พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างรักษาความปลอดภัยหลังหมดอายุสัญญา การบอกเลิกชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 386
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์รักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี หลังจากครบกำหนด จำเลยที่ 1 ยังคงจ้างโจทก์ต่อมาโดยถือบังคับตามสัญญาเดิม โดยสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยนี้มีกำหนดระยะ 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 และสิ้นสุดสัญญาว่าจ้างในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 ในกรณีที่สัญญาครบกำหนดแล้วยังไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญา ให้ถือว่าสัญญายังมีผลใช้บังคับต่อไปได้อีก อนึ่งสัญญาฉบับนี้อาจถูกบอกเลิกการจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลาโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ดังนี้ การบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อนี้จึงมีผลใช้บังคับในระหว่างอายุสัญญาเท่านั้น กล่าวคือ ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2540 แม้หลังจากครบกำหนดตามอายุสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงว่าจ้างโจทก์ต่อมาโดยให้ถือว่าสัญญายังมีผลบังคับใช้ต่อไปได้อีกก็ตาม แต่กรณีเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาไว้และตามสัญญามิได้กำหนดเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญากันไว้ที่อื่น การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 การบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ มาตรา 386 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้าง การผ่อนปรนค่าปรับ และการมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายจากความล่าช้า
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 138 ที่โจทก์อ้างเป็นเหตุผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาระบุว่า หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น ร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างเป็นเงิน 370,000 บาท สัญญากำหนดค่าปรับตามสัญญาไว้วันละ 3,700 บาท จึงเท่ากับค่าปรับจำนวน 100 วัน เท่านั้น ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ผ่อนปรนให้ถึง 190 วัน เพราะจำเลยที่ 1 เคยยินยอมให้ปรับได้มาก่อนแล้ว ทั้งที่จำเลยที่ 1 ทิ้งงานไปเนิ่นนานแล้วมิใช่จำเลยที่ 1 กำลังดำเนินการก่อสร้างแต่ไม่อาจแล้วเสร็จได้ทันตามสัญญา จึงไม่มีเหตุให้โจทก์ต้องผ่อนปรนให้ถึง 190 วัน การที่โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเสียภายในเวลาอันสมควร แต่ปล่อยปละละเลยไว้จนค่าปรับมีจำนวนสูงเกินสมควรเช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควร เพราะโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นผู้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา เหตุจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ในศาลล่าง
จำเลยฎีกาว่าผู้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์มิใช่ผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลย ถือว่าจำเลยไม่เคยทราบถึงการบอกเลิกสัญญา ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ป้ายโฆษณาหลังบอกเลิกสัญญา: จำเลยยังคงเป็นเจ้าของและมีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ป้ายพิพาทเป็นป้ายที่จำเลยได้รับสิทธิติดตั้งโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตามสัญญากับโจทก์ เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สินของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทต่อโจทก์ตลอดมา แม้มีข้อตกลงตามสัญญาข้อ 3 ว่า ให้ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ตลอดจนส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทันทีที่ก่อสร้างเสร็จก็ตาม แต่ป้ายพิพาทที่จำเลยติดตั้งไว้นั้นไม่มีสภาพเป็นส่วนควบและที่ตามสัญญาข้อ 15 (ข) ระบุว่า ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันที นั้น ตามข้อสัญญาดังกล่าวสิ่งก่อสร้างคือศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ส่วนวัสดุก่อสร้างคือวัสดุที่ใช้ก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง แต่ป้ายโฆษณาเป็นสิ่งที่จำเลยนำมาติดตั้งเพื่อโฆษณาหาใช่วัสดุก่อสร้างไม่ จำเลยจึงยังคงเป็นเจ้าของป้ายดังกล่าวหาได้ตกเป็นของโจทก์ไม่ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยในฐานะเจ้าของป้ายพิพาทย่อมมีหน้าที่ต้องรื้อถอนป้ายพิพาทออกไป แต่จำเลยละเว้นเสียยังคงติดตั้งป้ายโฆษณาของตนจนปี 2544 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายประจำปี 2544 ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 7 เมื่อโจทก์แจ้งการประเมินภาษีป้ายให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นอันยุติ จำเลยต้องเสียภาษีป้ายตามที่โจทก์ประเมินพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ป้ายโฆษณาหลังบอกเลิกสัญญา: จำเลยยังคงเป็นเจ้าของและมีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ป้ายพิพาทเป็นป้ายที่จำเลยได้รับสิทธิติดตั้งโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตามสัญญา เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สินของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทต่อโจทก์ตลอดมา แม้มีข้อตกลงตามสัญญาข้อ 3 ว่า ให้ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตลอดจนส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทันทีที่ก่อสร้างเสร็จ แต่ป้ายพิพาทที่จำเลยติดตั้งไว้นั้นไม่มีสภาพเป็นส่วนควบ และแม้จะมีข้อสัญญาระบุว่า ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีนั้น สิ่งก่อสร้างคือ ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางส่วนวัสดุก่อสร้างคือ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง แต่ป้ายโฆษณาเป็นสิ่งที่จำเลยนำมาติดตั้งเพื่อโฆษณา หาใช่วัสดุก่อสร้างไม่ จำเลยจึงยังคงเป็นเจ้าของป้ายดังกล่าว หาได้ตกเป็นของโจทก์ไม่ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยในฐานะเจ้าของป้ายพิพาทย่อมมีหน้าที่ต้องรื้อถอนป้ายพิพาทออกไป แต่จำเลยละเว้นเสียยังคงติดตั้งป้ายโฆษณาของตนจนล่วงเข้าปี 2544 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายประจำปี 2544 ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ มาตรา 7 เมื่อโจทก์แจ้งการประเมินภาษีป้ายให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นอันยุติ จำเลยจึงต้องเสียภาษีป้ายตามที่โจทก์ประเมินพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารเนื่องจากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยไม่ต้องบอกกล่าวกำหนดเวลา
จำเลยก่อสร้างอาคารไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และจนถึงเวลาที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย จำเลยก็ยังก่อสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จ พฤติการณ์เช่นนี้โจทก์หาจำต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ก่อนบอกเลิกสัญญาไม่ เพราะถึงอย่างไรจำเลยก็ไม่อาจหรือไม่มีเจตนาที่จะชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาได้อยู่ดี โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ชอบแล้ว เมื่อสัญญาเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้และเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ด้วยนับแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากไม่ก่อสร้างกำแพงส่วนกลาง ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ถือเป็นข้อสำคัญถึงขนาด
การประพฤติผิดสัญญาของคู่สัญญาอันจะเป็นเหตุให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้นั้น การประพฤติผิดสัญญาดังกล่าวจะต้องเป็นข้อสำคัญถึงขนาด สำหรับการก่อสร้างกำแพงด้านหน้าอาคารที่โจทก์และจำเลยที่ 1 โต้เถียงกันว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือไม่ แม้การก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จจะหมายถึงการสร้างทรัพย์ส่วนกลางด้วย แต่โดยสภาพของทรัพย์ส่วนกลางกรณีนี้เป็นเพียงทรัพย์ส่วนที่จะเอื้ออำนวยในการใช้ห้องชุด และในหนังสือเลิกสัญญาโจทก์ระบุแต่เพียงว่า จนบัดนี้จำเลยที่ 1 ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จและไม่สามารถดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ โดยมิได้ระบุเฉพาะเจาะจงถึงกำแพงด้านหน้าอาคาร แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอาการก่อสร้างกำแพงด้านหน้าอาคารนี้เป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดหากทราบว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาข้อนี้จะไม่เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ดังนั้น แม้หากกำแพงด้านหน้าอาคารชุดจะเป็นทรัพย์ส่วนกลางจริง การที่จำเลยที่ 1 ไม่ก่อสร้างกำแพงดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามสัญญา ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุด: การประพฤติผิดสัญญาต้องเป็นข้อสำคัญถึงขนาด
สัญญาจะซื้อขายห้องชุดในโครงการอาคารชุดศรีเจริญคอนโดทาวน์ที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายในกำหนด ส่วนโจทก์จะผ่อนชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 สร้างห้องชุดเสร็จแล้วในระหว่างสัญญา คงมีกำแพงด้านหน้าอาคารชุดเท่านั้นที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เพียงนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาอันจะเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ เพราะการประพฤติผิดสัญญาของคู่สัญญาอันจะเป็นเหตุให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้น ต้องเป็นข้อสำคัญถึงขนาด แม้การก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จจะหมายความรวมถึงการสร้างทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเป็นกำแพงด้านหน้าอาคารชุด