พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3632/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานละเว้นการลงบัญชีสำคัญเพื่อลวงให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทจำกัด
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499มาตรา 42 (1) นั้น จะต้องทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอม บัญชี-เอกสาร หรือหลักประกันของธนาคารโจทก์ร่วมด้วย แต่การที่จำเลยไม่จัดให้มีหลัก-ประกันคุ้มกับจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยปกปิดไม่ขออนุมัติโจทก์ร่วมและปฏิเสธว่าไม่ได้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่จัดให้มีการจดแจ้งการรับอาวัลลงในสมุดทะเบียนไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัล ไม่ใช่เป็นการทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลงตัดทอน หรือปลอม บัญชีเอกสาร หรือหลักประกันของโจทก์ร่วม จำเลยเป็นผู้จัดการของธนาคารโจทก์ร่วมสาขานนทบุรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจของโจทก์ร่วมสาขานนทบุรี จำเลยจึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบริษัทจำกัดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ พ.ศ.2499 มาตรา42 (2) สมุดทะเบียนหนังสือค้ำประกัน สมุดบัญชีภาระในการรับรองตั๋วเงินของโจทก์ร่วมเป็นเอกสารบัญชีหรือเอกสารของบริษัทตามที่กฎหมายมาตราดังกล่าวบัญญัติไว้เช่นเดียวกัน ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วมสาขานนทบุรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจในสาขานนทบุรีทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการสั่งให้พนักงานลงบัญชีหรือเรียกบัญชีมาตรวจสอบด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยมีหน้าที่ลงบัญชีด้วย การที่จำเลยลงชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่มีหลักประกัน ไม่ขออนุมัติจากโจทก์ร่วมสำนักงานใหญ่ตามระเบียบ ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัล และไม่ลงบัญชีเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมสามารถตรวจสอบได้ จึงเป็นการละเว้นไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีโดยมีเจตนาเพื่อลวงให้โจทก์ร่วมขาดประโยชน์อันควรได้ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42(2) ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทจำกัดต่อหนี้ของบริษัท: สัญญาซื้อขายและเช็คพิพาท
โจทก์ประสงค์จะติดต่อค้าขายกับจำเลยที่1และที่2โดยให้จำเลยที่1และที่2ไปจดทะเบียนตั้งบริษัทเมื่อจำเลยที่1และที่2จัดตั้งบริษัทจำเลยที่3ขึ้นจำเลยที่2ก็ได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์โดยประทับตราจำเลยที่3แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่3ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่1ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวนั้นคดีนี้โจทก์ตั้งรูปเรื่องในฟ้องว่าจำเลยทั้งสามรับสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายโดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระค่าสินค้าตามราคาและเวลาที่ตกลงกันไว้ส่วนการจำหน่ายสินค้าจำเลยทั้งสามจะจำหน่ายในราคาเท่าใดก็ได้เป็นเรื่องของจำเลยทั้งสามโจทก์มิได้เกี่ยวข้องด้วยรูปเรื่องตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเรื่องของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดส่วนที่ฟ้องโจทก์บรรยายถึงเช็คพิพาทมาด้วยก็เพื่อแสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสามนำเช็คพิพาทมาชำระหนี้ค่าสินค้าแล้วโจทก์ยังไม่ได้รับเงินเท่านั้นไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องตั๋วเงินไปด้วยแม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่โจทก์นำสืบว่าเช็คมีจำเลยที่1ลงชื่อสลักหลังก็ไม่ปรากฎลายมือชื่อจำเลยที่1ตามที่พยานโจทก์อ้างโจทก์ก็อุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เพียงว่าเป็นการวินิจฉัยที่ฝ่าฝืนต่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบทั้งๆที่โจทก์ได้ชี้ตำแหน่งที่จำเลยที่1ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คให้ศาลทราบแล้วจำเลยไม่สืบพยานจึงต้องฟังตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่1และที่2เป็นผู้ค้ากับโจทก์ส่วนจำเลยที่3เป็นเพียงเครื่องมือที่เชิดออกมาให้เป็นผู้เสียภาษีกำไรที่ได้เป็นของจำเลยที่1และที่2เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าได้ตรวจดูเช็คทั้ง7ฉบับแล้วไม่ปรากฎว่ามีชื่อจำเลยที่1เป็นผู้สลักหลังดังนั้นที่โจทก์ฎีกาในทำนองขอให้จำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทนั้นจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกบริษัทจำกัดจากเหตุผลขาดทุนและการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1237 นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอ โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1โดยทำเป็นคำฟ้องได้ และตามคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 มากกว่าโจทก์ได้บริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 เนื่องจากบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2531 รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 21,273,670.10 บาท และไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า 1 ปีและไม่มีทางหวังจะฟื้นตัวได้หรือไม่ ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่า เป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้น เป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้น ไม่ใช่เป็นประเด็นโดยตรง ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า น่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ร่วมกับฝ่ายจำเลย กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปีเศษนั้น จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น
จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า บริษัทจำเลยที่ 1มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท การที่บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง 26 ล้านบาทเศษ น่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว ยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้ และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตลอดเวลานั้น ฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่ 1 แล้ว กลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับฟื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1
ป.พ.พ.มาตรา 1251 มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่ เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้น ๆ และถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ และข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา 1251 นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชี ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา 1251 ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใด ๆ ได้
กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกัน ไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 วรรคสอง ได้
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 เนื่องจากบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2531 รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 21,273,670.10 บาท และไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า 1 ปีและไม่มีทางหวังจะฟื้นตัวได้หรือไม่ ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่า เป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้น เป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้น ไม่ใช่เป็นประเด็นโดยตรง ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า น่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ร่วมกับฝ่ายจำเลย กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปีเศษนั้น จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น
จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า บริษัทจำเลยที่ 1มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท การที่บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง 26 ล้านบาทเศษ น่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว ยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้ และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตลอดเวลานั้น ฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่ 1 แล้ว กลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับฟื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1
ป.พ.พ.มาตรา 1251 มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่ เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้น ๆ และถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ และข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา 1251 นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชี ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา 1251 ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใด ๆ ได้
กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกัน ไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 วรรคสอง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกบริษัทจำกัด: เหตุขาดทุนต่อเนื่องและไม่มีทางฟื้นตัว, การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 นั้น มิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอ โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทำเป็นคำฟ้องได้ และตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 2ถึงที่ 7 ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 มากกว่าโจทก์ได้บริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 เนื่องจากบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2531 รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ21,273,670.10 บาท และไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี และไม่มีทางหวังจะพื้นตัวได้หรือไม่ ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่า เป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้น เป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้น ไม่ใช้เป็นประเด็นโดยตรง ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า น่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1ร่วมกับฝ่ายจำเลย กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปีเศษนั้น จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า บริษัทจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทการที่บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง 26 ล้านบาทเศษน่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว ยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้ และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตอลดเวลานั้น ฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่ 1แล้ว กลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับพื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่ เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้น ๆ และถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ และข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา 1251 นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชี ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลผู้ชำระบัญชีได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา 1251ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใด ๆ ได้ กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกัน ไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฎว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251 วรรคสอง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกบริษัทจำกัด ขาดทุนต่อเนื่อง และการตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1237นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอโจทก์ทั้งเจ็ดจึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1โดยทำเป็นคำฟ้องได้และตามคำฟ้องจำเลยที่2ถึงที่4และที่6เป็นกรรมการจำเลยที่2ถึงที่7ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่1มากกว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้บริหารบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251มิได้มุ่งหมายให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้นๆและหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆและข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา1251คือไม่มีผู้ชำระบัญชีผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้มิฉะนั้นบทบัญญัติมาตรา1251ย่อมไร้ผลเมื่อกรรมการของบริษัทจำเลยที่1ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่1กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกบริษัทจำกัดเนื่องจากขาดทุนต่อเนื่องและไม่มีทางฟื้นตัว รวมถึงการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1237นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอโจทก์จึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1โดยทำเป็นคำฟ้องได้และตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่2ถึงที่4และที่6เป็นกรรมการจำเลยที่2ถึงที่7ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่1มากกว่าโจทก์ได้บริหารบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1เนื่องจากบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนตั้งแต่ปี2528จนถึงปี2531รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ21,273,670.10บาทและไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่1ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า1ปีและไม่มีทางหวังจะพื้นตัวได้หรือไม่ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่าเป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่1ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้นเป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้นไม่ใช้เป็นประเด็นโดยตรงดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าน่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่1ร่วมกับฝ่ายจำเลยกิจการของบริษัทจำเลยที่1คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา4ปีเศษนั้นจึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น จำเลยที่1ที่3ที่4ที่6และที่7ฎีกาว่าบริษัทจำเลยที่1มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า1,000ล้านบาทการที่บริษัทจำเลยที่1ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง26ล้านบาทเศษน่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถแต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่1แล้วยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่1ขาดทุนตอลดเวลานั้นฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่1แล้วกลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับพื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้นๆและถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆและข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา1251นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชีผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลผู้ชำระบัญชีได้มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา1251ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใดๆได้ กรรมการของบริษัทจำเลยที่1ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้และไม่ปรากฎว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่1กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีบริษัทจำกัดเมื่อกรรมการลาออก: ศาลยืนตามมาตรา 1159 พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์
การที่ผู้ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็น ผู้แทนเฉพาะคดีของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดโดยอ้างเหตุว่ากรรมการผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งได้ลาออกเป็นเหตุให้กรรมการที่เหลือไม่สามารถทำกิจการของบริษัทได้ตามข้อบังคับนั้นเป็นกรณีที่จำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้จึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1159กรรมการที่มีตัวอยู่คือผู้ร้องย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้นจะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้บทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดวิธีการแก้ข้อขัดข้องที่เป็นเหตุตามคำร้องของผู้ร้องไว้แล้วซึ่งผู้ร้องชอบที่จะปฏิบัติตามได้หาใช่กรณีที่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทจำกัดเมื่อจำนวนกรรมการไม่ครบตามข้อบังคับ และการทำกิจการบริษัท
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดโดยอ้างเหตุว่ากรรมการผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งได้ลาออกเป็นเหตุให้กรรมการที่เหลือไม่สามารถทำกิจการของบริษัทได้ตามข้อบังคับเหตุที่ผู้ร้องอ้างดังกล่าวเป็นกรณีที่จำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้จึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1159กรรมการที่มีตัวอยู่คือผู้ร้องย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้นจะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9160/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชน ไม่ทำให้สถานะนิติบุคคลสิ้นไป ฟ้องซ้ำเป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน ซึ่งการแปรสภาพเพียงทำให้โจทก์หมดสภาพการเป็นบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่สถานะนิติบุคคลของโจทก์มิได้สิ้นไป บริษัทมหาชนของโจทก์จึงรับไปซึ่งสิทธิในการดำเนินคดีต่อจากเดิมได้ ต้องถือว่าโจทก์ในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นบุคคลเดียวกัน เมื่อคดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6778/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินของบริษัทจำกัดหลังมรดก: ผู้รับมรดกไม่มีสิทธิพิเศษในทรัพย์สินของบริษัท
แม้ อ. บิดาผู้ร้องจะเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยและมีหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลยซึ่งผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกของ อ.ก็ตาม แต่จำเลยก็เป็นนิติบุคคลซึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นการรับมรดกของ อ.ในหุ้นบริษัทจำเลยของผู้ร้องจึงหาก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ร้องจะอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยไม่ เมื่อผู้ร้องเข้ามาอาศัยอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของ อ.ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลยและไม่มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทต่อไปได้