พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ธุรกิจเงินทุน และผลกระทบต่อความผิดฐานใช้ชื่อบริษัทที่สื่อถึงธุรกิจเงินทุน
จำเลยใช้ชื่อ ว่าบริษัทเงินทุนในการประกอบธุรกิจโดยจำเลยมิใช่บริษัทเงินทุนตามกฎหมาย ต่อมาระหว่างอุทธรณ์ได้มีประกาศใช้บังคับ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2526 ซึ่งมาตรา 37 บัญญัติให้เลิกใช้ชื่อ ดังกล่าวภายใน 180 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ก. ใช้บังคับ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ บริษัท เลิกใช้ชื่อ ว่าบริษัทเงินทุน ดังนี้ จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 13,72 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 อีกต่อไปถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาและดุลพินิจทางปกครองในการอนุมัติเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการทำเหมือง
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นข้าราชการตำแหน่งทรัพยากรธรณีจังหวัด รับเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการทำเหมืองจากโจทก์แล้วมิได้นำเสนออธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเพื่อพิจารณาอนุญาตโดยตรง หากแต่เสนอเรื่องราวดังกล่าวไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอความเห็นก่อน ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลหน่วยงานนี้สั่งการไว้ โดยคำสั่งดังกล่าวปฏิบัติตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดและคำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมอบหมายให้ปฏิบัติราชการตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ (1) (2) อีกทั้งไม่มีระเบียบทางราชการกำหนดวิธีการปฏิบัติเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการ
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 มิได้บังคับว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 ต้องอนุญาตให้ผู้ถือประทานบัตรเปลี่ยนแปลงวิธีการทำเหมืองเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งต่อทรัพยากรธรณีจังหวัด ให้แจ้งต่อโจทก์ว่าการทำเหมืองแร่ให้ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ให้นโยบายไว้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและไม่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 หรือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์.
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 มิได้บังคับว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 ต้องอนุญาตให้ผู้ถือประทานบัตรเปลี่ยนแปลงวิธีการทำเหมืองเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งต่อทรัพยากรธรณีจังหวัด ให้แจ้งต่อโจทก์ว่าการทำเหมืองแร่ให้ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ให้นโยบายไว้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและไม่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 หรือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานที่ดินไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามคำพิพากษา เนื่องจากโฉนดอยู่กับธนาคารจำนอง ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมจดทะเบียนโอนโฉนดให้ตามคำพิพากษาเพราะจำเลยจำนองที่ดินพิพาทไว้กับธนาคารซึ่งไม่ยอมส่งโฉนดที่ดินมาให้เช่นนี้โจทก์จะร้องขอให้ศาลในคดีเดิมมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนให้โดยไม่ต้องมีโฉนดคู่ฉบับมาแสดงหาได้ไม่เพราะเจ้าพนักงานที่ดินเป็นบุคคลภายนอกและกรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้คำพิพากษามีผลผูกพันบุคคลภายนอกได้ตามป.วิ.พ.มาตรา145หากโจทก์เห็นว่าการที่เจ้าพนักงานที่ดินไม่กระทำการตามที่โจทก์ประสงค์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็ชอบที่โจทก์จะดำเนินการว่ากล่าวกับเจ้าพนักงานที่ดินตามกฎหมายต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการ โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อน เช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อน ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241, 244 และ 819 แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528) ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วย เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางร่วมแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร ต้องปฏิบัติตามสัญญาณไฟ มิอาจอ้างอิงบทบัญญัติทั่วไป
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 51(2)(จ) ที่บัญญัติว่าเมื่อรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่สวนมาในทางเดินรถทางเดียวกันผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงให้เลี้ยวขวาไปได้ เป็นบทที่ใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ในทางเดินรถที่ไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร หากในทางเดินรถใด มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรบังคับไว้โดยเฉพาะผู้ขับขี่ก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาและเครื่องหมายจราจรนั้นตามมาตรา 21, 22 การที่จำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์เลี้ยวขวาที่บริเวณสี่แยกในขณะที่มีสัญญาณไฟจราจรลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวขวานั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งขับขี่รถมาในทางตรงและมีสัญญาณไฟจราจรสีแดงมีหน้าที่จะต้องหยุดรถอยู่หลังเส้นให้รถหยุดตามมาตรา 22(2) จะนำมาตรา 51(2)(จ) มาใช้บังคับในทางเดินรถที่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรหาได้ไม่ เมื่อรถที่จำเลยที่ 2 ขับมาชนรถที่จำเลยที่ 1 ขับขณะเลี้ยวขวาบริเวณสี่แยกดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมิได้เป็นผู้ขับขี่รถยนต์โดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา การฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจึงไม่มีผล
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 ได้บัญญัติเรื่องการบอกเลิกการเช่านาไว้เป็นพิเศษ โจทก์จะถือเอาคำฟ้องเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกการเช่านาหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเลิกการเช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า: ศาลฎีกาเน้นย้ำการปฏิบัติตามกฎหมาย ป.วิ.พ. และดุลพินิจในการอนุญาต
ศาลแขวงธนบุรีสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนและนัดสืบพยานไว้ล่วงหน้าที่ 18 วัน โจทก์แต่งทนาย 2 คน เพียงแต่ทนายโจทก์คนหนึ่งไปธุระที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากที่ทราบวันนัดไว้แล้วกว่า 10 วัน ครั้นก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 2 วัน โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโดยอ้างว่า ที่โจทก์เพิ่งยื่นบัญชีระบุพยานเพราะทนายความเจ้าของเรื่องไปต่างจังหวัด เพิ่งกลับมา ไม่ปรากฏว่า เหตุใดจึงไม่สามารถมาจัดการระบุพยานเสียให้ทันกำหนด เพราะจังหวัดฉะเชิงเทราที่ทนายโจทก์ไปธุระนั้นก็ไม่ห่างไกลจากพระนครเท่าใดนัก เช่นนี้ จะอ้างว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้รับบัญชีระบุพยานนั้นไว้ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นโทษอาญาจากการมีอาวุธปืนเมื่อปฏิบัติตามกฎหมายรวบรวมอาวุธ
จำเลยถูกจับฐานมีหัวกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รันอนุญาต ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 10 บัญญัติให้นำอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามมามอบให้นายทะเบียน ท้องที่ภายใน 90 วัน เมื่อหัวกระสุนปืนของกลางอยู่ในมือเจ้าพนักงานอยู่แล้ว ก็ไม่จำต้องให้จำเลยขอคืนมาทำพิธีมอบใหม่อีก จำเลยย่อมได้รับผลของกฎหมาย ไม่ต้องรับโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งป่วยผ่านตัวแทนเพื่อขอผัดผ่อนการตรวจเลือกทหาร ถือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
การที่จำเลยซึ่งอยู่ต่างจังหวัดมีจดหมายล่วงหน้าถึงนายอำเภอซึ่งเป็นกรรมการตรวจคัดเลือกทหารอยู่ด้วยคนหนึ่งว่าจำเลยป่วยมาให้คณะกรรมการตรวจคัดเลือกไม่ได้ เพื่อให้แจ้งต่อคณะกรรมการด้วยนั้นถือได้ว่าจำเลยได้จัดให้มีผู้แทนมาแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจคัดเลือกในวันตรวจคัดเลือกตามความหมายของ มาตรา16 แล้ว จำเลยย่อมได้รับการยกเว้นโทษตาม มาตรา27(7) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ส่วนการที่นายอำเภอหลงลืมไม่ได้แจ้งต่อคณะกรรมการตรวจคัดเลือกทหารนั้นมิใช่ความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานที่ดินต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่สามารถอ้างระเบียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อขัดขวางการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินได้
กฎกระทรวงต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงจะมีผลบังคับได้
เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตาม พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 มาตรา 41 ฉะนั้นจะอ้างระเบียบกระทรวงมหาดไทยซึ่งวางระเบียบไว้ว่าถ้าผู้ซื้อที่ดินเป็นบุตรของคนต่างด้าว แม้จะมีสัญชาติเป็นไทยก็ให้มีการสอบสวนเพื่อควบคุมให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติที่ดินเกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 อันไม่ปรากฏว่าได้ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายมาหน่วงเหนี่ยวขัดขวางผู้ร้องขอที่มีสัญชาติไทยบิดาเป็นคนต่างด้าวมิให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินตามกฎหมายไม่ได้
เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตาม พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 มาตรา 41 ฉะนั้นจะอ้างระเบียบกระทรวงมหาดไทยซึ่งวางระเบียบไว้ว่าถ้าผู้ซื้อที่ดินเป็นบุตรของคนต่างด้าว แม้จะมีสัญชาติเป็นไทยก็ให้มีการสอบสวนเพื่อควบคุมให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติที่ดินเกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 อันไม่ปรากฏว่าได้ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายมาหน่วงเหนี่ยวขัดขวางผู้ร้องขอที่มีสัญชาติไทยบิดาเป็นคนต่างด้าวมิให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินตามกฎหมายไม่ได้