แต่กำแพงดังกล่าวเป็นเพียงทรัพย์ส่วนที่จะเอื้ออำนวยในการใช้ห้องชุด อีกทั้งหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์มิได้ระบุเฉพาะเจาะจงถึงกำแพงด้านหน้าอาคาร แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอาการก่อสร้างกำแพงดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดหากทราบว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาข้อนี้จะไม่เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่กำแพงดังกล่าวยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญาในขณะที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8305/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การไม่ถือเอาเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญ & การบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารโดยไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายที่ต้องชำระในวันที่ 1 เมษายน 2540 สัญญาจึงเลิกกัน จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ผิดนัดชำระในงวดดังกล่าวเพราะโจทก์ยังไม่จัดหาธนาคารให้จำเลยกู้เงินมาชำระค่าที่ดินและอาคารงวดสุดท้ายในวันที่ 1 เมษายน 2540 ประเด็นในคดีจึงมีว่าการที่จำเลยยังไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันที่ 1 เมษายน 2540 ตามที่สัญญาระบุไว้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ถือกำหนดเวลาชำระเงินงวดที่ 26 ซึ่งตามสัญญาระบุไว้ว่าต้องชำระในวันที่ 1 เมษายน 2540 เป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นในคดี มิได้นอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การแต่อย่างใด
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจะกำหนดว่าจำเลยต้องชำระเงินค่าที่ดินและอาคารที่เหลือต่อไปอีก 26 งวด ภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน แต่เมื่อจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดตั้งแต่งวดที่ 8 เป็นต้นมา โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ทั้งเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาชำระเงินงวดสุดท้ายมาเกือบ 1 ปี โจทก์ยังมีหนังสือแจ้งให้จำเลยจัดส่งเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อสำหรับเงินงวดสุดท้ายจากธนาคารให้โจทก์อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเงินตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดเวลาที่กำหนด จะถือว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเลิกกันทันทีไม่ได้ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เสียก่อน ส่วนหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทไม่ถือว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา ไม่มีผลให้สัญญาเลิกกัน
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจะกำหนดว่าจำเลยต้องชำระเงินค่าที่ดินและอาคารที่เหลือต่อไปอีก 26 งวด ภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน แต่เมื่อจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดตั้งแต่งวดที่ 8 เป็นต้นมา โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ทั้งเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาชำระเงินงวดสุดท้ายมาเกือบ 1 ปี โจทก์ยังมีหนังสือแจ้งให้จำเลยจัดส่งเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อสำหรับเงินงวดสุดท้ายจากธนาคารให้โจทก์อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเงินตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดเวลาที่กำหนด จะถือว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเลิกกันทันทีไม่ได้ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เสียก่อน ส่วนหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทไม่ถือว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา ไม่มีผลให้สัญญาเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา และโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้ทำตามสัญญา
หลังจากโจทก์ชำระเงินงวดที่ 11 ให้จำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ไม่ได้ชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จจนปัจจุบันนี้เพราะมีปัญหาเรื่องการเงิน กรณีจึงเป็นที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโดยพฤติการณ์แห่งคดีหรือโดยสภาพหรือโดยเจตนาของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไปอีก เพราะถึงอย่างไรจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไปอันเป็นการไม่ชำระหนี้อยู่ดีและหากยังคงให้โจทก์ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 อีก ย่อมเป็นการยังความเสียหายแก่โจทก์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทให้แล้วเสร็จอีก การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้วและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์