พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความประมาทเลินเล่อและการขาดอายุความของคดีอาญา ส่งผลต่อการพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิด พ.ร.บ.จราจร ต้องระบุเจตนา 'ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย' จึงจะลงโทษฐานขับรถประมาทได้
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยมีกำลังประทุษร้าย และประเด็นการบรรยายฟ้องความผิดฐานทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการชกที่ตาซ้ายของผู้เสียหาย 1 ครั้ง โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 339 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงมาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ จำเลยคงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด การคำนวณน้ำหนักบริสุทธิ์ไม่จำเป็นต้องระบุในฟ้อง หากปริมาณยาเสพติดไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องระบุ
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่งและ 65 วรรคหนึ่ง มิได้มีการระบุถึงการคำนวณน้ำหนักบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนไว้แต่อย่างใดส่วนตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวระบุแต่เพียงว่า "ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 ต้องระวางโทษ..." คดีนี้น้ำหนักของเมทแอมเฟตามีนของกลางมีน้ำหนักเพียง 5.14 กรัม ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าหากคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ก็คงไม่ถึง 20 กรัม อย่างแน่นอน ดังนั้น การที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงน้ำหนักที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนของกลางก็ไม่เป็นการไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องอ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษตามมาตราที่ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุเวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านที่อยู่อาศัยอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) แต่ในคำขอท้ายฟ้องกลับของให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) อันเป็นบทลงโทษผู้กระทำความผิดฐานบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่โจทก์ขอ จึงไม่ถูกต้อง และกรณีเป็นเรื่องโจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตราที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนถึงลักษณะของเอกสารและผลกระทบต่อสิทธิ
ตาม ป.อ. มาตรา 265 บัญญัติว่า "ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ..." อันถือว่าเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อความว่า สัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ปลอมและใช้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน และระงับซึ่งสิทธิระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 อย่างไรบ้าง อันเป็นนิยามของคำว่าเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) ถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 265 คงมีความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 268 วรรคแรก เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องในคดีอาญา: ป.วิ.อ. มาตรา 158 ใช้บังคับโดยเฉพาะ, ไม่อ้างอิง ป.วิ.พ. มาตรา 172
ในคดีอาญาเมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 158 ได้บัญญัติเรื่องคำบรรยายฟ้องไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12584/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิ่งราวทรัพย์ vs ลักทรัพย์: การบรรยายฟ้องที่ไม่ชัดเจน และการร่วมกันทำร้ายร่างกาย
อ. ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายล้มลง พอ อ. ถอยออกมา จำเลยเข้าไปล้วงกระเป๋าผู้เสียหายเอาซองเงินเดือนผู้เสียหายวิ่งหลบหนีไปทันที เป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า จำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายและพวกจำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาเงินของผู้เสียหายหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยได้ในฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์สืบสมแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12584/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ที่ไม่ตรงองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาเงินของผู้เสียหายหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยได้ในข้อหาลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์สืบสม แต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเบิกความเท็จ: การบรรยายฟ้องไม่ครบถ้วนองค์ประกอบความผิด ทำให้ฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลแขวงพระนครเหนือ โดยเพียงแต่กล่าวว่าจำเลยได้เบิกความในคดีหมายเลขใด ระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย และข้อความที่เบิกความกับว่าความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งแม้จะเข้าใจได้ว่าคดีที่เบิกความเป็นการพิจารณาคดีอาญา และโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าข้อความที่เบิกความเป็นข้อสำคัญในคดี แต่เมื่อโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคดีอาญานั้นมีข้อหาความผิดตามบทกฎหมายใด ประเด็นอันเป็นข้อสำคัญในคดีมีว่าอย่างใด และคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญอย่างไร จึงถือว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดมาโดยครบถ้วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และยังเป็นฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทมาตราในกฎหมายที่ขอให้ลงโทษจำเลยด้วย ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ กรณีมิใช่เรื่องฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตามมาตรา 161 ได้