คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกอบกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดไว้แยกจากกัน คือ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ตามมาตรา 24 วรรคหนึ่งอีกกรณีหนึ่ง โดยหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตในสองกรณีแตกต่างกัน แสดงว่าในแต่ละฐานความผิดต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาแตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แม้จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57ด้วยกัน หากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสองกรรม: ละเมิดลิขสิทธิ์และการประกอบกิจการเทป/วีดีโอ โดยมีเจตนาแยกต่างหาก
แม้จำเลยจะมีแผ่นวีดีโอซีดี แผ่นซีดี และแผ่นซีดีรอมของกลางไว้เพื่อขายและเสนอขายตามฟ้องข้อ (ก) และประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ตามฟ้องข้อ (ข) ในคราวเดียวกัน แต่การกระทำของจำเลยตามฟ้องข้อ (ก) และข้อ (ข) ก็เป็นการกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันและเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน จึงเป็นความผิดสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสองกรรม: ละเมิดลิขสิทธิ์และประกอบกิจการเทปเถื่อน แม้ทำพร้อมกัน แต่เจตนาต่างกัน
จำเลยมีแผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมของกลางไว้เพื่อขายและเสนอขายตามฟ้องข้อ (ก) และประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ตามฟ้องข้อ (ข)ในคราวเดียวกันแต่การกระทำของจำเลยตามฟ้องข้อ(ก)และข้อ(ข)เป็นการกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันและเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน จึงเป็นความผิดสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบกิจการ ถือเป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
อสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการตามมาตรา 3(5)แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)พ.ศ.2534 หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบกิจการและที่มีไว้เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ แม้ยังมิได้นำมาใช้ในการประกอบกิจการ เมื่อมหาวิทยาลัยโจทก์มีที่ดินไว้เพื่อจะพัฒนาเป็นวิทยาเขตซึ่งเป็นกิจการที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ แม้โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่งแสวงหากำไร แต่โจทก์ขายที่ดินที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการจึงถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2(6)ประกอบด้วยมาตรา 3(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2(6) บัญญัติว่า การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักรต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใด ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา การที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3กำหนดหลักเกณฑ์ว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ลักษณะใดบ้างที่ถือเป็นทางค้าหรือหากำไร จึงเป็นการกำหนดตามที่มาตรา 91/2(6)ให้อำนาจไว้ มิได้ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีล้มละลาย: จำเลยยังประกอบกิจการอยู่ และมีทรัพย์สิน/สิทธิเรียกร้องอื่น จึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ขณะโจทก์ฟ้องคดี จำเลยยังประกอบกิจการอยู่ไม่ได้ ปิดกิจการแต่อย่างใด กรณียังไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข จำเลยยังนำสืบว่า นอกจากโจทก์แล้วจำเลยยังเป็นหนี้บริษัท ธ ประมาณ 8,000,000 บาทแต่จำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องหนี้สินจากลูกหนี้ของจำเลยโดยจำเลยได้ฟ้องกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้ชำระค่าก่อสร้างอาคารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เป็นเงินประมาณ 61,000,000 บาท ซึ่งหากจำเลยชนะคดีและ ได้รับชำระหนี้แม้เพียงบางส่วน จำเลยก็สามารถจะชำระหนี้ให้โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นได้ทั้งหมด ข้อเท็จจริงจึง