พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.จังหวัด: บิดาที่ชอบ/ไม่ชอบด้วยกฎหมาย & การแจ้งเท็จเพื่อลงสมัคร
คำว่า"บิดา"ตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดฯ มาตรา16ทวิและ19หมายถึงทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะบทบัญญัติดังกล่าวที่กำหนด คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหาได้มุ่งถึงสถานะของผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงฝ่ายเดียวเป็นสาระสำคัญไม่แต่คำนึงถึงเชื้อชาติตามความเป็นจริง จำเลยแจ้งความอันเป็นเท็จโดยกรอกข้อความในใบสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดว่าบิดาจำเลยเป็นคนสัญชาติไทยและจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปี4โดยรู้อยู่ว่าไม่เป็นความจริงจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดฯมาตรา64
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: บิดายังมีอำนาจ แม้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ตราบใดที่ยังไม่มีการเพิกถอน
ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เป็นบิดาและย่าของผู้เยาว์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามเป็นการชั่วคราว ซึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 1585 และ 1586 กำหนดให้บุคคลซึ่งกฎหมายระบุไว้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง แต่ข้อเท็จจริงตามคำร้อง ก่อนที่ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.จดทะเบียนหย่าขาดกัน อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ที่ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.ตามมาตรา1566 เมื่อคนทั้งสองจดทะเบียนหย่าขาดกัน มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง กฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ร้องที่ 1 และ ด.ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด แต่ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ผู้ร้องที่ 1 กับ ด.เพียงตกลงกันให้ ด.มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้น ไม่มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครองและทั้งไม่มีการร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด อำนาจการปกครองผู้เยาว์ทั้งสามคงอยู่กับผู้ร้องที่ 1 และ ด.ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ทั้งสาม และเมื่อ ด.ตาย ป.พ.พ.มาตรา 1566 (1) ก็บัญญัติเป็นพิเศษอีกว่า ให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกอยู่แก่ผู้ร้องที่ 1 โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบิดามีกิริยาความประพฤติไม่เหมาะสมเพราะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่า ด.และพยายามฆ่า ส.โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ตราบใดที่ไม่มีการเพิกถอนอำนาจการปกครองเสียทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่มาตรา 1582 บัญญัติไว้ ผู้ร้องที่ 1 ยังคงมีอำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่ กรณีจึงไม่อาจจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1585 ขึ้นอีกได้ เนื่องจากผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสามยังมีชีวิตอยู่ ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าร้าง: บิดายังมีอำนาจ แม้มีประวัติอาชญากรรม การขอตั้งผู้ปกครองใหม่ไม่ชอบ
ผู้ร้องที่1และที่3เป็นบิดาและย่าของผู้เยาว์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามเป็นการชั่วคราวซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1585และ1586กำหนดให้บุคคลซึ่งกฎหมายระบุไว้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองแต่ข้อเท็จจริงตามคำร้องก่อนที่ผู้ร้องที่1กับด. จดทะเบียนหย่าขาดกันอำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ที่ผู้ร้องที่1กับด. ตามมาตรา1566เมื่อคนทั้งสองจดทะเบียนหย่าขาดกันมาตรา1520วรรคหนึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ร้องที่1และด. ทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดแต่ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่าผู้ร้องที่1กับด. เพียงตกลงกันให้ด. มีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเท่านั้นไม่มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครองและทั้งไม่มีการร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดอำนาจการปกครองผู้เยาว์ทั้งสามคงอยู่กับผู้ร้องที่1และด. ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้เยาว์ทั้งสามและเมื่อด. ตายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1566(1)ก็บัญญัติเป็นพิเศษอีกว่าให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตกอยู่แก่ผู้ร้องที่1โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ร้องที่1ซึ่งเป็นบิดามีกิริยาความประพฤติไม่เหมาะสมเพราะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตฐานฆ่าด. และพยายามฆ่าส. โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ตราบใดที่ไม่มีการเพิกถอนอำนาจการปกครองเสียทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่มาตรา1582บัญญัติไว้ผู้ร้องที่1ยังคงมีอำนาจการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่กรณีจึงไม่อาจจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1585ขึ้นอีกได้เนื่องจากผู้ร้องที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสามยังมีชีวิตอยู่ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ร้องที่1และที่3จึงไม่มีสิทธิหรืออำนาจตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองหรือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับจำนอง: แม้เงินกู้มาจากบิดา โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้ก็มีอำนาจฟ้องผู้กู้ได้
โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองซึ่งเป็นผู้ให้กู้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้จำนองหรือผู้กู้ได้แม้เงินกู้ที่ผู้จำนองรับไปจะเป็นเงินของบิดาโจทก์เพราะเป็นเรื่องที่บิดาโจทก์เจตนาช่วยออกเงินกู้ให้แทนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: บิดาผู้ให้กำเนิดหมดอำนาจเมื่อรับบุตรบุญธรรมแล้ว
เมื่อ พ.รับโจทก์ที่6เป็นบุตรบุญธรรมแล้วส. ซึ่งเป็นบิดาโดยกำเนิดย่อมหมดอำนาจปกครองโจทก์ที่ 6 นับแต่วันเวลาที่โจทก์ที่ 6 เป็นบุตรบุญธรรมของ พ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/28 และแม้ว่าต่อมา พ. จะถึงแก่กรรมอันเป็นเหตุให้ความเป็นผู้ปกครองของ พ. สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/7 เดิม การรับบุตรบุญธรรมก็หาได้สิ้นสุดลงด้วยไม่โดยนิตินัยโจทก์ที่ 6 ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของ พ.อยู่ บิดาผู้ให้กำเนิดเดิมจึงไม่มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย กรณีไม่ใช่เป็นการเลิกรับบุตรบุญธรรมอันจะเป็นเหตุให้บุตรบุญธรรมกลับคืนสู่ฐานะอย่างสมบูรณ์ในครอบครัวเดิมของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/37 เดิม ส. จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรเนรคุณและไม่เลี้ยงดูบิดา
เมื่อ 16 ปีก่อน โจทก์ได้ยกที่ดินส่วนของตนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาโจทก์มีฐานะยากจนไม่มีที่อยู่อาศัย จำเลยมีฐานะดีพอจะเลี้ยงดูโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ไปขอที่ดินเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย จำเลยพูดว่ากูไม่ให้มึงหรอกให้มึงไปขอทานลูกคนอื่น ต่อไปภายข้างหน้าเลิกนับถือเป็นพ่อลูกกันและไล่ให้โจทก์ออกจากบ้าน การที่จำเลยกล่าวว่าให้มึงไปขอทานลูกคนอื่น ต่อไปภายข้างหน้าเลิกนับถือเป็นพ่อลูกกันไม่เพียงแต่เป็นถ้อยคำที่ไม่สุภาพเท่านั้น แต่เป็นถ้อยคำที่รุนแรงซึ่งบุตรไม่พึงกล่าวต่อบิดา ทั้งจำเลยยังไล่โจทก์ออกจากบ้านอีกด้วยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง นอกจากนี้การที่โจทก์ไปขอปลูกบ้านอยู่ในที่ดินจำเลย จำเลยกลับว่ากูไม่ให้มึงหรอกและเลิกนับถือโจทก์เป็นบิดาจึงเป็นการบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้อีกด้วย ดังนี้ โจทก์ย่อมถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยผู้รับประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) (3) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4943/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินเลยคำฟ้องในคดีละเมิด การรับผิดของบิดาต่อการกระทำของบุตรผู้เยาว์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดฐานกระทำละเมิด โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ร่วมกันกระทำละเมิดโดยร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ตาย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ร่วมกันจำเลยที่ 3 ในการใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่กลับพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 3 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 ในฐานะบิดาซึ่งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลปล่อยให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์หยิบฉวยอาวุธปืนไปใช้ยิงผู้ตาย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นการนอกฟ้อง นอกประเด็นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4943/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินเลยคำฟ้องในคดีละเมิด การใช้ความระมัดระวังของบิดาต่อบุตรผู้เยาว์ และการนอกประเด็นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดฐานกระทำละเมิดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ร่วมกันกระทำละเมิดโดยร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ตาย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ร่วมกันจำเลยที่ 3 ในการใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่กลับพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 ในฐานะบิดาซึ่งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลปล่อยให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์หยิบฉวยอาวุธปืนไปใช้ยิงผู้ตายจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นการนอกฟ้อง นอกประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.ท. บิดาต่างด้าว: พิจารณาจากความเป็นจริงและวัตถุประสงค์การพัฒนาท้องถิ่น
การพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนั้นหาได้มุ่งถือสถานะของบุคคลผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นสาระสำคัญไม่แต่จะต้องคำนึงถึงเชื้อชาติตามความเป็นจริง วัยและประสบการณ์ ตลอดจนความผูกพันต่อท้องถิ่นที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในเขตเลือกตั้งประกอบกัน การที่ พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 ได้กล่าวถึงลักษณะและคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งไว้ใน มาตรา 20และ มาตรา 20 ทวิ ก็เพื่อให้ได้ตัวสมาชิกสภาเทศบาลที่เป็นบุคคลในท้องถิ่น ซึ่งสามารถเข้ามามีสิทธิร่วมในการบริหารและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลที่มีบิดาเป็นคนต่างด้าว คำว่า "บิดา" จึงหมายถึงทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำว่า 'บิดา' ตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งเทศบาล ครอบคลุมทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำว่า "บิดา" ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสภาเทศบาล พ.ศ.2482มาตรา 20 และ 20 ทวิ หมายถึงทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย