พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8368/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดินจากผู้มีสติไม่สมบูรณ์ โจทก์ทราบแต่ยังทำสัญญา สิทธิบอกล้าง
จำเลยนอกจากจะให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์หลอกลวงให้จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับหนังสือมอบอำนาจโดยไม่ได้กรอกข้อความ จำเลยยังได้ให้การอีกว่า ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าว จำเลยไม่สามารถรู้สึกผิดชอบอย่างบุคคลทั่วไป การแสดงเจตนาของจำเลยเป็นไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นว่า จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทและลงลายมือชื่อในเอกสารท้ายฟ้องรวมทั้งหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินพิพาทโดยถูกโจทก์หลอกลวงอันเป็นเหตุให้นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ก็ได้วินิจฉัยว่าจำเลยป่วยเป็นโรคจิตทางอารมณ์และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นผู้มีจิตไม่สมประกอบจนศาลมีคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โจทก์หลอกลวงจำเลยในขณะที่จำเลยมีสติสัมปชัญญะไม่สมประกอบ ให้ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท และลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับหนังสือมอบอำนาจโดยจำเลยไม่มีเจตนาที่จะขายที่ดินให้แก่โจทก์ นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะ กรณีถือได้ว่าข้อที่ว่า ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าวจำเลยมีสติสัมปชัญญะหรือรู้สำนึกผิดชอบหรือไม่ เป็นประเด็นแห่งคดีรวมอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ด้วย ทั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่กำหนดไว้แต่อย่างใด คงอุทธรณ์โต้แย้งว่า โจทก์ไม่ได้หลอกลวงจำเลยและจำเลยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ อันถือเป็นการยอมรับว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นประเด็นในคดี ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขประเด็นเป็นว่า ขณะที่จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารตามฟ้อง จำเลยสามารถรู้สำนึกผิดชอบอย่างบุคคลทั่วไปหรือไม่ จึงยังคงอยู่ในประเด็นแห่งคดี และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวก็หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์รู้ดีว่าจำเลยป่วยมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แม้อาการป่วยของจำเลยจะไม่ถึงขนาดไม่สามารถรู้สำนึกผิดชอบอันเป็นการขาดเจตนาในการทำนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยกระทำในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และโจทก์รู้อยู่แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่จำเลยกระทำไปก็ตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 32 (เดิม) จำเลยมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 137 (เดิม) เมื่อจำเลยได้บอกล้างภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 143 (เดิม) แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง (เดิม)
โจทก์รู้ดีว่าจำเลยป่วยมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แม้อาการป่วยของจำเลยจะไม่ถึงขนาดไม่สามารถรู้สำนึกผิดชอบอันเป็นการขาดเจตนาในการทำนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยกระทำในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และโจทก์รู้อยู่แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่จำเลยกระทำไปก็ตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 32 (เดิม) จำเลยมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 137 (เดิม) เมื่อจำเลยได้บอกล้างภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 143 (เดิม) แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกล้างสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสมรส: โมฆะหากตกลงไม่ยกเลิก
สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้ให้สิทธิสามีหรือภริยาบอกล้างได้ในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน จึงเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินกันไว้ในระหว่างสมรส โดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่ชอบธรรม และเป็นการป้องกันมิให้ครอบครัวต้องร้าวฉานแตกแยกกันได้ ดังนั้นข้อตกลงที่ว่าจะไม่ยกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างสมรสของสามีภริยา จึงมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 (เดิม)
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรส แม้จะตกลงหย่าขาดกันตามประเพณีศาสนาอิสลามและทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์และทรัพย์สินโดยมีเงื่อนไขระบุไว้ด้วยว่าจำเลยยินยอมผูกพันตามสัญญาตลอดไป และจะไม่ยกเลิกสัญญานี้ แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมิได้จดทะเบียนหย่า ก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย สัญญาแบ่งผลประโยชน์และทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรส แม้จะตกลงหย่าขาดกันตามประเพณีศาสนาอิสลามและทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์และทรัพย์สินโดยมีเงื่อนไขระบุไว้ด้วยว่าจำเลยยินยอมผูกพันตามสัญญาตลอดไป และจะไม่ยกเลิกสัญญานี้ แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมิได้จดทะเบียนหย่า ก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย สัญญาแบ่งผลประโยชน์และทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันโมฆียะกรรมโดยปริยาย แม้ต่อมาจะบอกล้าง แต่มีผลสมบูรณ์เมื่อได้กระทำการแสดงเจตนาไปแล้ว
จำเลยไม่ได้ให้การว่าได้ บอกล้าง โมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วการนำสืบของจำเลยที่ว่าได้บอกล้างนิติกรรมไปยังโจทก์ก่อนวันที่พากันไปโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นโมฆียะที่สำนักงานที่ดินจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ในวันนัดจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้เพราะภรรยาจำเลยคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งแต่แสดงว่าจำเลยตั้งใจที่จะปฏิบัติตาม สัญญาจะซื้อจะขายตลอดมาซึ่งเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุที่เป็นโมฆียะกรรมได้สูญสิ้นไปโดยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมแล้วโดยปริยายและแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำให้การต่อสู้คดีโดยถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันก่อนแล้วจึงไม่อาจ บอกล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิต: การลดระยะเวลาโดยจำเลยผูกพันตาม
ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคสอง ไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191(เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาประกันชีวิตลงมาเป็นกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3174/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมที่ถูกข่มขู่ แต่ไม่บอกล้างภายในหนึ่งปี ย่อมมีผลผูกพัน และผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามไปด้วย
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์จะทำหนังสือให้ความยินยอมรับสภาพหนี้ที่ ธ. ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะถูกโจทก์ข่มขู่อันจะเป็นเหตุให้หนังสือให้ความยินยอมตกเป็นโมฆียะกรรมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้บอกล้างหนังสือให้ความยินยอมภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หนังสือให้ความยินยอมย่อมมีผลใช้บังคับ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามที่ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมไว้ และเมื่อหนี้ตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระไว้เป็นการแน่นอน ทั้งการที่กำหนดให้โจทก์ไปดำเนินการเรียกร้องจาก ธ.และธนาคาร อ. ก่อน แล้วจำเลยที่ 1 จะชำระส่วนที่เรียกร้องไม่ได้ก็หาเป็นการที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1ผู้เป็นลูกหนี้แต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ทำขึ้นโดยถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ หากบอกล้างสัญญาก็เป็นโมฆะ
โจทก์กับพวกประมาณ 8 คน ไปที่บ้านจำเลยซึ่งมีเพียงจำเลยอาศัยอยู่กับบุตร 2 คน อายุ 10 ปี และ 12 ปี แล้วโจทก์ข่มขู่จำเลยว่าหากไม่ลงชื่อในสัญญากู้จะรื้อหรือเผาบ้านจำเลยนั้น ถือได้ว่าเป็นภัยถึงขนาดที่จะจูงใจจำเลยให้มีมูลต้องกลัวว่าจะเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของตนเองอันใกล้จะถึงและร้ายแรงเท่ากับที่จะพึงกลัวต่อการอันเขากรรโชกเอานั้น สัญญากู้ที่จำเลยทำให้แก่โจทก์จึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ จำเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างเหตุดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยบอกล้างสัญญากู้อันเป็นโมฆียะกรรมนั้นแล้วสัญญากู้จึงเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉล โมฆียะกรรม และอายุความบอกล้างนิติกรรม
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โจทก์จำใจทำนิติกรรมขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่สมัครใจก็ตาม แต่โจทก์ก็กล่าวด้วยว่าโจทก์มีความเชื่อ ในคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ถ้า การสร้างเขื่อนทั้งหลายตามโครงการของจำเลยที่ 1เสร็จ น้ำต้องท่วมที่ดินของโจทก์แน่ โจทก์จึงต้องขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1ใช้กลฉ้อฉลให้โจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 อันเป็นผลให้สัญญาซื้อขายที่พิพาทตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 121 ซึ่งตามมาตรา 143 โจทก์จะต้องบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นภายในเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ แต่ต้องไม่ล่วงไปถึงสิบปีนับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ถึงวันฟ้อง พ้นเวลาสิบปีแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจบอกล้างและฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทได้ ลำพังแต่เหตุตามฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์ไม่สมัครใจขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น หาเป็นเหตุให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะดัง ที่โจทก์ฎีกาไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมโมฆียะต้องทำภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย หากพ้นกำหนดสิทธิฟ้องเพิกถอนจะหมดไป
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย อันมีผลให้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 ซึ่งตามมาตรา 143 โจทก์ต้องบอกล้างภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้แต่ต้องไม่ล่วงไปถึงสิบปีนับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้นแล้วเมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทถึงวันฟ้องพ้นเวลาสิบปีแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจบอกล้างและฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ คำฟ้องของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า โจทก์ไม่สมัครใจขายที่พิพาทให้แก่จำเลย ลำพังแต่เหตุดังกล่าว หาเป็นเหตุให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากถูกหลอกลวง เกินอายุความบอกล้าง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเพราะถูกจำเลยหลอก ลวงให้หลงเชื่อว่าน้ำจะท่วมที่ดินพิพาทจากการสร้างเขื่อนอันเป็นการอ้างเหตุว่าจำเลยใช้กลฉ้อฉลโจทก์ เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121แต่โจทก์มิได้บอกล้างและฟ้องคดีเมื่อเวลาได้ล่วงไปเกิน 10 ปีแล้วนับแต่เมื่อโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้จำเลย โจทก์จึงบอกล้างไม่ได้และไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบอกล้างนิติกรรมโมฆียะจากการถูกหลอกลวงซื้อขายที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเพราะถูกจำเลยหลอกลวงให้หลงเชื่อว่าน้ำจะท่วมที่ดินพิพาทจากการสร้างเขื่อนอันเป็นการอ้างเหตุว่าจำเลยใช้กลฉ้อฉลโจทก์ เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121แต่โจทก์มิได้บอกล้างและฟ้องคดีเมื่อเวลาได้ล่วงไปเกิน 10 ปีแล้วนับแต่เมื่อโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้จำเลย โจทก์จึงบอกล้างไม่ได้และไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143.