คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกันชีวิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตโมฆียะจากข้อมูลสุขภาพที่ไม่เปิดเผย & เขตอำนาจศาล
ขณะ ท.ทำคำขอประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยท.มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรีในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ในวันทำคำขอเอา ประกันชีวิต ส. พนักงานของจำเลยไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่บ้านอันเป็นภูมิลำเนาของ ท. โดยพนักงานของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอประกันชีวิตให้ ท.ลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งพา ท.ไปตรวจสุขภาพที่คลินิก แพทย์ในตลาดวังน้ำเย็น แพทย์ได้ทำรายงานตามใบตรวจสุขภาพและ ส.ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วยแล้วส. ส่งเอกสารดังกล่าวให้บริษัทจำเลยที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครพิจารณาออกกรมธรรม์ให้แก่ ท. ต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท.การที่ท. ตกลงใจที่จะเอาประกันชีวิตกับจำเลยซึ่งต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท.ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตรายนี้ เกิดที่ภูมิลำเนาของ ท.ที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ที่ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ท. ได้เคยให้แพทย์ตรวจรักษาร่างกายจากการตรวจร่างกายประกอบกับการเอกซเรย์ปอดแล้วแพทย์พบว่าท. น่าจะเป็นวัณโรคปอด จึงได้รักษาท. ต่อเนื่องกันประมาณ 5 เดือน แล้ว ท.ขาดการติดต่อหลังจากนั้นมาพบแพทย์อีกโดยท. มีอาการไอหอบแพทย์จึงทำการตรวจรักษาและให้ยาไปรับประทาน ดังนี้ การที่ ท. ได้ทำคำขอเอาประกันชีวิตโดย ท. มิได้แจ้งว่าเคยเป็นวัณโรคปอดมาก่อน จำเลยจึงไม่ทราบว่า ท. เคยเป็นวัณโรคปอด และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงินย่อม อาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผย ข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ การที่ ท. ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอดซึ่งเป็นโรคร้ายแรง และได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทราบ เมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียก เบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิต จึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่บอกล้างนิติกรรม ดังกล่าวได้โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะ ถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใด เมื่อจำเลย บอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้วจำเลยจึงไม่ต้อง รับผิดใช้เงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8082/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะจากเจตนาปกปิดข้อมูลสุขภาพของผู้เอาประกัน
แบบฟอร์มคำขอเอาประกันชีวิต ข้อ 17 ถึงข้อ 22 เป็นข้อความที่ถามไว้เป็นข้อย่อยเกี่ยวกับสุขภาพของ ผู้เอาประกันชีวิต เช่น มีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจบ้างหรือไม่ ในระหว่าง 5 ปี ที่ผ่านมาเคยเจ็บป่วย เคยได้รับการผ่าตัด เคยรับการรักษาในสถานพยาบาล ถ้าเคย โปรดแจ้งรายละเอียด แบบฟอร์มที่มีข้อความเช่นนี้ตัวแทนจำเลย ผู้มาติดต่อขอเอาประกันชีวิตไม่จำเป็นต้องสอบถามตามข้อความที่ระบุไว้ แต่เป็นที่เชื่อได้ว่าผู้เอาประกันชีวิตจะต้องอ่านก่อน และปรากฏว่าโจทก์มีอาชีพค้าขายมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการย่อมต้องรอบคอบ เมื่อโจทก์อ่านข้อความเหล่านี้แล้ว แต่กลับเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อ 23 ซึ่งระบุว่า ถ้าคำตอบในเรื่องสุขภาพเป็นคำตอบรับ เช่น เคยได้รับการผ่าตัด หรือเข้ารักษาตัวในสถานพยาบาล จะต้องอธิบายรายละเอียดไว้ด้วย ข้อความเหล่านี้มีอยู่ก่อนโจทก์ลงชื่อในคำขอเอาประกันชีวิต หาใช่ตัวแทนจำเลยกรอกข้อความดังกล่าวภายหลังไม่ เมื่อโจทก์ไม่แจ้ง ก็ถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาปกปิดไม่แจ้งความจริงตามหน้าที่ที่ต้องชี้แจงแสดงข้อบกพร่องของผู้เอาประกันชีวิตซึ่งผู้รับประกันภัยอาจบอกปัด ไม่ยอมทำสัญญาประกันชีวิตให้ผู้รับประกันภัยทราบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง หน้าที่นี้มีน้ำหนักใน การแสดงความสุจริตมากกว่าหน้าที่ของผู้รับประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 866 ที่จะต้องใช้ความระมัดระวังใน การรับรู้ข้อความจริง โดยผู้รับประกันภัยพึงใช้ความระมัดระวังอย่างคนธรรมดาเช่นวิญญูชนทั่วไปก็พอแล้ว สัญญาประกันชีวิตดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆียะจำเลยย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าดอกเบี้ยจากธุรกิจประกันชีวิต: ดอกเบี้ยเงินฝาก ตั๋วเงิน และหุ้นกู้ ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษี
ภาษีการค้าเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากรายรับของผู้ประกอบการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 สำหรับกรณีการรับประกันชีวิต มาตรา 79 (4) (ก) บัญญัติให้รายรับหมายความว่า "ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในการให้กู้ยืมเงิน" ซึ่งแตกต่างจากการรับประกันภัยอย่างอื่นตามมาตรา 79 (4) (ข) ที่บัญญัติให้รายรับหมายความว่า "เบี้ยประกันภัยหรือเงินอื่นที่ผู้รับประกันภัยเรียกเก็บ เว้นแต่เบี้ยประกันภัยส่วนที่ต้องคืนภายในเดือนที่เก็บได้ และเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากการรับประกันภัยต่อ ซึ่งผู้เอาประกันภัยต่อได้เสียภาษีจากเบี้ยประกันภัยตามหมวดนี้แล้ว" ทั้งนี้เนื่องจากการรับประกันชีวิตนั้น ผู้ประกอบการมีความผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์เมื่อครบกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตายแล้วแต่กรณี