พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทและดูหมิ่น ต้องพิเคราะห์ตามบุคคลทั่วไปและพฤติการณ์ หากไม่น่าเชื่อถือหรือไม่ปรากฏตัวต่อหน้า ก็ไม่เป็นความผิด
ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น ต้องเป็นการแสดงข้อความให้คนฟังคนเห็นเชื่อจึงจะเกิดความรู้สึกเกลียดชัง ดูหมิ่นขึ้นได้จำเลยกล่าวว่าโจทก์เป็นผีปอบ เป็นชาติหมาความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดาไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นไปได้จึงไม่ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นอย่างใด และข้อความใดจะเป็นการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ต้องถือตามความคิดของบุคคลธรรมดาผู้ได้เห็นได้ฟัง คำกล่าวของจำเลยจึงไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท
ความผิดฐานดูหมิ่น ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ต้องเป็นกล่าวซึ่งหน้าตามมาตรา 393 โจทก์มิได้อยู่ในที่เกิดเหตุมิใช่กล่าวซึ่งหน้า จึงไม่ผิดฐานดูหมิ่น
ความผิดฐานดูหมิ่น ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ต้องเป็นกล่าวซึ่งหน้าตามมาตรา 393 โจทก์มิได้อยู่ในที่เกิดเหตุมิใช่กล่าวซึ่งหน้า จึงไม่ผิดฐานดูหมิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงบุคคลทั่วไปไม่ถือเป็นการหลอกลวงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
ฟ้องของโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย 4 คน กับหลอกลวงคนอื่นอีก 7 คน ผู้ถูกหลอกลวงส่งเงินให้แก่จำเลย มิได้กล่าวให้เห็นว่าการหลอกลวงของจำเลยเป็นการหลอกลวงประชาชน เพียงแต่กล่าวว่าหลอกลวงบุคคล 11 คน เท่านั้น การหลอกลวงบุคคล 11 คน ไม่พอจะถือว่าเป็นการหลอกลวงประชาชนอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343
เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 343 แล้ว ก็ไม่มีทางลงโทษจำเลยตามมาตรา 343 ได้
เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 343 แล้ว ก็ไม่มีทางลงโทษจำเลยตามมาตรา 343 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการผูกพันบริษัท: ข้อจำกัดที่จดทะเบียนและประกาศแล้วย่อมเป็นที่รู้ของบุคคลทั่วไป
ข้อบังคับจำกัดอำนาจกรรมการที่จะผูกพันบริษัทจำกัดนั้นเมื่อได้จดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วย่อมเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปฉะนั้น การที่กรรมการผู้จัดการได้ลงนามในนามบริษัทจำเลยทำสัญญากับโจทก์โดยไม่ประทับตราบริษัทอันเป็นการขัดกับข้อบังคับดังกล่าวแล้ว การนั้นย่อมไม่ผูกพันบริษัทจำเลยอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งกระทรวงที่ขัดกฎหมาย ไม่อาจใช้บังคับกับบุคคลทั่วไป นายทะเบียนต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
คำสั่งกระทรวงที่มิได้อาศัยอำนาจตามบทกฎหมายนั้น ย่อมเป็นเพียงระเบียบภายในระหว่างเจ้าหน้าที่ของกระทรวงด้วยกันเท่านั้น จะใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมาย ให้รับจดทะเบียนสมรส ก็ย่อมจะอ้างคำสั่งที่ขัดต่อกฎหมายมาเป็นเหตุไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.การค้าข้าว ต่อบุคคลทั่วไปที่ค้าขายเป็นครั้งคราว และขอบเขตการริบของ
พ.ร.บ.การค้าข้าว 2489(ฉบับที่ 1) มาตรา 9 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) มาตรา 5 เป็นเรื่องบัญญัติถึงผู้ประกอบการค้า หาได้บัญญัติถึงบุคคลทั่วไปที่ทำการค้าเป็นครั้งคราว โดยมิได้ขออนุญาตเป็นผู้ประกอบการค้าข้าวไม่ จึงมีผลเท่ากับว่า ข้อความที่บัญญัติในมาตรา11 เป็นข้อยกเว้นสำหรับผู้ประกอบการค้าข้าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9
เรือที่ใช้เป็นพาหนะขนข้าวเปลือกไปแลกกับบุคคลอื่นไม่ใช่สิ่งที่บรรจุ ไม่ริบ
เรือที่ใช้เป็นพาหนะขนข้าวเปลือกไปแลกกับบุคคลอื่นไม่ใช่สิ่งที่บรรจุ ไม่ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเชื่อกับบุคคลทั่วไป อายุความ 2 ปี
ซื้อของเชื่อจากผู้มิได้เป็นพ่อค้าจะยกอายุความ 2 ปีขึ้นตัดฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 พิจารณาจากความหมายคำและความรู้สึกของบุคคลทั่วไป
การดูหมิ่นผู้อื่นอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393 หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกล่าวถึง หรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวถึงอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว ไม่ต้องถึงกับเป็นการใส่ความให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326
ตามพจนานุกรมให้หมายความคำว่า "เฮงซวย" ว่า เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดี ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยพูดใส่ผู้เสียหายด้วยความไม่พอใจว่า "ไอ้ทนายเฮงซวย" จึงเป็นถ้อยคำที่จำเลยด่าผู้เสียหายเป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นทนายความเฮงซวย เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393
ตามพจนานุกรมให้หมายความคำว่า "เฮงซวย" ว่า เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ คุณภาพต่ำ ไม่ดี ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยพูดใส่ผู้เสียหายด้วยความไม่พอใจว่า "ไอ้ทนายเฮงซวย" จึงเป็นถ้อยคำที่จำเลยด่าผู้เสียหายเป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นทนายความเฮงซวย เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393