พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการลาออกและบริษัทเลิกกิจการแล้ว ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินต้องรับผิดส่วนตัว
การที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าขณะจำเลยลงลายมือชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท จำเลยได้ออกจากการเป็นกรรมการบริษัท บ. และได้มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทไปแล้ว จำเลยไม่อาจกระทำการแทนบริษัท ทั้งบริษัทไม่สามารถรับผิดต่อโจทก์ได้ ดังนั้น จำเลยในฐานะผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทนั้นเป็นส่วนตัวตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6783/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบริษัทหลังจดทะเบียนเลิก และอำนาจฟ้องคดีของโจทก์
ในขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยนายทะเบียนได้ขีดชื่อบริษัทจำเลยออกจากทะเบียนแล้ว อันเป็นผลทำให้บริษัทต้องเป็นอันเลิกกันแต่เมื่อการเลิกโดยเหตุที่นายทะเบียนขีดชื่อนั้น เป็นการเลิกโดยเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย จึงต้องมีการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 และมาตรา 1249 บัญญัติไว้ว่า แม้ว่าบริษัทจะเลิกกันแล้วก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี เมื่อปรากฏว่ายังไม่มีการชำระบัญชีของจำเลยจึงถือว่าบริษัทคงตั้งอยู่ตลอดมา โจทก์จึงมีอำนาจดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10452-10453/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทางธุรกิจ: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้บริษัทเลิกไปแล้ว สัญญาเดิมยังผูกพัน
โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำสัญญากิจการร่วมค้าและอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ช. เป็นต่างหาก เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสี่จึงไม่อาจบอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวได้ แม้การเลิกบริษัท ช. จะได้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมาย การบอกเลิกสัญญากิจการร่วมค้าและอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญาก็ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือแจ้งประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังสำนักงานผู้ชำระบัญชีของบริษัทที่เลิกแล้ว ถือเป็นการส่งโดยชอบ
โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทจดรายการที่ตั้งของสำนักงานผู้ชำระบัญชีคือเลขที่ 87/149 อาคารออลซีซั่น กรุงเทพมหานคร ถือว่าโจทก์ได้เลือกเอาที่ตั้งดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชีและถือว่าเอกสารรายการจดทะเบียนดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่เจ้าพนักงานทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน การจดทะเบียนเลิกบริษัทถือว่าบริษัทยังคงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นในการชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจทำการแทนโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชีทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับย่อมเป็นการส่งที่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง และมีบุคคลลงชื่อรับไว้ โดยระบุว่าเป็นพนักงาน ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2553 ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 มาตรา 22 ประกอบมาตรา 6 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด พ.ศ.2546 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ตามหมวด 6 ระบบงานไปรษณีย์ การนำจ่ายสิ่งของทางไปรษณีย์ข้อ 64 ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ บริษัทถือว่าบุคคลต่อไปนี้ เป็นผู้แทนของผู้รับ ข้อ 64.1 บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดือนกันกับผู้รับ 64.2 บุคคลซึ่งทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกันกับผู้รับ 64.3 เจ้าหน้าที่รับรองหรือผู้ดูแลของโรงแรมหรืออาคาร 64.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานหรืออาคาร เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้วตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม
การที่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย้ายสำนักงานไปยังเลขที่ 345/13 ตรอกต้นโพธิ์ กรุงเทพมหานคร นานถึงหนึ่งปีเศษ จึงแจ้งย้ายที่อยู่ของผู้ชำระบัญชี ก็เป็นกรณีหลังจากถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยชอบแล้ว เป็นความบกพร่องของโจทก์เอง ดังนั้น คำสั่งของรัฐมนตรีที่ไม่อนุญาตให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์จึงชอบแล้ว อนึ่ง อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะพิจารณาสั่ง หากคำสั่งของรัฐมนตรีไม่ชอบ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ แต่มิใช่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยอาศัยมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง
การที่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย้ายสำนักงานไปยังเลขที่ 345/13 ตรอกต้นโพธิ์ กรุงเทพมหานคร นานถึงหนึ่งปีเศษ จึงแจ้งย้ายที่อยู่ของผู้ชำระบัญชี ก็เป็นกรณีหลังจากถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยชอบแล้ว เป็นความบกพร่องของโจทก์เอง ดังนั้น คำสั่งของรัฐมนตรีที่ไม่อนุญาตให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์จึงชอบแล้ว อนึ่ง อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะพิจารณาสั่ง หากคำสั่งของรัฐมนตรีไม่ชอบ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ แต่มิใช่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยอาศัยมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง