พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้หลังแปลงหนี้เดิมเป็นสัญญากู้ยืม การปฏิเสธการจ่ายเงินถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยออกเช็คนำไปแลกเงินสดจากโจทก์ แม้การออกเช็คของจำเลยดังกล่าวจะมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ก็ตาม แต่การที่จำเลยออกเช็คแล้วนำไปแลกเงินสดจากโจทก์และเช็คดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่จำเลยสั่งจ่ายนั้นย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 898,900 ในกรณีนี้หากจำเลยออกเช็คฉบับใหม่เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ดังกล่าว เช็คที่จำเลยออกในภายหลังนี้ย่อมถือว่าเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ได้ คดีนี้โจทก์และจำเลยได้แปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็คมาเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืม และจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม จึงต้องถือว่าจำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 แล้ว จำเลยจึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินปรากฎว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่า "บัญชีปิดแล้ว" แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้ทีการใช้เงินตามเช็คนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 ตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และเช็ค: ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
หนังสือรับสภาพหนี้มีใจความว่า ข้าฯ นางสาวพรทิพย์ ณ สงขลา(จำเลย) ขอรับสภาพหนี้ว่า ข้าฯ เป็นหนี้พันตำรวจโทอาวุธ ปุรินทราภิบาล(ผู้เสียหาย) กรณีกู้ยืมเงินกัน 300,000 บาทจริง และข้าฯยินยอมขอชำระหนี้พร้อมกันนี้ ข้าฯได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่พันตำรวจโทอาวุธ ปุรินทราภิบาล (ผู้เสียหาย)เป็นเช็คธนาคารมหานคร จำกัด สาขาหาดใหญ่ ตามเช็คเลขที่ 0038097 สั่งจ่ายเงินจำนวน 300,000 บาท ตามที่เป็นหนี้กัน สั่งจ่ายเงินวันที่ 30 ธันวาคม 2537หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหายอยู่จริงและจำเลยยอมชำระหนี้ดังกล่าวให้ผู้เสียหายโดยเช็ค ทั้งจำเลยและผู้เสียหายได้ลงลายมือชื่อไว้ หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่ผู้เสียหายสามารถนำไปฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดในทางแพ่งได้โดยตรงและถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้
จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8313/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการหักเงินจากบัญชีร้านค้าเมื่อได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากมาสเตอร์การ์ด
ตามบันทึกข้อตกลงข้อ 9 ระบุว่า ในกรณีที่ธนาคาร (จำเลย)ได้รับเซลส์สลิปและนำเงินเข้าบัญชีของร้านค้า (โจทก์) แล้ว ปรากฏในภายหลังว่าร้านค้าปฏิบัติผิดไปจากข้อตกลง... หรือกรณีอื่นใดอันเป็นผลให้ธนาคารได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากสมาชิก... ร้านค้าจะต้องคืนเงินเท่ากับจำนวนที่ธนาคารได้รับปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าวให้กับธนาคารพร้อมทั้งยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์คิดจากผู้กู้ยืม...โดยให้ธนาคารหักเงินดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดจากบัญชีเดินสะพัดตามที่ระบุไว้...เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากมีผู้นำมาสเตอร์การ์ดที่ออกโดยธนาคารในต่างประเทศซึ่งเป็นสมาชิกมาสเตอร์การ์ดระหว่างประเทศมาซื้อสินค้าจากโจทก์ตามข้อตกลง ครั้นเมื่อจำเลยเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกมาสเตอรการ์ดแล้วได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงิน กรณีจึงต้องด้วยข้อตกลงที่ว่า กรณีอื่นใดอันเป็นผลให้จำเลยได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินตามบันทึกข้อตกลงข้อ 9 จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินออกจากบัญขีของโจทก์ได้ตามข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาฝากทรัพย์: การผิดสัญญาจากปฏิเสธการจ่ายเงินตามสมุดเงินฝาก ไม่เข้าอายุความ 10 ปี
โจทก์ฝากเงินกับธนาคารจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนเงินฝากเมื่อใดก็ได้โดยนำสมุดเงินฝากมาแสดง ปรากฏตามสมุดเงินฝากว่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2514 โจทก์มีเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี 60,124.84 บาท โจทก์มิได้ปิดบัญชีกับจำเลย การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ในปี 2529 แล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่าบัญชีของโจทก์ปิดแล้วนั้น ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 4 กันยายน 2532 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คและการเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทหลังการปฏิเสธการจ่ายเงิน
แม้ขณะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ส. เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คผู้ถือ แต่เช็คพิพาทก็เป็นเช็คที่จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 และย่อมโอนให้แก่กันได้โดยส่งมอบตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 ประกอบด้วยมาตรา 989 เมื่อโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ส. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 และได้รับโอนสิทธิในเช็คพิพาทจาก ส. โดยโจทก์ไม่จำต้องนำเช็คไปขึ้นเงินอีกครั้งหนึ่ง ก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินตามเช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คพิพาทหลังปฏิเสธการจ่ายเงิน และความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค
เดิมบริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัด ได้นำเช็คหมาย จ.8 แลกเอาเงินไปจากโจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินบริษัทดังกล่าวจึงมอบเช็คพิพาทซึ่งห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้โจทก์โจทก์จึงนำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนงแต่เช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงต้องชำระเงินแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง แล้วรับเช็คพิพาทกลับคืนมาฟ้องจำเลยทั้งสอง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตและมีมูลหนี้ต่อกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หาใช่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากบริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์สจำกัด โดยคบคิดกันฉ้อฉลไม่ การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้นำเช็คเอกสารหมาย ล.7 ไปชำระแก่บริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์สจำกัด หลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทแล้ว ย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัดสาขาพระโขนง ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายลดเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามสัญญาขายลดเช็คพิพาทแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง แล้ว ได้รับเช็คพิพาทกลับคืนมาโจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท โดยรับช่วงสิทธิจากธนาคารกรุงเทพจำกัด สาขาพระโขนง ในการฟ้องให้จำเลยทั้งสองให้รับผิดตามเช็คพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้สั่งจ่ายเช็คและหุ้นส่วนผู้จัดการเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าวโดยได้รับมอบเช็คมาจากผู้มีชื่อซึ่งนำมาชำระหนี้ ต่อมาธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ สภาพแห่งข้อหาก็คือจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่ผู้ถือเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ทรง จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งโจทก์ได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยไว้แล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายไว้ว่าจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดในฐานะใด โจทก์ได้รับเช็คพิพาทจากใคร ชำระหนี้ค่าอะไร นั้นมิใช่สภาพแห่งข้อหาคงเป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายไว้ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุไว้เพียงว่า ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 53,750 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 50,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าให้จำเลยทั้งสองรับผิดดังกล่าวก็ตาม แต่คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุว่าขอยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองไว้โดยชัดแจ้งทั้งบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คและดอกเบี้ยแก่โจทก์ จึงเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คและดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามคำบรรยายในตอนต้นนั้นเอง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้องจึงไม่เกินคำขอ
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุไว้เพียงว่า ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 53,750 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 50,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าให้จำเลยทั้งสองรับผิดดังกล่าวก็ตาม แต่คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุว่าขอยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองไว้โดยชัดแจ้งทั้งบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คและดอกเบี้ยแก่โจทก์ จึงเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คและดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามคำบรรยายในตอนต้นนั้นเอง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้องจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีเช็ค: วันปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นวันเกิดเหตุตามกฎหมาย
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นวันเกิดเหตุตามคำฟ้องของโจทก์ได้ระบุว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533 แม้จะมิได้ระบุว่าเป็นเวลาใดแต่ก็พอจะเข้าใจได้ว่า โจทก์นำเช็คตามฟ้องไปยื่นให้ธนาคารใช้เงินในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการงานตามปกติของธนาคารทั่วไปถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิดชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการจ่ายเช็คเนื่องจากเช็คหมดอายุ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ ต่อมาโจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินตามเช็ค การที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่า "เช็คพ้นกำหนดการจ่ายเงิน" นั้นไม่ใช่เป็นการปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คตามที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 บัญญัติไว้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังเช็คปฏิเสธ ทำให้คดีอาญาตาม พ.ร.บ. เช็ค ระงับ
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ควันที่ 1 มิถุนายน 2530 ต่อมาวันที่ 12 มิถุนายน 2530 จำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ เป็นการชำระเงินตามเช็คใน 15 วันนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน คดีเป็นอันเลิกกันตามความหมายแพ่ง ป.วิ.อ.ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับ