คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บริบท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: ถ้อยคำและความหมายตามบริบท
จำเลยกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจจราจรขณะกระทำการตามหน้าที่จับรถยนต์จำเลยฐานกีดขวางทางจราจรว่า "ลื้อชุ่ยมาก" เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทโดยเจตนาต่อชุมชน แม้กล่าวลอยๆ ก็อาจเป็นความเสียหายต่อโจทก์ได้ หากมีบริบทชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 โดยกล่าวในฟ้องว่า จำเลยได้โฆษณาด้วยเครื่องกระจายเสียงต่อชุมนุมชนซึ่งมาประชุมกันว่า ทนายความเมืองร้อยเอ็ดคบไม่ได้ เป็นนอกสองหัว เหยียบเรือสองแคม เป็นมวยล้ม ว่าความทีแรกดี ครั้นได้รับเงินแล้วก็ว่าเป็นอย่างอื่น และได้กล่าวในฟ้องด้วยว่าทนายความจังหวัดร้อยเอ็ดมีอยู่ในวันที่จำเลยกล่าวข้อความนี้เพียง 10 คนและในขณะที่จำเลยกล่าว จำเลยได้เห็นโจทก์ซึ่งเป็นทนายความคนหนึ่งประกอบอาชีพว่าความอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ดเข้าประชุมอยู่ด้วย กับยืนยันมาในฟ้องว่า การที่จำเลยกล่าวเช่นนั้นก็โดยมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์และบรรดาผู้ประกอบอาชีพทนายความในจังหวัดร้อยเอ็ดทุกคนให้ได้รับความเสียหาย ดังนี้เป็นฟ้องที่ควรให้มีการไต่สวนมูลฟ้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทจากการลงข่าวใส่ความเจ้าพนักงาน – กำนันและปลัดอำเภอ – เจตนาและบริบท
จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์ของจำเลยเป็นข้อความหมิ่นประมาทใส่ความกำนันตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ว่าให้สินบนพนักงานสอบสวนที่ทำการสอบสวนกำนันฐานทุจริตต่อหน้าที่ และพนักงานสอบสวนนั้นได้หน่วงเหนี่ยวสำนวนไว้เพื่อให้พยานกลับคำ เมื่อปรากฎว่ากำนันตำบลหาดท่าเสามีนายใบ โสภาสุข คนเดียว และนายใบ โสภาสุข กำลังถูกนายประโยชน์ แสงสอาด สอบสวนเรื่องทุจริตต่อหน้าที่ (สอบสวนคนเดียว) เช่นนี้จำเลยก็ย่อมมีผิดฐานหมิ่นประมาทใส่ความนายใบและนายประโยชน์ทั้งสองคน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแจ้งความเท็จ: การระบุเวลาไม่จำเป็นหากเข้าใจได้ตามบริบท
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการร้องขอโอนทะเบียนรับมรดกที่ดินและเรื่องกล่าวถึงการจำนองที่ดินซึ่งจะต้องทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามเวลาราชการนั้น แม้โจทก์จะบรรยายระบุถึงวันเดือนปีที่จำเลยกระทำผิดมิได้ระบุเวลากลางวันหรือกลางคืนด้วยก็ย่อมเข้าใจได้ว่า เวลาราชการของเจ้าพนักงานที่ดินตามปกติ ก็ต้องเป็นเวลากลางวัน จำเลยย่อมเข้าใจข้อหาในเรื่องเวลาได้ดี ไม่มีทางให้เข้าใจผิดหลงฟ้องดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์พอเพียงตามความประสงค์ของกฎหมายแล้ว (อ้างฎีกาที่868,869/2494,101/2495)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องแจ้งความเท็จ: การระบุความจริงที่ไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำเมื่อเข้าใจได้จากบริบท
การฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานแจ้งความเท็จนั้นแม้จะไม่ได้กล่าวว่าความจริงเป็นอย่างไร แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องโดยตลอดแล้ว เป็นอันเข้าใจได้ว่าความจริงมีอย่างใดแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าความจริงเป็นอย่างไรอีก เพราะเป็นอันเข้าใจได้อยู่แล้ว นับว่าเป็นฟ้องที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำด่า vs. คำใส่ความ: การพิจารณาความผิดทางอาญาตามบริบทและอารมณ์ขณะกระทำ
คำด่าและคำใส่ความนั้นต่างกัน ซึ่งจะต้องพิจารณาตามถ้อยคำที่กล่าวทั้งหมดรวมกันประกอบกับพฤตติการณ์แวดล้อมว่าเป็นคำด่าหรือคำใส่ความ
จำเลยได้ทะเลาะกับเจ้าทุกข์แล้วด่ากันไปด่ากันมาได้เนื้อความว่า "มึงมีลูกสาว (หมายถึงนางละมัย) ก็เที่ยวให้เขาเย็ด มีลูกก็ไม่มีพ่อ มียังไม่รู้อีกหรือว่า ลูกมึงดอกทองแล้ว หากจะได้แหวนเพ็ชร ก็ให้เขาเย็ดแลกกับแหวน เดี๋ยวนี้ไปให้เขาเย็ดได้เข็มขัดนาคมาอีกเส้นหนึ่งแล้ว" ดังนี้ เป็นคำด่าที่เกิดขึ้นในขณะจำเลยมีโทษะจริตไม่ใช่คำใส่ความ ไม่มีผิดตามมาตรา 282.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำด่า vs. คำใส่ความ: การพิจารณาบริบทและโทสะจริตในการประเมินความผิดทางอาญา
คำด่าและคำใส่ความนั้นต่างกัน ซึ่งจะต้องพิจารณาตามถ้อยคำที่กล่าวทั้งหมดรวมกันประกอบกับพฤติการณ์แวดล้อมว่าเป็นคำด่าหรือคำใส่ความ
จำเลยได้ทะเลาะกับเจ้าทุกข์แล้วด่ากันไปด่ากันมาได้เนื้อความว่า'มึงมีลูกสาว(หมายถึงนางละมัย)ก็เที่ยวให้เขาเย็ด มีลูกก็ไม่มีพ่อ มึงยังไม่รู้อีกหรือว่าลูกมึงดอกทองแล้ว หากจะได้แหวนเพชร ก็ให้เขาเย็ดแลกกับแหวน เดี๋ยวนี้ไปให้เขาเย็ดได้เข็มขัดนาคมาอีกเส้นหนึ่งแล้ว' ดังนี้ เป็นคำด่าที่เกิดขึ้นในขณะจำเลยมิโทสะจริต ไม่ใช่คำใส่ความ ไม่มีผิดตามมาตรา 282

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุเจ้าของทรัพย์ในความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ฟ้องไม่ได้ระบุชัดเจน แต่เข้าใจได้ตามบริบท
โจทก์ฟ้องมีใจความว่า จำเลยได้ปีนขึ้นไปบนเคหะสถานของนายสุขโดยมิได้รับอนุญาตจากนายสุข แล้วลักทรัพย์ไป ตามถ้อยคำในฟ้องพอเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นทรัพย์ของนายสุข ถือว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเมื่อจำเลยรับสารภาพว่าลักทรัพย์ของเขาไปจริง ก็ลงโทษฐานลักทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิจารณ์รัฐบาลและการพิจารณาความผิดตามมาตรา 104 ต้องคำนึงถึงบริบทและกาละเทศะ
การพิจารณาถึงการกระทำอันจะเป็นผิดตาม ม.104 นั้นจะต้องพิจารราถ้อยคำที่กล่าวประกอบกับกาละเทศะด้วย
of 2