คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บำเหน็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าหุ้นและบำเหน็จของตัวแทน: ใช้ 10 ปีตามมาตรา 816 และ 193/30
โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าหุ้นและค่าบำเหน็จที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองแทนจำเลยไป เป็นกรณีตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปชดใช้จากตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิได้รับบำเหน็จนายหน้า: การชี้ช่องให้เกิดสัญญาซื้อขาย
นายหน้าตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 845 นั้นได้แก่ผู้ชี้ช่องให้ได้มีการเข้าทำสัญญากันหรือผู้ที่จัดการให้ได้ทำสัญญากัน และนายหน้ามีสิทธิได้รับบำเหน็จต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันเสร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น การที่ ก.ได้พา ส.ผู้ซื้อไปพบจำเลยที่ 4 ผู้ขายและพากันไปดูที่ดิน และต่อมาได้มีการซื้อขายกันเนื่องมาจากการชี้ช่องดังกล่าว ก.จึงมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จโดยไม่จำเป็นที่ ก. จะต้องอยู่ด้วยในการเจรจาซื้อขายทุก ๆ ครั้งแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินชดเชยและเงินบำเหน็จของลูกจ้างตามกฎหมายและระเบียบของนายจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเท่านั้น มิได้กำหนดเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จแต่อย่างใด ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างหรือไม่เพียงใด ย่อมต้องแล้วแต่ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้กำหนดไว้คดีนี้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างแต่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเพียงเงินชดเชยเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลย แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ลูกจ้างได้รับเงินชดเชยในกรณีลาออกไว้ด้วยก็เป็นการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งกำหนดให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเฉพาะกรณีเลิกจ้างเท่านั้นก็ตาม แต่การกำหนดหลักเกณฑ์เช่นนี้เป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่า จึงไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานแต่อย่างใด เมื่อจำเลยจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46(3) กำหนดไว้ เงินชดเชยดังกล่าวจึงเป็นค่าชดเชยไม่อาจจะแปลว่าเป็นเงินบำเหน็จ ดังที่โจทก์อ้างได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินบำเหน็จเป็นประกันหนี้ต้องไม่กระทบสิทธิลูกจ้างหากลูกจ้างมิได้ประมาทเลินเล่อ
โจทก์ยินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักเงินบำเหน็จของโจทก์ไว้บางส่วนเป็นประกันหนี้ของ ส. ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์ถูกจำเลยกล่าวหาว่าจะต้องร่วมรับผิดกับ ส. ต่อมาเมื่อความปรากฏว่าโจทก์มิได้ประมาทเลินเล่อและบกพร่องต่อหน้าที่ในอันจะต้องร่วมรับผิดในการกระทำของ ส. ต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จของโจทก์ต่อไป โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้ แต่การที่จำเลยหักเงินบำเหน็จดังกล่าว ก็โดยความยินยอมของโจทก์ ดังนี้แม้โจทก์จะได้ทวงถามให้จำเลยคืนเงินบำเหน็จที่จำเลยพักไว้และการที่จำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จคืนให้โจทก์ ก็จะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ได้ จำเลยไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเงินบำเหน็จที่หักไว้ต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400-1405/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างฐานคำนวณบำเหน็จ แม้จำเลยยกเลิกหลังลาออก
ก่อนโจทก์ลาออกจากงาน จำเลยยังคงจ่ายค่าครองชีพให้พนักงานรวมทั้งโจทก์ด้วย ต่อมาหลังจากโจทก์ลาออกจากงานไปแล้ว จำเลยมีคำสั่งยกเลิกการจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงาน คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ ถือได้ว่าขณะที่โจทก์ลาออกจากงาน โจทก์ได้รับค่าครองชีพอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณเงินบำเหน็จด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จพนักงานยาสูบที่ถึงแก่กรรมจากการประพฤติชั่วร้าย แม้เป็นการฆ่าตัวตายเพื่อหนีความผิด ก็ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
ตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ. 2500 ได้กำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จแก่พนักงานไว้ว่าพนักงานยาสูบมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อถึงแก่กรรม และการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่าพนักงานที่ถึงแก่กรรมและไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจะต้องเป็นการถึงแก่กรรมเพราะถูกบุคคลอื่นฆ่าตายเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนั้นไม่ว่าพนักงานจะถึงแก่กรรมเพราะเหตุใดก็ตาม ถ้าเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงแล้วก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ การที่ ท. ใช้อาวุธปืนยิง ย. ในที่ทำงานและในเวลาทำงานล่วงเวลาของโรงงานยาสูบผู้เป็นนายจ้าง ถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงในเวลาต่อเนื่องกันหลังจากประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ท. ได้ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองจนถึงแก่ความตาย การฆ่าตัวตายของ ท. ก็เพื่อหนีความรับผิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั่นเอง การถึงแก่กรรมของ ท.จึงเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ท. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จพนักงานถึงแก่กรรมจากเหตุประพฤติชั่วร้ายแรง: การพิจารณาการกระทำที่เป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จ
