คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บอกล้างสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยจงใจปกปิดโรคร้ายแรงก่อนทำสัญญา ผู้รับประกันภัยมีสิทธิบอกล้างได้
พนักงานหรือตัวแทนของจำเลยเป็นผู้ไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้ ท. ฟังที่บ้านในเขตท้องที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรีอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นภูมิลำเนาของท.เมื่อท. ได้รับฟังคำอธิบายแล้วจึงตกลงใจเอาประกันชีวิตกับจำเลยโดยลงลายมือชื่อในคำขอเอาประกันชีวิต ซึ่งพนักงาน ของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอให้ และได้พา ท.ไปตรวจสุขภาพที่คลินิก แพทย์ และได้นำคำขอเอาประกันชีวิตของ ท. พร้อมรายงานแพทย์ส่งให้สำนักงานใหญ่ของจำเลย จำเลย ตกลงรับประกันชีวิตกับ ท. มูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตเกิดที่ภูมิลำเนาของ ท. โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ในสัญญาประกันชีวิตเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่ง การใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตน ต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ ท. ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอด ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิตสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมได้โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใด เมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายแล้วจำเลยจะบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้เมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาอันเป็นโมฆียะแล้วจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยปกปิดเจ็บป่วยร้ายแรงก่อนทำสัญญา และจำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้
ขณะ ท.ทำคำขอประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยท.มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรีในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ในวันทำคำขอเอาประกันชีวิต ส.พนักงานของจำเลยไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่บ้านอันเป็นภูมิลำเนา ของ ท. และพนักงานของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอประกันชีวิตให้ ท.ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งพาท.ไปตรวจสุขภาพที่คลีนิคแพทย์ในตลาดวังน้ำเย็น แพทย์ได้ทำรายงานตามใบตรวจสุขภาพ ส. ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วยแล้ว ส. ส่งเอกสารดังกล่าวให้บริษัทจำเลยที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครพิจารณาออกกรมธรรม์ให้แก่ ท. และต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท. ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตรายนี้เกิดที่ภูมิลำเนาของ ท.ที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ท. ได้เคยให้แพทย์ตรวจรักษาร่างกายจากการตรวจร่างกายประกอบกับการเอกซเรย์ปอดแล้วแพทย์พบว่าท. น่าจะเป็นวัณโรคปอดจึงได้รักษา ท.ต่อเนื่องกันประมาณ5เดือนแล้วท.ขาดการติดต่อหลังจากนั้น ท.มาพบแพทย์อีกโดยท.มีอาการไอหอบ แพทย์จึงทำการตรวจรักษาและให้ยาไปรับประทาน การที่ ท. ได้ทำคำขอเอาประกันชีวิตโดยไม่ปรากฏว่า ท. ได้แจ้งว่า เคยเป็นวัณโรคปอดมาก่อน จำเลยย่อมไม่ทราบว่า ท. เคยเป็นวัณโรคปอดและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงิน ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ การที่ ท. ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอดซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิตสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่บอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใดเมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมจำนองสินสมรสโดยไม่สุจริต และผลของการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส
จำเลยที่ 1 นำทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนองแก่ธนาคารจำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) แต่จำเลยที่ 2 กลับรับจำนองไว้ โดยอ้างว่า ว. ซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมแล้ว ย่อมถือได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำนิติกรรมจำนองโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินที่ให้จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทนั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่จำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 1469 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอหย่าและขอแบ่งสินสมรส และศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว อันเป็นการใช้สิทธิบอกล้างในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากัน ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ย่อมทำให้สัญญาดังกล่าวสิ้นความผูกพัน ทำให้ทรัพย์สินกลับเป็นสินสมรสดังเดิม และเมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง จึงต้องถือว่าขณะฟ้องคดีนี้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้สิ้นผลแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสอยู่ขณะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 คู่สมรสต้องขอเพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7978/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนจำนองสินสมรส - สิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส - อำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 นำทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสไปจำนองแก่ธนาคารจำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แต่จำเลยที่ 2 กลับรับจำนองไว้ โดยอ้างว่า ว. ซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมแล้ว ย่อมถือได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำนิติกรรมจำนองโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินที่ให้จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทนั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่ จำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 1469 