พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานและการสืบพยาน: สิทธิจำเลยในการนำพยานเข้าสืบ
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ
ป.วิ.พ.มาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณีกรณีแรกเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้สิ้นสุดลงแล้ว กับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว
จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้องเป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87 (2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน
ป.วิ.พ.มาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณีกรณีแรกเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้สิ้นสุดลงแล้ว กับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว
จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้องเป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87 (2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานและการไม่อ้างตนเองเป็นพยานเมื่อไม่ได้ยื่นคำให้การและไม่ได้ขออนุญาต
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณา จากคดีเดิมเป็นสำคัญ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณี กรณีแรกเป็นการยืนบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยาน ได้สิ้นสุดลงแล้วกับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้อง เป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87(2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด: ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตได้ตามมาตรา 88 วรรคสี่ หากมีเหตุสมควร
ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทระบุว่ากรรมการของโจทก์มี 7 คน ว. เป็นกรรมการคนที่ 4 และพ. เป็นกรรมการคนที่ 5 ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น และใน ข้อ 3 ระบุว่า กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ คือบ. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์หรือกรรมการอื่น 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งมอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทน มีพ.และว. กรรมการของโจทก์ 2 คนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าพ.และว.มอบอำนาจให้แก่อ.ในนามของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ คดีนี้จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เพียงว่าพ.และว.ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดีนี้ และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจ ให้อ. ฟ้องคดีนี้เท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าผู้รับมอบอำนาจคือ พ.และว. ไม่ใช่โจทก์และตราที่ประทับไว้ที่ด้านล่างของหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีผู้ใดยืนยันว่าเป็นตราสำคัญของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับเพราะยื่นเกินกำหนดเวลาและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 1 กันยายน 2537 ซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนมา โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมศาลชั้นต้นยกคำร้องและมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันว่า ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ถือว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 21 ตุลาคม 2537ในวันที่ 14 กันยายน 2537 โจทก์ยื่นคำร้องว่า มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนาย ไม่นำบัญชีระบุพยานไปยื่นภายในกำหนดตามที่มอบหมาย และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2537เพราะศาลไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องเช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของโจทก์ทั้ง 3ครั้งดังกล่าว ก็เป็นการสั่งตามที่บทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้อำนาจไว้เป็นขั้นตอนให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควร ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 88 วรรคสี่ซึ่งใช้โอกาสคู่ความขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานก่อน ศาลมีคำพิพากษา โดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นบัญชี ระบุพยานภายในกำหนดเวลาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่นั่นเอง เมื่อได้พิเคราะห์ถึงคำร้องขอระบุบัญชีพยานครั้งก่อนลงวันที่ 14 กันยายน 2537 ที่อ้างว่า ทนายความโจทก์มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีพยานไปยื่นภายในกำหนด และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องในวันที่ 1 กันยายน 2537ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์เพราะศาลมีคำสั่งไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ ประกอบกับคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ครั้งหลังสุดคือฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 ซึ่งอ้างเหตุว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดเพียง 3 วัน และในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ส่งต้นฉบับเอกสารที่จะอ้างเป็นพยานตามที่ระบุในบัญชีระบุพยานซึ่งศาลได้รับต้นฉบับเอกสารของโจทก์ไว้แล้ว ประกอบคดีนี้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้ปฏิเสธหนี้ตามฟ้องโจทก์ทั้งการที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลอนุญาตนั้น ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดประกอบกับคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้า จากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ตามกำหนดและพยานหลักฐานตามบัญชีระบุพยานที่โจทก์อ้าง และขออนุญาต ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าและการผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าของจำเลยให้แก่โจทก์อันเป็นข้อสำคัญแห่งประเด็นในคดี ดังนั้น เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญ แห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยาน หลักฐานเช่นว่านั้น ทั้งพยานฝ่ายจำเลยก็ยังมิได้มีการนำสืบการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยาน และสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่แล้ว โจทก์มีสิทธินำพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสืบและศาลชั้นต้นมีอำนาจนำมารับฟังในการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีระบุพยานไม่ชอบ, ประวิงคดี: การรอสืบพยานต้องมีขอบเขต, ศาลไม่ปล่อยให้ประวิงคดี
ในบัญชีระบุพยานของจำเลยลำดับที่ 3 และที่ 4 ได้ระบุชื่อพยานไว้ กับระบุว่า "ที่อยู่จะเสนอต่อศาลในวันขอหมายเรียก" เมื่อบัญชีระบุพยานดังกล่าวมิได้ระบุที่อยู่ของบุคคล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานดังกล่าวนั้นได้
นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยาน และไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย มิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยาน และไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย มิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ระบุที่อยู่พยานในบัญชีระบุพยาน และผลกระทบต่อการดำเนินคดี การประวิงคดี
