คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปฏิเสธความรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616-629/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเหตุเพลิงไหม้และการปฏิเสธความรับผิดของบริษัทประกันภัย ทำให้ผู้เอาประกันมีสิทธิฟ้องร้องได้ โดยไม่ต้องรอรายละเอียดทรัพย์สิน
แม้กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า เมื่อเกิดความวินาศหรือความเสียหายใด ๆ ผู้เอาประกันต้องยื่นคำเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรระบุรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่วินาศและจำนวนเงินแห่งความวินาศภายใน 15 วันก่อนก็ตาม เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ผู้เอาประกันได้แจ้งเหตุวินาศภัยให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยได้ทราบ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ได้เอาประกันภัยไว้ จำเลยกลับตอบปฏิเสธความรับผิด เช่นนี้ โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวอีก เพราะถึงจะส่งคำเรียกร้องและรายละเอียดไป จำเลยก็ไม่พิจารณาชดใช้ให้ตามคำปฏิเสธความรับผิดอยู่นั่นเอง และการตอบปฏิเสธเช่นนั้น ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามที่ตกลงกันแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลได้ แม้ในกรณีที่จำเลยเฉยเสียมิได้ตอบปฏิเสธความรับผิด แต่ได้ให้เลขานุการของจำเลยไปสำรวจความเสียหาย ซึ่งหากมีการเสียหายที่จะคิดชดใช้ให้บ้าง ก็ถือว่าข้อสัญญาให้ส่งบัญชีรายละเอียดนี้ จำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามนัยฎีกาที่ 1215/2502
คำฟ้องของบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจฟ้องอยู่แล้วนั้น ถึงแม้ชั้นยื่นฟ้องจะมีกรรมการบริษัทลงชื่อในคำฟ้องและใบแต่งทนายแต่ผู้เดียว อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ก็ตาม เมื่อศาลได้สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อเสียให้ถูกต้อง ซึ่งโจทก์ก็ได้จัดจัดการแก้ไขโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อครบจำนวนตามข้อบังคับแล้วก่อนที่ศาลจะสั่งให้รับฟ้อง เช่นนี้ ก็ต้องถือว่าคำฟ้องนั้นเป็นคำฟ้องที่ถูกต้อง จำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616-629/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การแจ้งเหตุ, การปฏิเสธความรับผิด, และการมีอำนาจฟ้องของนิติบุคคล
แม้กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า เมื่อเกิดความวินาศหรือความเสียหายใด ๆ ผู้เอาประกันภัยต้องยื่นคำเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรระบุรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่วินาศและจำนวนเงินแห่งความวินาศภายใน 15 วันก่อนก็ตามเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วโจทก์ผู้เอาประกันได้แจ้งเหตุวินาศภัยให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยได้ทราบขอให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ได้เอาประกันภัยไว้ จำเลยกลับตอบปฏิเสธความรับผิดเช่นนี้โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวอีก เพราะถึงจะส่งค่าเรียกร้องและรายละเอียดไปจำเลยก็ไม่พิจารณาชดใช้ให้ตามคำปฏิเสธความรับผิดอยู่นั่นเอง และการตอบปฏิเสธเช่นนั้นถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามที่ตกลงกันแล้วโจทก์จึงมีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลได้ แม้ในกรณีที่จำเลยเฉยเสียมิได้ตอบปฏิเสธความรับผิด แต่ได้ให้เลขานุการของจำเลยไปสำรวจความเสียหายซึ่งหากมีการเสียหายที่จะคิดชดใช้ให้บ้างก็ถือว่าข้อสัญญาให้ส่งบัญชีรายละเอียดนี้ จำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งแล้วโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามนัยฎีกาที่ 1215/2502
คำฟ้องของบริษัทโจทก์ซึ่งมีอำนาจฟ้องอยู่แล้วนั้นถึงแม้ชั้นยื่นฟ้องจะมีกรรมการบริษัทลงชื่อในคำฟ้องและใบแต่งทนายแต่ผู้เดียวอันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ก็ตามเมื่อศาลได้สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อเสียให้ถูกต้องซึ่งโจทก์ก็ได้จัดการแก้ไขโดยให้กรรมการบริษัทลงชื่อครบจำนวนตามข้อบังคับแล้วก่อนที่ศาลจะสั่งให้รับฟ้องเช่นนี้ ก็ต้องถือว่าคำฟ้องนั้นเป็นคำฟ้องที่ถูกต้องจำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนข้อผูกพันจากสัญญาเดิมเป็นสัญญากู้ และผลของการปฏิเสธความรับผิดตามสัญญากู้
โจทก์จำเลยมีหนี้สินเกี่ยวค้างกันคิดบัญชีแล้วจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ให้จำเลยทำเป็นสัญญากู้ จำเลยก็ทำให้ดังนี้ เป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงเปลี่ยนข้อผูกพันจากสัญญาเดิมมาผูกพันกันในลักษณะกู้เงิน การกู้เงินจึงเป็นนิติกรรมที่แสดงออกโดยเจตนาแท้จริงที่จะผูกพันกันตามที่แสดงนั้น หาใช่นิติกรรมอำพรางอย่างใดไม่
การที่โจทก์มาฟ้องหนี้เงินกู้ก่อนถึงกำหนดชำระนั้น เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ก็เป็นการแสดงว่าจำเลยปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้ เท่ากับจำเลยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยใช้หนี้ได้โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดตามเงื่อนเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงทรัพย์: เจตนาทุจริตรับว่าตัดเสาได้แต่ไม่ส่งมอบและปฏิเสธความรับผิด
