พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงและผลกระทบจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเดิม สิทธิในการเรียกร้องค่าเช่าของผู้ให้เช่า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งโจทก์เช่ามาจากจำเลยที่ 2ที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของ. โดยโจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้ และได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าช่วง. ก่อนคดีนี้จำเลยที่2 ที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์จากห้องเลขที่ 21-23 ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น.ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่. คดีอยู่ระหว่างฎีกา ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา. โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพียงใด. การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องพิพาท. โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ก็เพื่อนำมาวินิจฉัยประเด็นที่ว่า ระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา. โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่. จึงไม่เป็นการนอกประเด็น. และขาดพยานหลักฐานสนับสนุนในท้องสำนวน.
เมื่อผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญา. แม้ผู้เช่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ชำระค่าเช่า.
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ซ.ครบกำหนดแล้วซ.ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์. ซึ่งข้อเท็จจริงนี้คู่ความมิได้รับกัน. และไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน. เป็นแต่จำเลยยกขึ้นอ้างในคำให้การ. ซึ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์. แต่เมื่อโจทก์จำเลยสละข้อพิพาทในประเด็นอื่น. นอกจากเรื่องค่าเช่าและค่าเสียหาย และไม่ติดใจสืบพยาน. คดีไม่มีทางรับฟังตามข้ออ้างของจำเลย. ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผิดกฎหมาย.ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงข้อนี้ใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247,243.
คู่กรณีทำสัญญาเช่าต่อกัน 2 ฉบับ. ฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3 โดยโจทก์เช่าห้อง 12ห้อง รวมทั้งห้องพิพาทจากจำเลยที่ 2,3. อีกฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1. จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าช่วงห้องพิพาทจากโจทก์. สัญญา 2 ฉบับนี้ไม่เกี่ยวพันกัน. เพราะเป็นหนี้คนละราย. แม้จำเลยที่ 2,3 บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2502.อันจะมีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3เลิกกันตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2503 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ก็ตาม. แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังผูกพันกันอยู่. เพราะไม่มีกรณีที่ทำให้สัญญาฉบับนี้เลิกกันไม่ว่าโดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมาย. แม้สัญญาสิ้นกำหนด. แต่จำเลยที่ 1 ยังครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง. ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา. ตราบใดที่โจทก์ยังให้จำเลยที่ 1 ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าได้แล้ว. จำเลยที่ 1ก็ต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์.
เมื่อจำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมออก. จำเลยที่ 2,3 จึงฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ที่โจทก์ทำเป็นโรงแรม. อันเป็นส่วนหนึ่งของห้องที่โจทก์เช่าจากจำเลยทั้งหมด. แต่หาได้ฟ้องขับไล่โจทก์หรือห้ามโจทก์มิให้เกี่ยวข้องกับห้องพิพาทด้วยไม่. ตามคำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ได้ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 360 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากห้อง. ค่าเสียหายนี้เท่ากับจำนวนค่าเช่าที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 2,3 รวมทั้งห้องพิพาท. ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ใช้ห้องพิพาทมาแต่ต้นโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ และคงใช้ห้องพิพาทตลอดมา. โดยมีสัญญาเช่าผูกพันกันอยู่ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้ห้องพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าเดิม. จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามอัตราในสัญญา. คือเดือนละ 37.50บาท ตลอดเวลาที่ใช้ห้องพิพาทตามสัญญาเช่า.
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เทียบอัตราค่าเช่าเดือนละ 37.50 บาท. นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่า. เมื่อพิจารณาประกอบคำขอท้ายฟ้อง. ก็เห็นว่าโจทก์หมายถึงค่าเช่าด้วย. ฉะนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้ชำระค่าเช่าให้โจทก์ได้.
แต่ที่โจทก์ขอให้ชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่านั้น. ปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าถ้าคดีแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุด. โดยศาลพิพากษาขับไล่โจทก์. โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลยที่ 1. แต่ขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่าระหว่างนี้โจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือไม่.คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์. โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยที่ 1 อยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่วันโจทก์ฟ้องนั้นเป็นการอยู่โดยผิดสัญญาต่อไป. เพราะสละสิทธิที่ขอให้บังคับตามฟ้องในข้อนี้เสียแล้ว. คงสงวนสิทธิแต่จะเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในระหว่างนั้นเท่านั้น. ศาลฎีกาจึงเห็นว่าควรบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าให้โจทก์เพียงแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนถึงวันฟ้อง.
