิมพ์: ความรับผิดของบรรณาธิการ ผู้เขียน และเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนในคอลัมน์ข่าวสังคม เมื่อจำเลยที่ 4 เขียนข้อความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในข้อความที่ตนรวบรวมนำลงพิมพ์จะแก้ตัวว่ามีผู้รับผิดชอบในแผนกข่าวคอลัมน์ดังกล่าวนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นคนเขียนข้อความนั้นเอง จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่การดำเนินการพิมพ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการเอง ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดนี้อย่างใดและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือโจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้องเข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดชอบเนื้อหาที่ลงพิมพ์ แม้จะเป็นจดหมายจากผู้อื่น การใส่ความให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงเป็นความผิดทางอาญา
จำเลยลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยเป็นบรรณาธิการ จะแก้ตัวว่าข้อความที่ลงพิมพ์มีคนส่งมาจำเลยจึงลงไปไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดชอบเนื้อหาที่ลงพิมพ์ แม้เป็นจดหมายจากผู้อื่น การหมิ่นประมาทด้วยข้อความที่ทำให้เสียชื่อเสียง
จำเลยลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยเป็นบรรณาธิการ จะแก้ตัวว่าข้อความที่ลงพิมพ์มีคนส่งมาจำเลยจึงลงไปไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทผ่านสื่อ: ความรับผิดของบรรณาธิการต่อข้อความที่ไม่เป็นสาธารณประโยชน์
ลงข่าวโฆษณาว่า ข้าราชการในข้อที่ไม่เป็นสาธารณประโยชน์ มีผิด
บรรณาธิการต้องรับผิดในข้อความที่ลงในหนังสือพิมพ์ แม้ตนจะได้ไปนั่งทำการในระวางนั้นหรือไม่ก็ดีไม่มีกฏหมายให้สืบแก้ตัวอย่างผู้ประพันธ์
of 3