ในบัญชีระบุพยานของจำเลยลำดับที่ 3 และที่ 4ได้ระบุชื่อพยานไว้ กับระบุว่า "ที่อยู่จะเสนอต่อศาลในวันขอหมายเรียก" เมื่อบัญชีระบุพยานดังกล่าวมิได้ระบุที่อยู่ของบุคคล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ไม่ชอบศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานดังกล่าวนั้นได้ นับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบจนกระทั่งถึงวันสืบพยานจำเลยครั้งหลังสุดมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 7 เดือน ระหว่างนั้นจำเลยมีโอกาสที่จะติดตามตัวหรือสืบทราบที่อยู่ของพยานได้ และแม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลใหม่ จำเลยก็ยังไม่รู้ที่อยู่ของพยานและไม่สามารถระบุที่อยู่ของพยานได้อีก ดังนี้การรอสืบพยานจำเลยย่อมไม่มีเวลาสิ้นสุด ตราบใดที่จำเลยยังติดตามตัวพยานเพื่อสืบหาที่อยู่ของพยานไม่ได้ ย่อมจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี เพราะการให้โอกาสในการดำเนินคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่ายมิใช่จะมุ่งให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด & เหตุสมควร ศาลอนุญาตให้ยื่นได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทระบุว่ากรรมการของโจทก์มี 7 คน ว.เป็นกรรมการคนที่ 4 และ พ. เป็นกรรมการคนที่ 5ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น และใน ข้อ 3 ระบุว่า กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ คือ บ.ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์หรือกรรมการอื่น 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งมอบอำนาจให้ อ.เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทน มี พ. และ ว. กรรมการของโจทก์ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่า พ. และ ว.มอบอำนาจให้แก่ อ.ในนามของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คดีนี้จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เพียงว่า พ.และ ว.ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดีนี้ และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้เท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าผู้รับมอบอำนาจคือ พ.และ ว. ไม่ใช่โจทก์ และตราที่ประทับไว้ที่ด้านล่างของหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีผู้ใดยืนยันว่าเป็นตราสำคัญของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ เพราะยื่นเกินกำหนดเวลาและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 1กันยายน 2537 ซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนมา โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมศาลชั้นต้นยกคำร้องและมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันว่า ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ ถือว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 21 ตุลาคม 2537 ในวันที่ 14 กันยายน 2537โจทก์ยื่นคำร้องว่า มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีระบุพยานไปยื่นภายในกำหนดตามที่มอบหมาย และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2537 เพราะศาลไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของโจทก์ทั้ง 3ครั้งดังกล่าว ก็เป็นการสั่งตามที่บทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งป.วิ.พ.ให้อำนาจไว้เป็นขั้นตอนให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควร ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 88 วรรคสี่ซึ่งให้โอกาสคู่ความขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานก่อนศาลมีคำพิพากษา โดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงเป็นการใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสี่นั่นเอง เมื่อได้พิเคราะห์ถึงคำร้องขอระบุบัญชีพยานครั้งก่อนลงวันที่ 14 กันยายน2537 ที่อ้างว่า ทนายความโจทก์มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีพยานไปยื่นภายในกำหนด และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องในวันที่ 1 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์เพราะศาลมีคำสั่งไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ ประกอบกับคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ครั้งหลังสุดคือฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 ซึ่งอ้างเหตุว่า โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดเพียง 3 วัน และในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ส่งต้นฉบับเอกสารที่จะอ้างเป็นพยานตามที่ระบุในบัญชีระบุพยานซึ่งศาลได้รับต้นฉบับเอกสารของโจทก์ไว้แล้ว ประกอบคดีนี้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้ปฏิเสธหนี้ตามฟ้องโจทก์ ทั้งการที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลอนุญาตนั้น ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนด ประกอบกับคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ตามกำหนด และพยานหลักฐานตามบัญชีระบุพยานที่โจทก์อ้าง และขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าและการผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าของจำเลยให้แก่โจทก์อันเป็นข้อสำคัญแห่งประเด็นในคดี ดังนั้น เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ทั้งพยานฝ่ายจำเลยก็ยังมิได้มีการนำสืบ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยาน และสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88วรรคสี่ แล้ว โจทก์มีสิทธินำพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสืบ และศาลชั้นต้นมีอำนาจนำมารับฟังในการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้
คดีนี้จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เพียงว่า พ.และ ว.ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดีนี้ และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้เท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าผู้รับมอบอำนาจคือ พ.และ ว. ไม่ใช่โจทก์ และตราที่ประทับไว้ที่ด้านล่างของหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีผู้ใดยืนยันว่าเป็นตราสำคัญของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ เพราะยื่นเกินกำหนดเวลาและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 1กันยายน 2537 ซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนมา โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมศาลชั้นต้นยกคำร้องและมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันว่า ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ ถือว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 21 ตุลาคม 2537 ในวันที่ 14 กันยายน 2537โจทก์ยื่นคำร้องว่า มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีระบุพยานไปยื่นภายในกำหนดตามที่มอบหมาย และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2537 เพราะศาลไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของโจทก์ทั้ง 3ครั้งดังกล่าว ก็เป็นการสั่งตามที่บทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งป.วิ.พ.ให้อำนาจไว้เป็นขั้นตอนให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควร ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 88 วรรคสี่ซึ่งให้โอกาสคู่ความขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานก่อนศาลมีคำพิพากษา โดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงเป็นการใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสี่นั่นเอง เมื่อได้พิเคราะห์ถึงคำร้องขอระบุบัญชีพยานครั้งก่อนลงวันที่ 14 กันยายน2537 ที่อ้างว่า ทนายความโจทก์มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีพยานไปยื่นภายในกำหนด และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องในวันที่ 1 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์เพราะศาลมีคำสั่งไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ ประกอบกับคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ครั้งหลังสุดคือฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 ซึ่งอ้างเหตุว่า โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดเพียง 3 วัน และในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ส่งต้นฉบับเอกสารที่จะอ้างเป็นพยานตามที่ระบุในบัญชีระบุพยานซึ่งศาลได้รับต้นฉบับเอกสารของโจทก์ไว้แล้ว ประกอบคดีนี้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้ปฏิเสธหนี้ตามฟ้องโจทก์ ทั้งการที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลอนุญาตนั้น ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนด ประกอบกับคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ตามกำหนด และพยานหลักฐานตามบัญชีระบุพยานที่โจทก์อ้าง และขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าและการผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าของจำเลยให้แก่โจทก์อันเป็นข้อสำคัญแห่งประเด็นในคดี ดังนั้น เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ทั้งพยานฝ่ายจำเลยก็ยังมิได้มีการนำสืบ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยาน และสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88วรรคสี่ แล้ว โจทก์มีสิทธินำพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสืบ และศาลชั้นต้นมีอำนาจนำมารับฟังในการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังพ้นกำหนด - ศาลต้องพิจารณาคำสั่งก่อนพิพากษา
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้าน พร้อมกับยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะทรัพย์ตามพินัยกรรม ศาลอุทธรณ์จำต้องพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา239 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านเพิ่งยื่นในวันนัดสืบพยาน ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสองแล้ว ทั้งคำร้องมิได้ระบุเหตุแห่งความล่าช้าหรือเหตุสมควรอื่นใดตามมาตรา 88 วรรคสี่ จึงไม่อาจพิจารณาสั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านได้
ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านเพิ่งยื่นในวันนัดสืบพยาน ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสองแล้ว ทั้งคำร้องมิได้ระบุเหตุแห่งความล่าช้าหรือเหตุสมควรอื่นใดตามมาตรา 88 วรรคสี่ จึงไม่อาจพิจารณาสั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม และการพิพากษาเรื่องการจัดการมรดกตามพินัยกรรม
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านพร้อมกับยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะทรัพย์ตามพินัยกรรมศาลอุทธรณ์จำต้องพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านเพิ่งยื่นในวันนัดสืบพยาน ซึ่งสิ้นสุดระบุเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสองแล้วทั้งคำร้องมิได้ระบุเหตุแห่งความล่าช้าหรือเหตุสมควรอื่นใดตามมาตรา 88 วรรคสี่ จึงไม่อาจพิจารณาสั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่น แม้กฎหมายแก้ไขภายหลังก็ใช้ไม่ได้
ในการยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยจำเลยต้องกระทำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นบัญชีระบุพยานมิใช่กระทำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลังบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานคือบทบัญญัติมาตรา88วรรคแรกและวรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดวันชี้สองสถานในวันที่7กรกฎาคม2537จำเลยจึงต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันที่7กรกฎาคมไม่น้อยกว่าสิบห้าวันที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเมื่อวันที่22มิถุนายน2537นั้นเป็นการยื่นก่อนวันชี้สองสถานเพียง14วันจึงเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา88วรรคแรกดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในบัญชีระบุพยานจำเลยว่า"สำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายรวมสำนวน16อันดับ"ก็ตามแต่เมื่อต่อมาความปรากฎแก่ศาลชั้นต้นว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้โดยไม่ถูกต้องนั้นได้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า"ปรากฎว่าคดีนี้จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานคดีไม่มีประเด็นที่สืบพยานจำเลย"นั้นถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้เพิกถอนคำสั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยซึ่งสั่งโดยไม่ถูกต้องไว้แต่เดิมนั้นโดยปริยายแล้วต้องถือว่าจำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสิบห้าวันและไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขออ้างพยานหลักฐานเช่นนั้นว่าต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยานโดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ตามมาตรา88วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งทั้งกรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานมาสืบแต่อย่างใดที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยหรือไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบนั้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีและกำหนดเวลาการยื่นบัญชีระบุพยาน: ศาลต้องพิจารณาคำขอเลื่อนคดีก่อนสั่งงดสืบพยาน
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน นั้น หมายความว่าจะต้องเป็นวันนัดที่ได้มีการสืบพยานกันจริง ๆ แต่ถ้าหากถึงวันนัดแล้วศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลื่อนคดีได้ก็ไม่ถือว่าวันนัดดังกล่าวเป็นวันนัดสืบพยานตามความหมายของมาตรา 88 วรรคสอง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระ ไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง และโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง
โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 ก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระ ไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง และโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง
โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 ก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์