เมื่อผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญา. แม้ผู้เช่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ชำระค่าเช่า.
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ซ.ครบกำหนดแล้วซ.ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์. ซึ่งข้อเท็จจริงนี้คู่ความมิได้รับกัน. และไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน. เป็นแต่จำเลยยกขึ้นอ้างในคำให้การ. ซึ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์. แต่เมื่อโจทก์จำเลยสละข้อพิพาทในประเด็นอื่น. นอกจากเรื่องค่าเช่าและค่าเสียหาย และไม่ติดใจสืบพยาน. คดีไม่มีทางรับฟังตามข้ออ้างของจำเลย. ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผิดกฎหมาย.ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงข้อนี้ใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247,243.
คู่กรณีทำสัญญาเช่าต่อกัน 2 ฉบับ. ฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3 โดยโจทก์เช่าห้อง 12ห้อง รวมทั้งห้องพิพาทจากจำเลยที่ 2,3. อีกฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1. จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าช่วงห้องพิพาทจากโจทก์. สัญญา 2 ฉบับนี้ไม่เกี่ยวพันกัน. เพราะเป็นหนี้คนละราย. แม้จำเลยที่ 2,3 บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2502.อันจะมีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3เลิกกันตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2503 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ก็ตาม. แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังผูกพันกันอยู่. เพราะไม่มีกรณีที่ทำให้สัญญาฉบับนี้เลิกกันไม่ว่าโดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมาย. แม้สัญญาสิ้นกำหนด. แต่จำเลยที่ 1 ยังครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง. ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา. ตราบใดที่โจทก์ยังให้จำเลยที่ 1 ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าได้แล้ว. จำเลยที่ 1ก็ต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์.
เมื่อจำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมออก. จำเลยที่ 2,3 จึงฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ที่โจทก์ทำเป็นโรงแรม. อันเป็นส่วนหนึ่งของห้องที่โจทก์เช่าจากจำเลยทั้งหมด. แต่หาได้ฟ้องขับไล่โจทก์หรือห้ามโจทก์มิให้เกี่ยวข้องกับห้องพิพาทด้วยไม่. ตามคำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ได้ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 360 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากห้อง. ค่าเสียหายนี้เท่ากับจำนวนค่าเช่าที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 2,3 รวมทั้งห้องพิพาท. ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ใช้ห้องพิพาทมาแต่ต้นโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ และคงใช้ห้องพิพาทตลอดมา. โดยมีสัญญาเช่าผูกพันกันอยู่ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้ห้องพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าเดิม. จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามอัตราในสัญญา. คือเดือนละ 37.50บาท ตลอดเวลาที่ใช้ห้องพิพาทตามสัญญาเช่า.
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เทียบอัตราค่าเช่าเดือนละ 37.50 บาท. นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่า. เมื่อพิจารณาประกอบคำขอท้ายฟ้อง. ก็เห็นว่าโจทก์หมายถึงค่าเช่าด้วย. ฉะนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้ชำระค่าเช่าให้โจทก์ได้.
