คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกันภัยรถยนต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยรถยนต์ และสิทธิไล่เบี้ยตามกรมธรรม์
การรับช่วงสิทธิเป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย ส่วนการเกิดสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยตกลงไว้กับผู้เอาประกันภัย ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้มีข้อกำหนดถึงเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ หลักในเรื่องการรับช่วงสิทธิมีอย่างไรจึงย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ.
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ.ขับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เช่นกัน ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินในนามของผู้เอาประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย อันเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทของผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยได้รับประกันภัยไว้ ดังนั้น เมื่อ ส.ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทของ ส.ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ บ.ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าวตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยนั้น และเมื่อโจทก์เข้ามาชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ บ.ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกร้องของ บ.ที่มีต่อจำเลย ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ: ขอบเขตความรับผิดของผู้ขับขี่ นายจ้าง และผู้เอาประกัน
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารได้เอาประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 3ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซ่อมรถยนต์ จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ซ่อมรถยนต์และทดลองขับรถและขับด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชน ห. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส.มารดาของ ห.ต่อมาโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ส.เป็นเงิน 50,000 บาท เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 10,000 บาทซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับการร้องขอเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 20 โจทก์ย่อมมีสิทธิ ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ย ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ มิใช่การรับช่วงสิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 ทั้งโจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าว จากจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้ด้วย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนนี้จากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้เพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทั้งไม่ใช่ผู้ขับขี่รถหรือนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัย ดังนั้นการที่โจทก์จ่ายเงินอีก 40,000 บาทให้แก่ ส. ไป จึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตามมาตรา 880 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัยรถยนต์ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ และขอบเขตความรับผิดของผู้เอาประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยพิพาทเป็นกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งบังคับให้เจ้าของรถจะต้องจัดให้มีการประกันตามมาตรา 7 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 10,000 บาท ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 4 ซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน7วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับการร้องขอเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 มาตรา 20 และกฎกระทรวงฉบับที่ 6(พ.ศ. 2535) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ มิใช่การรับช่วงสิทธิตามมาตรา 880 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้ด้วย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทั้งจำเลยที่ 3 ไม่ใช่ผู้ขับขี่รถหรือนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนจำนวนค่าสินไหมทดแทนอีก 40,000 บาท ที่โจทก์จ่ายให้ฝ่ายผู้ประสบภัยจากรถไปนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 2.1 โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถข้อ 2.1 ดังนั้น การที่โจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ ส. ไปจึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเฉพาะกรณีผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
ตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้กำหนดค่าเสียหายเบื้องต้นไว้ และจำเลยได้จ่ายให้โจทก์อันเป็นการปฏิบัติตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 และกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ครบถ้วนแล้ว ส่วนเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย เมื่อมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยเฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายรับผิดชอบ ย่อมใช้บังคับได้ ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความคุ้มครองตามพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายรับผิดชอบ
ตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้กำหนดค่าเสียหายเบื้องต้นไว้ และจำเลยได้จ่ายให้โจทก์อันเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 มาตรา 20 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 ครบถ้วนแล้วส่วนเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยเมื่อมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยเฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายรับผิดชอบย่อมใช้บังคับได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: ความคุ้มครองนอกเหนือค่าเสียหายเบื้องต้น
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 15ที่บัญญัติว่า "กรมธรรม์ประกันภัย...ซึ่งมีข้อความระบุถึงความรับผิดของบริษัทแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทแห่ง พ.ร.บ.นี้ บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นมิได้" นั้น เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ฉบับนี้เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขความรับผิดของผู้รับประกันภัยที่เป็นเงื่อนไขความรับผิดเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนนอกจากค่าเสียหายเบื้องต้น ย่อมไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 15 ดังกล่าวและเมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.ฉบับนี้หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เช่าซื้อมีสิทธิทำประกันภัยรถยนต์ และมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยได้หากรถยนต์สูญหาย
โจทก์ที่2เป็นผู้เช่าซื้อรถที่จำเลยรับประกันภัยแม้จะชำระค่าเช่าซื้อยังไม่หมดมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถทั้งสองคันแต่โจทก์ที่2ในฐานะผู้เช่าซื้อมีสิทธิยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดขึ้นแก่รถที่เช่าซื้อและเมื่อชำระเงินครบถ้วนแล้วรถนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่2หรือหากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโจทก์ที่2มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนผู้ให้เช่าซื้อโจทก์ที่2จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถทั้งสองคันมีสิทธิทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งมีผลบังคับใช้ในขณะรถที่จำเลยรับประกันภัยสูญหายและในกรมธรรม์ก็มีชื่อตัวชื่อสกุลของโจทก์ที่2ปรากฏอยู่ในช่องผู้เอาประกันภัยแม้จะอยู่ในวงเล็บก็มิได้หมายความว่ามิใช่เป็นผู้เอาประกันภัยประกอบกับโจทก์ที่2เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยโจทก์ที่2จึงเป็นคู่สัญญาประกันภัยกับจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายลักรถที่จำเลยรับประกันภัยไปและจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่ทราบว่ารถที่จำเลยรับประกันภัยอยู่ที่ใดทั้งว.คนขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ที่2ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตามพฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้ว่าว.ลักรถที่จำเลยรับประกันภัยไปจำเลยเพียงสงสัยว่าว.อาจจะเป็นคนร้ายเท่านั้นดังนี้จำเลยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4093/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยรถยนต์: การปฏิเสธความรับผิดของผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยไม่ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายเอง และหน้าที่ของผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยชั้นหนึ่ง
ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 1.5.1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมของบริษัทผู้รับประกันภัยจำเลยเว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น และข้อ 1.10เงื่อนไขบังคับก่อนระบุว่า บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหาย ให้แก่คู่กรณี ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับผิดต่อคู่กรณี การที่พนักงานสอบสวนสั่งปรับโจทก์ในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายนั้น เป็นการกระทำของพนักงานสอบสวนเอง หาใช่โจทก์ยอมรับผิดต่อคู่กรณีไม่โจทก์จึงมิได้กระทำผิดเงื่อนไขซึ่งจำเลยจะอ้างเป็นเหตุที่จะไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทน และจำเลยค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องก็อยู่ในวงเงินที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาเมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายแม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุน แม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
of 11