ฟังได้ไม่แน่ชัดว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7167/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับจดทะเบียนบริษัทร้าง กรณีมีหลักฐานว่ายังประกอบกิจการอยู่ แม้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ดำเนินการถอนทะเบียนบริษัท พ. เป็นบริษัทร้างและขีดชื่อออกจากทะเบียน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ขีดชื่อบริษัทจากทะเบียน บริษัท พ. ยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ เมื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทร้องขอ กรณีจึงมีเหตุที่ศาลจะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการขนส่งเพื่อการค้าของตนเอง ไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ในข่ายได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
การประกอบกิจการขนส่งของโจทก์นั้นโจทก์มีหัวรถพ่วงสำหรับลากจูง 3 คัน กระบะพ่วง 3 คัน รถกระบะหกล้อ 1 คัน และรถกระบะสี่ล้อ 1 คันในการค้าสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ หากลูกค้าต้องการรับสินค้าจากโจทก์โดยตรงก็จะต้องชำระค่าสินค้าในราคาหนึ่ง แต่ถ้าลูกค้าต้องการจะรับสินค้าจากคลังสินค้าในเครือบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด จะมีราคาถูกกว่า ทั้งนี้โจทก์จะออกใบสั่งซื้อสินค้าให้แก่ลูกค้าเพื่อไปรับสินค้าเอง หากลูกค้าไม่มีรถที่จะไปรับของจากคลังสินค้าโดยตรงโจทก์จะนำรถบรรทุกของโจทก์ไปรับจ้างลูกค้าเพื่อขนส่งสินค้าจากคลังสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้าและในการมารับสินค้าจากคลังสินค้าที่กรุงเทพมหานคร โจทก์ต้องใช้รถเปล่าไปรับสินค้า ดังนั้น โจทก์จึงติดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เพื่อรับสินค้ายางพาราไปส่งยังกรุงเทพมหานคร และบริษัทโจทก์ไม่มีป้ายติดว่ารับจ้างขนส่งสินค้าทั่วไป ดังนี้ การที่โจทก์รับขนส่งสินค้าในกรณีที่ลูกค้าไม่มีรถไปบรรทุกสินค้าที่คลังสินค้าด้วยการนำรถของโจทก์เองไปบรรทุกสินค้าส่งให้แก่ลูกค้า และการที่โจทก์รับขนส่งสินค้ายางพาราจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังกรุงเทพมหานครนั้นเป็นการให้บริการเป็นครั้งคราว ไม่ใช่ประกอบกิจการขนส่งอย่างถาวร แม้จะฟังว่าโจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล แต่กรณีดังกล่าวก็ถือเป็นการกระทำเพื่อการค้าหรือธุรกิจของโจทก์เอง จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา81 (1) (ณ) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงต้องนำค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติในเรื่องของเงินเพิ่มที่จะต้องเสียไว้ 2 กรณี คือ ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และวรรคสองบัญญัติให้การลดเงินเพิ่มนั้นสามารถกระทำได้ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา 3 อัฏฐ แห่ง ป.รัษฎากรและได้ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดไว้ในบทมาตราดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้งดเงินเพิ่มได้ จึงไม่มีเหตุที่จะลดหรืองดเพิ่มให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้บริการขนส่งสินค้าเป็นครั้งคราว ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการขนส่งอย่างถาวร จึงต้องนำค่าขนส่งมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์รับขนส่งสินค้าในกรณีที่ลูกค้าไม่มีรถไปบรรทุกสินค้าที่คลังสินค้าด้วยการนำรถของโจทก์เองไปบรรทุกสินค้าส่งให้แก่ลูกค้าและการที่โจทก์รับขนส่งสินค้ายางพาราจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังกรุงเทพมหานครนั้นเป็นการให้บริการเป็นครั้งคราวไม่ใช่ประกอบกิจการขนส่งอย่างถาวรแม้จะฟังว่าโจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลแต่ก็ถือเป็นการกระทำเพื่อการค้าหรือธุรกิจของโจทก์เองจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา81(1)(ณ)แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ต้องนำค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ประมวลรัษฎากรมาตรา89/1วรรคหนึ่งกำหนดในเรื่องของเงินเพิ่มที่จะต้องเสียไว้2กรณีคือไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้และวรรคสองกำหนดให้การลดเงินเพิ่มนั้นสามารถกระทำได้ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา3อัฎฐและได้ชำระภาษีนำส่งภาษีภายในเวลาที่ขยายให้นั้นเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวทั้งไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้งดเงินเพิ่มได้จึงไม่มีเหตุที่จะลดหรืองดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้บริการขนส่งสินค้าเป็นครั้งคราว ไม่เข้าข่ายประกอบกิจการขนส่งเพื่อได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