แต่ที่โจทก์ขอให้ชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่านั้น. ปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าถ้าคดีแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุด. โดยศาลพิพากษาขับไล่โจทก์. โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลยที่ 1. แต่ขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่าระหว่างนี้โจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือไม่.คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์. โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยที่ 1 อยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่วันโจทก์ฟ้องนั้นเป็นการอยู่โดยผิดสัญญาต่อไป. เพราะสละสิทธิที่ขอให้บังคับตามฟ้องในข้อนี้เสียแล้ว. คงสงวนสิทธิแต่จะเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในระหว่างนั้นเท่านั้น. ศาลฎีกาจึงเห็นว่าควรบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าให้โจทก์เพียงแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนถึงวันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยกล่าวว่าสัญญาเช่าสิ้นอายุและได้บอกเลิกการเช่าแก่จำเลยแล้ว จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย คำบอกกล่าวท้ายฟ้องหากมีจริงก็เป็นเอกสารทำขึ้นโดยมิชอบในภายหลัง ดังนี้ จำเลยหาได้ต่อสู้ว่า โจทก์ได้บอกกล่าวจำเลย แต่เป็นการบอกกล่าวที่ไม่ให้โอกาสจำเลยรู้ตังก่อนระยะเวลาเก็บค่าเช่าระยะหนึ่งไม่ เมื่อจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ดังนั้น จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225,249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าด้วยวาจา การแต่งตั้งตัวแทนโดยชัดแจ้ง
การบอกเลิกสัญญาเช่า กฎหมายมิได้บังคับว่า จะต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้โจทก์จะเพียงมอบอำนาจด้วยวาจาให้บุคคลที่สามบอกเลิกสัญญาเช่าแทนโจทก์บุคคลที่สามที่ว่านั้น ก็ย่อมเป็นตัวแทนของโจทก์โดยชอบ เพราะถือได้ว่าการตั้งตัวแทนเช่นนี้ เป็นการแต่งตั้งแสดงออกชัดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจทนายบอกเลิกสัญญาเช่าทำได้ด้วยวาจา ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
การมอบให้ทนายความบอกกล่าวเลิกการเช่าบ้าน ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนในการนี้ด้วยวาจาก็ใช้ได้(อ้างฎีกาที่ 178/2496)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ทนายความทำแทนเจ้าของได้
การบอกเลิกการเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566นั้น กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นทนายความมีหนังสือบอกเลิกการเช่าแทนผู้ให้เช่า จึงเป็นการสมบูรณ์ใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ทำให้ผู้เช่าย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายฉบับดังกล่าว
การเช่าที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ในภาวะคับขัน พ.ศ. 2486 หรือ 2488 นั้น ถ้ามีการบอกเลิกการเช่ากันโดยชอบก่อนแล้ว แต่ผู้เช่าไม่ยอมออกจากที่เช่าจนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ 2486 ถือว่าไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนมี พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ผู้เช่าไม่ส่งมอบทรัพย์สิน ถือละเมิดสิทธิ ไม่ได้รับความคุ้มครอง
บอกเลิกสัญญาเช่าถูกต้องตามสัญญาแล้ว ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า ถ้าไม่ยอมส่งมอบ ก็เป็นผู้ยึดถือทรัพย์สินของเขาไว้โดยชอบ เป็นผู้ละเมิดสิทธิไม่ใช่ผู้เช่าต่อไป
บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าใน ภาวะคับขัน 2489 ผู้เช่าไม่ยอมออก จนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน 2489 แล้ว ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.นี้ เพราะไม่ได้เป็นผู้เช่าแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน 2489 คุ้มครองแต่ฉะเพาะผู้เช่าในวันใช้ พ.ร.บ.นั้นเป็นต้นมา.
บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าใน ภาวะคับขัน 2489 ผู้เช่าไม่ยอมออก จนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน 2489 แล้ว ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.นี้ เพราะไม่ได้เป็นผู้เช่าแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน 2489 คุ้มครองแต่ฉะเพาะผู้เช่าในวันใช้ พ.ร.บ.นั้นเป็นต้นมา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5901/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่า: การส่งหนังสือบอกเลิกถึงภูมิลำเนา ถือว่ามีผลตามกฎหมาย แม้ผู้รับไม่รับ
การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้านั้น ป.พ.พ. มาตรา 169 บัญญัติว่า "การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา..." ถ้อยคำที่ว่าไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้นมิได้หมายความว่า ผู้นำจดหมายไปส่งจะต้องได้พบผู้รับการแสดงเจตนาโดยตรง แต่หมายความว่า ผู้นำจดหมายไปส่งต้องไปส่ง ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับการแสดงเจตนา แม้ขณะไปถึงภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับการแสดงเจตนา จะไม่พบผู้รับการแสดงเจตนาโดยตรง ก็ถือว่าเป็นการส่งยังสถานที่ที่ถูกต้องแล้ว ดังนี้ การที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไปส่งให้จำเลยที่ 2 ที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 อันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการ แม้จะไม่พบจำเลยที่ 2 และไม่มีผู้ใดรับไว้ แต่ก็ถือได้ว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ได้ไปถึงจำเลยที่ 2 และมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว การบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ไปยังจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย