คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บริษัทต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโรงแรมที่จ่ายให้บริษัทต่างประเทศ ถือเป็นค่าจ้างทำของและต้องเสียภาษี
โจทก์จ่ายเงินค่าใช้จ่ายเบิกชดเชยและค่าการตลาดกับค่าส่งเสริมการตลาดตามสัญญาจ้างเป็นที่ปรึกษาและบริการทางเทคนิคให้กับบริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศ เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40(2)หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์เองไม่ บริษัท พ. ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้คำปรึกษาแก่โจทก์ ยังถือไม่ได้ว่าบริษัท พ. ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อโจทก์จ่ายเงินค่าใช้จ่ายเบิกชดเชยและค่าการตลาดกับค่าส่งเสริมการตลาดให้กับบริษัท พ. โจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 โจทก์จ่ายค่าตอบแทนให้บริษัท ฮ. ตามสัญญาจ้างให้บริหารกิจการโรงแรมของโจทก์ แม้โจทก์จะเรียกว่าค่าธรรมเนียม ค่าการตลาดหรือเงินจ่ายคืนให้บริษัท ฮ.สำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทฮ.ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก่อนก็มีความหมายอย่างเดียวกับค่าจ้างทำของโจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้และการค้า ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 3 เตรส,78 สัตตรส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า: ค่าใช้จ่ายของบริษัทต่างประเทศที่ปรึกษาโรงแรม ถือเป็นเงินได้จากการรับทำงาน
การที่บริษัท พ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้จัดส่งคนงานเข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่โจทก์ในการประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(2) ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณที่จ่าย และนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70(1) โจทก์ทำสัญญาจ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่โจทก์ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการโรงแรมของโจทก์ การที่บริษัทดังกล่าวปฏิบัติงานให้โจทก์ตามสัญญานั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายของตนเองเพื่อทำงานให้บรรลุผลตามสัญญา ดังนั้น ค่าใช้จ่ายเบิกชดเชย ค่าการตลาด กับค่าส่งเสริมการตลาดที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว จึงเป็นเงินได้จากการที่บริษัทดังกล่าวรับทำงานให้โจทก์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(2) หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งบริษัทดังกล่าวทดรองจ่ายไปก่อนแล้วโจทก์จะจ่ายคืนให้ในภายหลังไม่ โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 เตรส การที่โจทก์จ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมของโจทก์ก็เพื่อให้กิจการโรงแรมของโจทก์เป็นไปด้วยดี ดังนั้นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว ก็เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่บริษัทดังกล่าวจะบริหารโรงแรมให้โจทก์ จึงถือเป็นเงินค่าจ้างทำของ แม้โจทก์จะเรียกเงินที่จ่ายนั้นว่าเป็น ค่าการตลาด ค่าธรรมเนียม หรือเงินจ่ายคืนสำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทดังกล่าวได้ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก็ตามแต่แท้จริงแล้วล้วนเป็นเงินค่าจ้างทำของทั้งสิ้น บริษัท ฮ.จึงต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ) โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัท ฮ. จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล แล้วนำส่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 สัตตรสประกอบด้วยมาตรา 78 ปัณรส วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการในไทยผ่านตัวแทน: หน้าที่เสียภาษีของบริษัทต่างประเทศและผู้ทำการติดต่อ
