คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับตามสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับตามสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้
แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาตาม มาตรา 213 วรรคหนึ่ง หรือจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ก็ได้ สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายส่วนการที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญากันว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นเพียงการกล่าวย้ำถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 เท่านั้น มิได้เป็นการยกเลิกสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่ง ในอันที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาได้ด้วย ตามมาตรา 213 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับตามสัญญาและการเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้
แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาตาม มาตรา 213 วรรคหนึ่งหรือจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ก็ได้สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายส่วนการที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญากันว่าหากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นเพียงการกล่าวย้ำถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 เท่านั้นมิได้เป็นการยกเลิกสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่งในอันที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาได้ด้วยตามมาตรา 213 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินและสิทธิของผู้จัดการมรดกในการบังคับตามสัญญา
หนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องที่จำเลยได้ทำกับ ร.มีข้อความระบุว่าตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ร.และบิดาจำเลย เนื่องจากบิดาจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยจะขอรับมรดกที่พิพาทส่วนของบิดาเมื่อได้รับมรดกที่พิพาทนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนของบิดาที่รับมรดกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ให้แก่ ร. ส่วน ร.จะโอนที่ดิน 3 แปลงให้แก่จำเลย ต่อมามีการบันทึกเพิ่มเติมว่า จำเลยได้รับ ส.ค.1 ที่เชิงทะเลไปแล้วจำเลยจะโอนที่พิพาทให้แก่พวกลูก ร. เมื่อถึงเวลาพวกลูกของ ร.ต้องการ จำเลยจะโอนให้ทันที ดังนี้ เมื่อขณะทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อบิดาจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดอยู่ ทั้งสัญญาระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อรับโอนมรดกแล้วข้อตกลงตามสัญญาจึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 519 ประกอบมาตรา456 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร. ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยได้
ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยได้รับที่ดินของ ร.ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งที่พิพาท จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนส่วนของจำเลยในโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เมื่อจำเลยเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องบังคับตามสัญญาและการผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องที่จำเลยได้ทำกับ ร.มีข้อความระบุว่าตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ร.และบิดาจำเลย เนื่องจากบิดาจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยจะขอรับมรดกที่พิพาทส่วนของบิดา เมื่อได้รับ มรดกที่พิพาทหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ ที่พิพาทส่วนของบิดาที่รับมรดกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ให้แก่ ร.ส่วนร. จะโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยต่อมามีการบันทึกเพิ่มเติมว่า จำเลยได้รับ ส.ค.1 ที่เชิงทะเลไปแล้ว จำเลยจะโอนที่พิพาทให้แก่พวกลูก ร.เมื่อถึงเวลาพวกลูกของ ร.ต้องการ จำเลยจะโอนให้ทันที ดังนี้เมื่อขณะทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อบิดาจำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดอยู่ ทั้งสัญญาระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อรับโอนมรดกแล้วข้อตกลงตามสัญญา จึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ประกอบมาตรา 456 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร. ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยได้ ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยได้รับที่ดินของ ร. ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งที่พิพาท จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนส่วนของจำเลยในโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เมื่อจำเลยเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ทั้งสอง ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสัญญาประกัน – คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงที่สุด – ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาไม่ชอบ
ผู้ประกันขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ประกันอุทธรณ์ขอให้ไม่ปรับหรือปรับน้อยลง ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่าให้ลดค่าปรับผู้ประกันลงเหลือ 250,000บาท คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ประกันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษาคดีก่อน ไม่เป็นข้อหาเดิม
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยให้การว่า หลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือ แต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่า ตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้น จำเลยไม่สามารถรื้อได้ ขอให้ศาลยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ได้หรือไม่ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้บังคับตามข้อตกลงได้
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลังแห่งข้อหาว่า โจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยให้การว่า หลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือ แต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่า ตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้น จำเลยไม่สามารถรื้อได้ขอให้ศาลยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ได้หรือไม่ ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษาเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยให้บังคับตามข้อตกลงได้ แม้คดีก่อนฟ้องแบ่งแยกที่ดิน
ในคดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลังแห่งข้อหาว่าโจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกันส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข3ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยให้การว่าหลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้วส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือแต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่าตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้นจำเลยไม่สามารถรื้อได้ขอให้ศาลยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข3ได้หรือไม่ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่งฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน การไม่ปฏิบัติตามสัญญาทำให้คู่สัญญาไม่สามารถเรียกร้องบังคับได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแต่ละฝ่ายยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งรับโอนมรดกตามส่วนที่ตกลงแบ่งกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อโจทก์ไปคัดค้านมิให้จำเลยได้รับโอนมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะให้ศาลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญายอมเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับ
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแต่ละฝ่ายยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งรับโอนมรดกตามส่วนที่ตกลงแบ่งกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไปคัดค้านมิให้จำเลยได้รับโอนมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะให้ศาลบังคับปฏิบัติตามสัญญายอมเช่นกัน
of 11