การที่จำเลยไม่มีอาชีพในทางค้าเสาไม้เคยขออนุญาตตัดฟันไม้ แต่รับจะจัดการตัดเสาอ้างว่ามีโควต้าทำไม้ผู้เสียหายยอมให้เงิน 3,600 บาทค่าลูกจ้างและค่าเข็นโดยจำเลยว่าเสาตามที่สั่งตัดไว้ครบแล้วหลังจากนั้นอีกนานก็ไม่มีเสามา เมื่อถูกจับก็บอกกับตำรวจว่าหาเสาไม่ได้ แต่กลับปฏิเสธต่อผู้เสียหายว่าไม่รู้เรื่องไม่ได้รับเงิน พฤติการณ์ดั่งกล่าวย่อมแสดงว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาซื้อขายเนื่องจากสินค้าไม่ตรงตามคำสั่ง แม้มีประเพณีค้าธนาคาร แต่ต้องแจ้งให้ทราบ
ประเพณีการค้าของธนาคารพานิชย์นั้น ถ้าไม่ปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้รู้ จะนำเอาประเพณีนั้นมามัดคู่กรณีฝ่ายนั้นให้นอกเหนือไปจากข้อตกลงในสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความรับผิดในสัญญาเงินกู้: การนำสืบพยานหลักฐานเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ถือเป็นการนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้และว่าเชื่อว่าพิมพ์นิ้วมือไม่ใช่ของจำเลยในชั้นพิจารณาจำเลยสืบว่าลายมือนั้นจำเลยถูกหลอกลวงให้พิมพ์ โดยผู้หลอกว่าจะเอาไปใช้กิจธุระอย่างอื่นดั่งนี้ สืบได้ไม่เป็นการนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างออกแบบก่อสร้าง: ความรับผิดของผู้รับจ้าง, ความผิดพลาดในการออกแบบ, และการปฏิเสธความรับผิด
โจทก์มีอาชีพออกแบบโครงการก่อสร้างย่อมต้องทราบระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเป็นอย่างดีจึงไม่น่าเป็นไปได้ที่โจทก์จะไม่ส่งมอบแบบพิมพ์เขียวในอัตราส่วน 1 ต่อ 100 เพื่อใช้ก่อสร้างให้แก่จำเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ส่งมอบแบบพิมพ์เขียวดังกล่าวแล้ว จำเลยต้องชำระค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 4 ส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ ส่วนการที่จำเลยไม่ได้ทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็ดีหรือยังไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้าง อันทำให้จำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างได้ก็ดีก็เป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยเอง หาอาจยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้ไม่
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าแห่งการงานอันเนื่องมาจากสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันโดยปริยายตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม ซึ่งไม่ได้กำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญา ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ทำงานในงวดที่ 2 ยังไม่แล้วเสร็จจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการวิชาชีพในงวดที่ 2 โดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาที่วินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันโดยปริยาย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าการงาน 2,140,000 บาท ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรจึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ออกแบบและส่งมอบแบบโครงการพัทยา สาย 2 ให้แก่จำเลย ส่วนจำเลยก็ได้ชำระค่าบริการวิชาชีพแก่โจทก์ครบตามสัญญา การที่จำเลยยอมรับมอบงานที่โจทก์ทำและชำระค่าบริการให้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่ามีข้อโต้แย้งใดบ่งชี้ว่างานออกแบบที่โจทก์ทำขึ้นไม่ถูกต้อง โจทก์จึงย่อมไม่มีความรับผิดใดๆ ตามสัญญาจ้างเดิม การที่โจทก์และจำเลยมาทำสัญญาจ้างออกแบบกันใหม่แม้จะมีเนื้อหาเป็นการให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงแบบเดิมที่โจทก์ทำไว้ก็ตาม ต้องถือเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาเพื่อผูกพันตามข้อตกลงใหม่ที่ระบุไว้ในสัญญาจึงไม่ใช่เป็นการก่อหนี้ที่จำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์โดยสำคัญผิดในแบบของสัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญาอันจะทำให้สัญญาจ้างออกแบบฉบับใหม่ตกเป็นโมฆะตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ดังนั้น จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดชำระค่าบริการวิชาชีพตามสัญญาฉบับใหม่แก่โจทก์ อย่างไรก็ดี แม้สัญญาฉบับใหม่จะไม่ตกเป็นโมฆะแต่การที่โจทก์ในฐานะผู้มีอาชีพออกแบบในงานสถาปัตยกรรมย่อมต้องมีหน้าที่ออกแบบให้เป็นไปตามข้อตกลงในกรอบของกฎหมาย ดังนั้น การที่โจทก์ออกแบบอาคารเออยู่ในตำแหน่งที่กฎหมายห้ามไม่ให้ก่อสร้างอาคารที่มีจำนวนเกิน 80 ห้อง นั้น แสดงว่าโจทก์ออกแบบโดยไม่คำนึงถึงข้อห้ามตามกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณชน แม้จำเลยรู้เห็นหรือยินยอมก็ต้องถือว่าโจทก์มีส่วนผิด จึงสมควรไม่กำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 2 ถึงที่ 4 ในส่วนของการออกแบบอาคารเอ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบริการวิชาชีพเฉพาะในส่วนของการออกแบบอาคารบีเท่านั้น ซึ่งเห็นสมควรกำหนดให้เป็นเงิน 428,000 บาท พร้อมด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2551