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ต่าง ๆของบริษัท ท. แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ไม่มีอำนาจทำสัญญาแทนบริษัท ท. วิธีการปฏิบัติในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ของโจทก์นั้น วิศวกรของโจทก์จะต้องไปสำรวจออกแบบและสั่งเครื่องปรับอากาศเข้ามา โดยโจทก์จะทำใบสั่งซื้อไปยังผู้ขายถ้าไม่มีใบสั่งซื้อ บริษัทผู้ขายจะขายให้ใครไม่ได้ ก่อนทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งเครื่องปรับอากาศและระบบระบาย อากาศกับบริษัท ต. ในประเทศ ไทย โจทก์ก็ให้วิศวกรของโจทก์ไปสำรวจออกแบบ แล้วแยกคำนวณราคาค่าเครื่องปรับอากาศกับค่าแรง ในการติดตั้งไว้ต่างหาก แต่เนื่องจากบริษัท ต. ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรโดยไม่ต้องเสียภาษีอากร โจทก์จึงให้บริษัท ต. เป็นผู้สั่งซื้อเครื่องปรับอากาศจากบริษัท ท. ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยตรงการกระทำของโจทก์ดังกล่าวฟังได้ว่าบริษัท ท. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีโจทก์เป็นผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศ ไทย เป็นเหตุให้บริษัท ท. ได้รับเงินได้ในประเทศ ไทย ถือได้ว่าบริษัท ท. ประกอบกิจการในประเทศ ไทยและโจทก์ผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นบริษัทต่างประเทศที่มีสาขาในไทย แม้ชื่อสาขาไม่เป็นนิติบุคคล ก็สามารถฟ้องได้หากระบุตัวบริษัทแม่ชัดเจน
โจทก์ระบุชื่อจำเลยในตอนต้นคำฟ้องว่า"สายเดินเรือเมอส์ก กรุงเทพฯ" แต่ในคำบรรยายฟ้องโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าจำเลยหมายถึงบริษัทใดดำเนินธุรกิจในทางใดจดทะเบียนพาณิชย์ไว้ในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่าอะไรสำนักงานตั้งอยู่แห่งใด จนเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัทด.กับบริษัทอ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ในประเทศเดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า "สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" เป็นจำเลย ดังนี้แม้"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" จะมิได้เป็นนิติบุคคล ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศ แม้ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในไทย ก็สามารถฟ้องได้หากระบุชื่อและรายละเอียดชัดเจน
โจทก์ระบุชื่อจำเลยในตอนต้นคำฟ้องว่า "สายเดินเรือเมอส์กกรุงเทพฯ" แต่ในคำบรรยายฟ้องโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าจำเลยหมายถึงบริษัทใด ดำเนินธุรกิจในทางใด จดทะเบียนพาณิชย์ ไว้ในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่าอะไร สำนักงานตั้งอยู่แห่งใด จนเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ต. กับบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ในประเทศ เดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่า"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" เป็นจำเลย ดังนี้แม้"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" จะมิได้เป็นนิติบุคคลก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานประกอบการถาวรตามสนธิสัญญาภาษีซ้อน การมีอำนาจเจรจาทำสัญญาเป็นปัจจัยสำคัญ
โจทก์มิได้มีอำนาจทั่วไปในการเจรจาและตกลงทำสัญญาต่าง ๆแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสันจำกัดซึ่งเป็นวิสาหกิจของประเทศสวีเดนตั้งอยู่ในประเทศสวีเดนเป็นปกติวิสัย โจทก์จึงไม่เป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัดตามความตกลงว่าด้วยอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน โจทก์จึงไม่มีภาระที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าสิทธิที่จ่ายให้บริษัทต่างประเทศจากการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค
บริษัท ฮ. ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการผลิตกระดาษตามสัญญาที่บริษัท ฮ. ทำไว้กับโจทก์ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญ 15 คนเข้ามาประจำอยู่ ณ โรงงานโจทก์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2522 บริษัท ฮ. ได้รับเงินค่าธรรมเนียมในการช่วยเหลือดังกล่าวดังนี้ การที่บริษัท ฮ. ให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ มิได้เป็นการประกอบกิจการของบริษัท ฮ. ในประเทศไทย แต่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง จึงไม่อาจถือได้ว่าบริษัท ฮ. ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ แต่บริษัท ฮ. ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) ที่จ่ายจากประเทศไทย เพราะเงินดังกล่าวเป็นค่าสิทธิตามความหมายของอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ข้อ 8 (2) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 (2) ประกอบอนุสัญญาดังกล่าวข้อ 8 (1) และ (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของสาขาบริษัทต่างประเทศ: ผู้จัดการสาขาต้องได้รับมอบอำนาจเฉพาะเจาะจง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศออสเตรเลีย แต่มีสาขาอยู่ในประเทศไทย โดยมี อ.ผู้รับมอบอำนาจคดีนี้เป็นผู้จัดการสาขาในกรุงเทพมหานคร แสดงว่า อ.ไม่ใช่ผู้จัดการบริษัทโจทก์ในประเทศออสเตรเลีย อ. จึงไม่ใช่ผู้แทนนิติบุคคลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดี ดังนี้ อ. ซึ่งเป็นเพียงผู้จัดการสาขาของบริษัทโจทก์ในประเทศไทย จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 925/2503)
ในคดีฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลจะกำหนดไว้ในคำพิพากษาว่า ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บริษัทต่างประเทศประกอบการค้าในไทย มีหน้าที่เสียภาษีการค้า แม้จะระบุในสัญญาให้โจทก์เป็นผู้ออกภาษีแทน
บริษัทส.จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีสำนักงานตั้งอยู่ในต่างประเทศ แต่เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยเข้าทำสัญญากับโจทก์รับจ้างและร่วมดำเนินการในการให้บริการในด้านวิศวกรรมและให้บริการต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตเหล็กให้แก่โจทก์ โดยได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากโจทก์ อันถือได้ว่าเป็นการประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีการค้าสำหรับเงินค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่ได้รับจากโจทก์เมื่อตามสัญญาระบุว่าโจทก์รับเป็นผู้ออกภาษีให้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นสาขาหรือตัวแทนของบริษัท ฮ. ในการเสียภาษีด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าของบริษัท ฮ. ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่ปฏิบัติ เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนบริษัทต่างประเทศไม่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไร หากลูกค้าส่งเงินค่าสินค้าโดยตรงไปยังบริษัทต่างประเทศ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยโจทก์ลงชื่อในสัญญาเป็นผู้ขายในฐานะเป็นตัวแทน โจทก์จึงเป็นตัวแทนของบริษัท น. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้จากการขายสินค้า มิใช่เป็นเพียงลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อของบริษัท น.เท่านั้นโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้สำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) มีหุ้นอยู่ในห้างโจทก์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โจทก์จึงเป็นตัวแทนตามกฎหมายประกอบธุรกิจแต่บางส่วนให้กับบริษัทดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็น 'สถานประกอบการถาวร' ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ มิใช่เป็นแต่ นายหน้า ตัวแทนค้าต่าง หรือตัวแทนอื่น ๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระ อย่างแท้จริง ซึ่งกระทำการแต่เพียงเป็นสื่อกลางระหว่างวิสาหกิจหนึ่งของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งกับผู้ที่จะเป็นลูกค้าในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง โจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ และภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินได้ที่บริษัท น.(ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านจำนวนเงินดังกล่าวในชั้นศาล
โจทก์ทราบที่มาของการประเมินทุกขั้นตอนของจำเลยที่ให้โจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) เสียภาษีในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ และโจทก์เข้าใจดีแล้ว ดังนั้นแม้คำสั่งของจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะไม่กล่าว ให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือที่มาของจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ จะต้องชำระก็ไม่เป็นการเคลือบคลุมและไม่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริง หรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร เงินที่ลูกค้าในประเทศไทยที่ส่งไปให้แก่ บริษัท น. ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินค่าสินค้าซึ่งลูกค้าเป็นผู้ส่งเองโดยทางเลตเตอร์ออฟเครดิต ถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรด้วยเพราะโจทก์มิได้เป็นผู้จำหน่ายเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4/2521 และคำพิพากษาฎีกาที่ 358/2524) (วรรคสี่ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2525)
of 5