ซึ่งแตกต่างจากการรับประกันภัยอย่างอื่น ที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายเงินเป็นค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา ก็ต่อเมื่อเกิดความเสียหายจริงเท่านั้น ประมวลรัษฎากรจึงไม่บัญญัติให้เบี้ยประกันภัยเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าของกิจการประกันชีวิต แต่ให้ถือเอาดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลที่ผู้ประกอบการได้รับจากการนำเบี้ยประกันภัยไปลงทุนหรือหาประโยชน์รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าบริการในการกู้ยืมเงินเป็นรายรับแทน คำว่า ดอกเบี้ยในมาตรา 79 (4) (ก) จึงหมายถึงดอกเบี้ยทุกประเภทที่ผู้ประกอบการรับประกันชีวิตได้รับเนื่องจากการประกอบการค้าของตน อีกทั้งตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 22 ยังได้กำหนดถึงธุรกิจที่บริษัทประกันชีวิตจะลงทุนไว้หลายประการรวมถึงการให้กู้ยืม ซื้อหุ้นกู้ ซื้อหรือซื้อลดตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินและฝากเงินไว้กับธนาคารในประเทศโดยได้รับดอกเบี้ย การลงทุนดังกล่าวล้วนมีลักษณะอย่างเดียวกันคือได้รับประโยชน์หรือผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ดังนั้น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ดอกเบี้ยตั๋วเงินและดอกเบี้ยหุ้นกู้ย่อมเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้าหรือการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการประกันชีวิต ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 79 (4) (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินชดเชย/เงินกองทุนเลี้ยงชีพ/ประกันชีวิตหลังเสียชีวิต ไม่เป็นสินสมรส/มรดก แต่เป็นสิทธิ/หน้าที่ตามสัญญา/ระเบียบ
ป.พ.พ.มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้น หมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน เมื่อ ณ.ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง ณ.และโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501
เงินชดเชยที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. และได้รับมาหลังจาก ณ.ถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา ทั้งสิทธิที่จะได้เงินค่าชดเชยนี้มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.ได้มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม จึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ. เมื่อระเบียบของจำเลยที่ 2ผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้ต้องนำเงินชดเชยมาหักหนี้สินที่ ณ.สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีต่อจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะหักหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน
ป.พ.พ.มาตรา 1625 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตายกับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่านั้นหาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องมีการนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตายไม่
สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่ความตาย แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาผู้ตายจะต้องเคยชำระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อผู้เสียชีวิต 1 ราย ร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 คนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่ความตายรายก่อน ๆ ก็ตาม ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ ณ.จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง
เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่าง ณ.กับบุคคลภายนอกและจำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ คือ จำเลยที่ 1 สืบเนื่องจากความมรณะของ ณ.อันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของ ณ.ที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย
แม้สัญญาประกันชีวิตที่ ณ.ระบุให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิตว่าโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ณ.ที่จะตกแก่ทายาท ดังนี้ฎีกาของโจทก์ในส่วนเบี้ยประกันภัย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดเจ็บป่วยก่อนทำประกันชีวิตไม่ถือเป็นเหตุบอกล้างสัญญา หากไม่ชัดเจนว่าเป็นโรคเฉพาะเจาะจง
แม้ตรวจพบว่ามีการอักเสบของตับ แต่ตามรายงานการตรวจของแพทย์ได้แนะนำให้รับการวินิจฉัยต่อไป แสดงว่ายังไม่แน่ชัดว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคตับอักเสบหรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายทราบว่าตนป่วยเป็นโรคตับอักเสบ ดังนั้น การที่ผู้ตายมิได้แจ้งผลการตรวจโรคดังกล่าวในแบบสอบถามของจำเลย จึงมิใช่กรณีผู้ตายรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจจำเลยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก สัญญาประกันชีวิตไม่เป็นโมฆียะจำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า ผู้ตายประสบอุบัติเหตุหกล้มศีรษะกระแทกพื้นและเสียชีวิตจำเลยให้การเพียงว่า ผู้ตายปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนทราบมาก่อนว่าเป็นโรคตับ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ โดยไม่ได้ให้การปฏิเสธหรือโต้แย้งเรื่องผู้ตายประสบอุบัติเหตุแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับการรับช่วงสิทธิ: ข้อจำกัดในการฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหาย
สัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตเป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้เงินตามความหมายในมาตรา 889 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งไม่ได้ให้สิทธิผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิแทนกันได้เหมือนอย่างการประกันวินาศภัย ดังนี้ โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเกี่ยวกับการตายของผู้เอาประกันที่โจทก์จ่ายไป เมื่อค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยกรณีบาดเจ็บและค่ารักษาพยาบาลก่อนตายของผู้เอาประกันที่โจทก์จ่ายไป ซึ่งเป็นการจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ตกลงคุ้มครอง หาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่ถือเป็นค่าเสียหายที่ผู้เอาประกันได้รับจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยเมื่อโจทก์จ่ายให้แก่ผู้เอาประกันแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันมาฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยผู้ทำละเมิดต่อผู้เอาประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล vs. ประกันชีวิต: สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายและการเข้ารับช่วงสิทธิ
สัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตของ ส. เป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่ง การใช้เงินตามความหมายในมาตรา 889 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่ได้ให้สิทธิผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิแทนกันได้เหมือนอย่างการประกันวินาศภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายในส่วนนี้ที่โจทก์จ่ายไปจำนวน 100,000 บาท ส่วน ค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยกรณีบาดเจ็บของ ก. และค่ารักษาพยาบาลก่อนตายของ ส. ที่โจทก์จ่ายไปรายละ50,000 บาท เป็นการจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ตกลง คุ้มครองหาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่ถือเป็นค่าเสียหายที่ ก. และ ส. ได้รับจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์จ่ายให้แก่ ก. และ ส.แล้วจึงเข้ารับช่วงสิทธิจากก.และส. มาฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยทั้งสามได้ เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ คำพิพากษานี้จึงมีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน180,300 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน 380,300 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ชำระเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 200,000 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียง5,000 บาท การที่จำเลยที่ 3 เสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์429,617.51 บาท เป็นเงิน 10,640 บาท จึงไม่ถูกต้องต้องคืนค่าขึ้นศาล ส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7043/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลในการทำประกันชีวิตโดยผู้แทนโดยชอบธรรม ถือเสมือนการแจ้งโดยผู้เอาประกันภัยเอง และการบอกล้างนิติกรรม
โจทก์ให้ถ้อยคำต่อจำเลยในฐานะโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ภ. อายุ 4 ปีเศษ ดังนี้ การแจ้งของโจทก์จึงเป็นการแจ้งแทนบุตรผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1570 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะจากข้อมูลเท็จของผู้เอาประกันภัย และผลกระทบต่อสัญญาประกันเพิ่มเติม
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับจำเลยโดยทราบมาก่อนว่าตนเป็นโรคหอบหืดประจำตัวแต่ไม่ได้เปิดเผยข้อความจริงนี้ให้จำเลยทราบซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นก่อนทำสัญญาหรือไม่รับประกันชีวิตของผู้ตายสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะจำเลยมีสิทธิบอกล้างได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะเหตุใดดังนั้นเมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายเพราะหกล้มศีรษะฟาดพื้นเป็นเหตุให้เลือดออกในสมองจำเลยจึงบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันต่อโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้และย่อมมีผลให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ สัญญาประกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันอุบัติเหตุเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิตเมื่อสัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะเพราะจำเลยบอกล้างโมฆียะกรรมเสียแล้วสัญญาประกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุบัติเหตุย่อมตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6032/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บอกล้างสัญญาประกันชีวิตเกินกำหนด: สิทธิบอกล้างระงับเมื่อพ้น 1 เดือนนับจากวันที่ทราบข้อเท็จจริง
โรงพยาบาลอุดรธานีได้ถ่ายสำเนาประวัติการรักษาตัวของ บ.มอบให้ ก.และ ก.ได้รายงานแจ้งไปยังสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 16พฤศจิกายน 2533 ซึ่งตามรายงานดังกล่าวระบุว่า จากการตรวจสอบเชื่อได้ว่าบ.มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ก่อนทำประกันอย่างแน่นอนและป่วยเป็นมะเร็ง ทั้งตามหนังสือบอกล้างสัญญาประกันชีวิต จำเลยที่ 1 ก็อ้างว่าแพทย์เคยวินิจฉัยว่า บ.ป่วยเป็นโรคมะเร็งของท่อน้ำดี จำเลยที่ 1 ย่อมมีเหตุควรรู้ได้แล้วว่า บ.เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งและเคยได้รับการตรวจรักษามาแล้ว แต่ บ.ปกปิดความจริงดังกล่าวฉะนั้น จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รู้มูลเหตุที่จะบอกล้างสัญญาประกันชีวิตตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 ที่จำเลยที่ 1 ได้รับรายงานของ ก.แล้ว การที่จำเลยที่ 1 บอกล้างสัญญาประกันชีวิตในวันที่ 19 มิถุนายน 2534 จึงเกิน 1 เดือนนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 รู้มูลเหตุที่จะบอกล้างได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องแพ้คดีตามคำท้า
of 13