ซึ่งการที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอหย่า และขอแบ่งสินสมรส และศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิ บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว อันเป็นการใช้สิทธิบอกล้างในขณะที่ โจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากัน ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกล้างสัญญา ระหว่างสมรสแล้ว ย่อมทำให้สัญญาดังกล่าวสิ้นความผูกพัน ทำให้ ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม และเมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้อง ต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง จึงต้องถือว่าขณะฟ้องคดีนี้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสัญญาระหว่าง สมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้สิ้นผลแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรส อยู่ขณะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 คู่สมรสต้องขอเพิกถอนนิติกรรมทั้งหมดจะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดเจ็บป่วยก่อนทำประกันชีวิตไม่ถือเป็นเหตุบอกล้างสัญญา หากไม่ชัดเจนว่าเป็นโรคเฉพาะเจาะจง
แม้ตรวจพบว่ามีการอักเสบของตับ แต่ตามรายงานการตรวจของแพทย์ได้แนะนำให้รับการวินิจฉัยต่อไป แสดงว่ายังไม่แน่ชัดว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคตับอักเสบหรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายทราบว่าตนป่วยเป็นโรคตับอักเสบ ดังนั้น การที่ผู้ตายมิได้แจ้งผลการตรวจโรคดังกล่าวในแบบสอบถามของจำเลย จึงมิใช่กรณีผู้ตายรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจจำเลยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก สัญญาประกันชีวิตไม่เป็นโมฆียะจำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า ผู้ตายประสบอุบัติเหตุหกล้มศีรษะกระแทกพื้นและเสียชีวิตจำเลยให้การเพียงว่า ผู้ตายปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนทราบมาก่อนว่าเป็นโรคตับ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ โดยไม่ได้ให้การปฏิเสธหรือโต้แย้งเรื่องผู้ตายประสบอุบัติเหตุแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาเช่าเป็นโมฆียะ ผู้เช่ามีสิทธิบอกล้างและเรียกร้องเงินคืน
ในขณะทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวพิพาท โจทก์ไม่รู้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทดังกล่าวอยู่ในแนวเขตที่ดิน ที่ที่จะถูกเวนคืน ซึ่งหากโจทก์ทราบความจริง โจทก์คงจะไม่ทำสัญญาเช่าดังกล่าวกับจำเลย เพราะโจทก์ไม่สามารถจะดำเนินกิจการร้านค้าบนที่ดินและตึกแถวพิพาทจนถึงจุดคุ้มทุนและมีกำไรตามความตั้งใจได้ การที่โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินที่เช่าซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ การแสดงเจตนาทำสัญญาเช่าของโจทก์จึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมไปยังจำเลย การอันเป็นโมฆียะกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 จำเลยต้องคืนเงินตามสัญญาเช่าที่ได้รับไปแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่า โจทก์ได้จ่ายเงินจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยเป็นค่าตอบแทนการเช่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำฟ้องว่า เงิน 300,000 บาท ที่โจทก์จ่ายให้จำเลยในวันทำสัญญาเช่านอกเหนือจากค่าเช่าที่จ่ายล่วงหน้านั้นเป็นเงินตอบแทนการเช่า ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าเงิน 300,000 บาท ดังกล่าวมิใช่เงินตอบแทนการเช่าหรือเงินกินเปล่า แต่เป็นเงินที่โจทก์ให้จำเลยเพื่อช่วยออกค่าภาษีแก่กรมสรรพากร จำเลยไม่ต้องคืนให้โจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเนื้อที่ดินในการซื้อขาย ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ และมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยโดยโจทก์ไม่เคยไปดูที่ดินที่ซื้อ จำเลยยืนยันว่าที่ดินมีเนื้อที่ตรงตาม ส.ค.1 ซึ่งไม่เป็นความจริง จึงเป็นการหลอกลวงฉ้อฉลโจทก์ให้เข้าทำสัญญา หากไม่มีการหลอกลวงโจทก์จะไม่เข้าทำสัญญา สัญญาจะซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โจทก์มีสิทธิบอกล้างตามมาตรา 175(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรส: สัญญาตกลงระหว่างคู่สมรส, การบอกล้างสัญญา, และสิทธิของบุคคลภายนอก
ทรัพย์พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป
แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469
แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินในสมรสและสิทธิของบุคคลภายนอกที่สุจริต: การบอกล้างสัญญาและการคุ้มครองสิทธิ
ทรัพย์ พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย และพฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์ พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การข่มขู่, มัดจำ, และการบอกล้างสัญญา
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกัน แล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์ เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย ยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัด แต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการ เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะ
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 389,000 บาท ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว" จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อไม่ได้วางมัดจำเงินจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้น เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน 389,000 บาท และจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว
แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์ อันเป็นวันหยุดราชการ ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา193/8 ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วย ดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้ทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็ยังคงมีความผูกพันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไป เมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
of 9