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์มีหน้าที่ออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโครงการพหลโยธิน 37 ให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้จำเลยสามารถนำแบบแปลนไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของจำเลยแต่โจทก์กลับไม่ดำเนินการตามสัญญาเป็นเหตุให้จำเลยก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด พอถือได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ออกแบบสำหรับการก่อสร้างไม่ถูกต้องแล้ว ข้อนำสืบของจำเลยว่าโจทก์ผิดสัญญาจึงไม่ใช่การนำสืบนอกประเด็นดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น กรณีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาตามสัญญาจ้างออกแบบโครงการพหลโยธิน 37 หรือไม่... ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าการออกแบบของโจทก์เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยที่ต้องการให้เพดานห้องสูงมีความปลอดโปร่งอันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าซึ่งหากนำไปใช้เป็นแบบในการก่อสร้างจะทำให้อาคารที่ก่อสร้างมีความสูง 25 เมตร เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และการที่โจทก์ซึ่งมีอาชีพด้านการออกแบบยอมกระทำในสิ่งที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สาธารณชนถือว่าโจทก์มีส่วนผิดที่ทำงานโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการออกแบบที่ผิดกฎหมายของตน โจทก์จึงไม่สมควรได้รับค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 2 ส่วนที่เหลือจำนวน 189,582.60 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12761/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่ จำเลยมีสิทธิปฏิเสธความรับผิดหากมิได้กระทำผิด
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดชำระค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธความรับผิดและต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสี่มิได้บริจาคเงินและไม่มีเจตนาจะจูงใจให้จำเลยทั้งสี่ได้รับเลือกตั้ง ถือว่าจำเลยทั้งสี่ปฏิเสธว่ามิได้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 99 วรรคหนึ่ง ที่ให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น มิใช่บทบัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดโดยเด็ดขาด จำเลยทั้งสี่ย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธว่ามิได้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9839/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่ กรณีถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: จำเลยมีสิทธิปฏิเสธความรับผิดและนำสืบพยานหลักฐานได้
การฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งรับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง หากแปลความมาตรา 99 วรรคหนึ่ง ว่าผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดเด็ดขาดโดยไม่คำนึงถึงเหตุที่นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ว่าเกิดจากการกระทำของผู้นั้นหรือไม่ ย่อมเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธความรับผิดและต่อสู้ว่าทั้งสองไม่เคยให้เงินหรือทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้บุคคลใดมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามประเด็นตามคำให้การได้ การที่จำเลยทั้งสองนำสืบโดยอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาจึงเป็นการนำสืบปฏิเสธความรับผิดตามประเด็นที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ไว้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบการพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ของผู้ปฏิเสธความรับผิด, การส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามสัญญา, ผลของการไม่สามารถพิสูจน์ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองสั่งซื้อสินค้าประเภทหินแกรนิตจากโจทก์หลายครั้ง แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าตามกำหนด จำเลยที่ 1 ให้การว่า สินค้าที่ซื้อจากโจทก์ส่วนหนึ่งจำเลยที่ 1 นำไปใช้ในโครงการก่อสร้างอาคาร ส. ตามสัญญาที่ทำไว้กับบริษัท ท. ซึ่งเป็นผู้รับเหมาโครงการดังกล่าว แต่เนื่องจากสินค้าที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยที่ 1 ไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถูกบริษัท ท. ปรับเป็นเงินจำนวน 4,000,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเรื่องการส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องตามสัญญาขึ้นปฏิเสธความรับผิด จำเลยที่ 1 จึงมีภาระการพิสูจน์
ปัญหาเรื่องการกำหนดภาระการพิสูจน์ผิดพลาดเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความฝ่ายใดไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาแต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วชี้ขาดตัดสินคดีไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้
of 3