ตาม ระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานของจำเลยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานที่ออกจากงานเพราะถึงแก่กรรมว่าจะจ่ายให้พนักงานที่ถึงแก่กรรม และการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนี้ การที่ ท.พนักงานของจำเลยใช้ อาวุธปืนยิง ย. พนักงานด้วย กันถึงแก่ความตายในเวลาทำงาน และในสถานที่ทำงานของจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้าง ถือ ได้ ว่าเป็นการประพฤติชั่วร้ายแรง ส่วนต่อมา ท.ได้ ใช้ อาวุธปืนยิงฆ่าตัวตายในเวลาต่อเนื่องกัน ก็เป็นเพียงการหนีความรับผิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ท. ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จตาม ระเบียบดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จพนักงานยาสูบที่ถึงแก่กรรมจากการประพฤติชั่วร้าย การฆ่าตัวตายเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดถือเป็นเหตุให้ไม่ได้บำเหน็จ
ตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ. 2500 ได้กำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จแก่พนักงานไว้ว่าพนักงานยาสูบมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อถึงแก่กรรม และการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่าพนักงานที่ถึงแก่กรรมและไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจะต้องเป็นการถึงแก่กรรมเพราะถูกบุคคลอื่นฆ่าตายเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนั้นไม่ว่าพนักงานจะถึงแก่กรรมเพราะเหตุใดก็ตาม ถ้าเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงแล้ว ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ การที่ ท. ใช้อาวุธปืนยิง ย. ในที่ทำงานและในเวลาทำงานล่วงเวลาของโรงงานยาสูบผู้เป็นนายจ้าง ถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงในเวลาต่อเนื่องกันหลังจากประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ท.ได้ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองจนถึงแก่ความตาย การฆ่าตัวตายของ ท. ก็เพื่อหนีความรับผิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั่นเอง การถึงแก่กรรมของ ท. จึงเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ท. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จพนักงานยาสูบ: การประพฤติชั่วร้ายแรงเป็นเหตุให้ทายาทไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
ตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ. 2500ได้กำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จแก่พนักงานไว้ว่าพนักงานยาสูบมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อถึงแก่กรรม และการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่าพนักงานที่ถึงแก่กรรมและไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจะต้องเป็นการถึงแก่กรรมเพราะถูกบุคคลอื่นฆ่าตายเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนั้นไม่ว่าพนักงานจะถึงแก่กรรมเพราะเหตุใดก็ตาม ถ้าเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงแล้วก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ การที่ ท. ใช้อาวุธปืนยิง ย. ในที่ทำงานและในเวลาทำงานล่วงเวลาของโรงงานยาสูบผู้เป็นนายจ้าง ถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงในเวลาต่อเนื่องกันหลังจากประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ท. ได้ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองจนถึงแก่ความตาย การฆ่าตัวตายของ ท. ก็เพื่อหนีความรับผิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงนั่นเอง การถึงแก่กรรมของ ท.จึงเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามระเบียบดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ท. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803-807/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จที่ถูกต้องตามข้อบังคับของนายจ้าง และการวินิจฉัยคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน
จำเลยได้ จ่ายบำเหน็จให้แก่โจทก์รับไปแล้วบางส่วน ซึ่ง เป็นการจ่ายตาม ข้อบังคับของจำเลยที่มีอยู่ และจำเลยทราบถึง ข้อบังคับดังกล่าวดี แล้ว เพียงแต่ จำเลยไม่นำค่าครองชีพมารวมคำนวณบำเหน็จให้โจทก์เท่านั้น โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยจ่ายบำเหน็จ เฉพาะ ส่วนที่ขาดโดย ตาม ฟ้องได้ ระบุจำนวนค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนและจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายขาดไป เป็นการบรรยายโดย แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับในส่วนนี้พอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม
ในสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้อง นำมารวมกับค่าจ้างเพื่อคำนวณบำเหน็จ เมื่อจำเลยไม่นำมารวมคำนวณจำเลยจึงจ่ายบำเหน็จให้โจทก์ขาดไปเท่ากับค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับแต่ละเดือน คูณด้วย จำนวนปีที่โจทก์ทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีโดย อาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่มีในสำนวน ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๓(๒)ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานและวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไปว่า ตาม ข้อบังคับของจำเลยได้ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณบำเหน็จว่าอย่างไร และโจทก์จะได้รับบำเหน็จเพียงใด.
of 9