การประกอบกิจการขนส่งของโจทก์นั้นโจทก์มีหัวรถพ่วงสำหรับลากจูง3คันกระบะพ่วง3คันรถกระบะหกล้อ1คันและรถกระบะสี่ล้อ1คันในการค้าสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์หากลูกค้าต้องการรับสินค้าจากโจทก์โดยตรงก็จะต้องชำระค่าสินค้าในราคาหนึ่งแต่ถ้าลูกค้าต้องการจะรับสินค้าจากคลังสินค้าในเครือบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัดจะมีราคาถูกกว่าทั้งนี้โจทก์จะออกใบสั่งซื้อสินค้าให้แก่ลูกค้าเพื่อไปรับสินค้าเองหากลูกค้าไม่มีรถที่จะไปรับของจากคลังสินค้าโดยตรงโจทก์จะนำรถบรรทุกของโจทก์ไปรับจ้างลูกค้าเพื่อขนส่งสินค้าจากคลังสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้าและในการมารับสินค้าจากคลังสินค้าที่กรุงเทพมหานครโจทก์ต้องใช้รถเปล่าไปรับสินค้าดังนั้นโจทก์จึงติดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.เพื่อรับสินค้ายางพาราไปส่งยังกรุงเทพมหานครและบริษัทโจทก์ไม่มีป้ายติดว่ารับจ้างขนส่งสินค้าทั่วไปดังนี้การที่โจทก์รับขนส่งสินค้าในกรณีที่ลูกค้าไม่มีรถไปบรรทุกสินค้าที่คลังสินค้าด้วยการนำรถของโจทก์เองไปบรรทุกสินค้าส่งให้แก่ลูกค้าและการที่โจทก์รับขนส่งสินค้ายางพาราจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังกรุงเทพมหานครนั้นเป็นการให้บริการเป็นครั้งคราวไม่ใช่ประกอบกิจการขนส่งอย่างถาวรแม้จะฟังว่าโจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลแต่กรณีดังกล่าวก็ถือเป็นการกระทำเพื่อการค้าหรือธุรกิจของโจทก์เองจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา81(1)(ณ)แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงต้องนำค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ประมวลรัษฎากรมาตรา89/1วรรคหนึ่งได้บัญญัติในเรื่องของเงินเพิ่มที่จะต้องเสียไว้2กรณีคือไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้และวรรคสองบัญญัติให้การลดเงินเพิ่มนั้นสามารถกระทำได้ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา3อัฏฐแห่งประมวลรัษฎากรและได้ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดไว้ในบทมาตราดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้งดเงินเพิ่มได้จึงไม่มีเหตุที่จะลดหรืองดเพิ่มให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินที่ได้มาจากการรับจำนองและการขายทอดตลาด ศาลยืนตามประเมิน
โจทก์ประกอบกิจการเงินทุน จัดหาเงินทุนจากประชาชนมาให้กู้ยืมโดยจำนองที่ดินเป็นประกัน โจทก์มีสิทธิได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์จากการชำระหนี้การประกันการให้กู้ยืมเงินหรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่ต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกมาเป็นของโจทก์หรือภายในกำหนดเวลากว่านั้น ตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ดังที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 มาตรา 20(1)(ข) บัญญัติไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้เงินคืนมาชำระหนี้จำนองและหนี้ที่โจทก์จัดหาทุนมาจากประชาชนกับเป็นกำไรของโจทก์อีกส่วนหนึ่งนั่นเอง วิธีการดังกล่าวเป็นธุรกิจปกติของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการ การที่โจทก์ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ดังที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) มาตรา 3(5)กำหนดไว้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3ของรายรับ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/6(3)
of 8