คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกาศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล, การออกประกาศเรียกเก็บเงินสมทบ, และการใช้ประกาศที่ถูกต้องตามช่วงเวลา
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา17ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไว้หลายประการเช่นมาตรา17(18)ให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจำหน่ายน้ำตาลทรายและเพื่อไว้บริโภคในราชอาณาจักรและกำหนดราคาขายน้ำตาลทรายดังกล่าว(30)ให้อำนาจกำหนดระเบียบอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งระเบียบดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกฉบับที่1(พ.ศ.2528)ประกาศเมื่อวันที่26มีนาคม2528ระเบียบในข้อ5มีความว่าให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจหน้าที่(6)กำหนดจำนวนเงินสมทบและระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบและ(7)ให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจัดทำบัญชีเรียกว่า"บัญชีเงินจ่ายคืนผู้ผลิต"เพื่อนำเงินสมทบที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเรียกเก็บจากโรงงานน้ำตาลทุกโรงงานตามจำนวนที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายกำหนดดังนั้นการที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายออกประกาศเรื่องการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี2530/2531เมื่อวันที่23มีนาคม2531โดยอาศัยอำนาจตามข้อ5แห่งระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ขอให้เพิกถอนประกาศดังกล่าวไม่ได้ ประกาศคณะกรรมการน้ำตาลทรายที่เรียกเก็บเงินสมทบเป็นประกาศที่ใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี2530/2531ที่พิพาทกันในคดีนี้จะนำประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่5พ.ศ.2532ซึ่งใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตในปีต่อๆไปอันเป็นระยะเวลาภายหลังฤดูการผลิตปี2530/2531มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่มติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืนและผลของประกาศ คสช. ที่ไม่มีผลย้อนหลัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา25วรรคสองและโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวตามมาตรา26วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีโดยล่วงเลยกำหนดนั้นจึงไม่มีสิทธิฟ้องและประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ2ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแก้ไขค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้เมื่อเห็นว่าราคาที่ดินที่ถูกเวนคืนสูงขึ้นและราคาที่จ่ายให้ผู้ถูกเวนคืนไปแล้วหรือราคาเบื้องต้นที่กำหนดและประกาศไปแล้วไม่เป็นธรรมก็หามีผลบังคับให้เป็นคุณแก่โจทก์ไม่เพราะการฟ้องคดีของโจทก์ได้เสร็จเด็ดขาดไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน การผูกพันตามประกาศ และการเรียกร้องหนี้
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง. ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศเป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้วการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้และขอให้โจทก์นำเอกสารต่างๆพร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้นถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั่งหนึ่งก่อนดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วแม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้ สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ2ว่าบริษัทง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล"ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณีๆไปและในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้เช่นได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้วหรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสนอแม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ประกาศของจำเลยข้อ2นี้จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด ตามประกาศของจำเลยข้อ3มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ยกับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปีภายในระยะเวลาไม่เกิน10ปีจะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ10ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินจนกว่าจะครบจำนวนดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆตามประกาศดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับละ500,000บาทปีละ4ฉบับมีกำหนดเวลา10ปีโดยไม่มีดอกเบี้ยสำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน4ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่10มิถุนายน2530แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้และให้โจทก์นำเอกสารต่างๆไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยโจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่างๆไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่24กุมภาพันธ์2532จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่28กุมภาพันธ์2532จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้4ฉบับแรกฉบับละ500,000บาทโดยไม่มีดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่1มีนาคม2532เป็นต้นไปและทุกวันที่1มีนาคมของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด10ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4253/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขับไล่: การไม่ปิดประกาศให้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษ ไม่ส่งผลต่อสิทธิของจำเลย
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ปิดประกาศให้ผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296จัตวา(3)มิได้เป็นวิธีการบังคับคดีที่เกี่ยวกับจำเลยจำเลยไม่อยู่ในฐานะผู้ต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองจำเลยไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีด้วยเหตุนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10131/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอราคาเช่าสิทธิและการทำสัญญา: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในประกาศ
จำเลยได้ประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจเสนอราคาค่าเช่าสิทธิจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถไฟรวม ๑๓ ขบวน โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อจำเลยตกลงรับให้ผู้ยื่นซองเสนอราคารายใดเป็นผู้ได้รับสิทธิการเช่า ผู้ได้รับสิทธิการเช่าจะต้องทำสัญญาเช่าสิทธิจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มตามแบบของจำเลยที่แผนกควบคุมสัญญาและการเช่าสิทธิ กองโดยสารฝ่ายการเดินรถไฟของจำเลยภายในกำหนด ๑๐ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยและจำเลยจะกำหนดให้ผู้ได้รับสิทธิการเช่าเริ่มดำเนินการตามสัญญาเช่า ทั้งนี้ไม่เกิน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หากผู้ได้รับสิทธิการเช่าไม่มาจัดทำสัญญาเช่าภายในกำหนด จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำซองหรือเรียกเงินที่มีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันที่วางไว้ทั้งหมด ต่อมาจำเลยตกลงรับให้โจทก์ผู้เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ได้รับสิทธิการเช่า จำเลยได้ส่งหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อให้โจทก์ไปทำสัญญาเช่าสิทธิจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถภายในกำหนด ๑๐ วัน นับแต่ได้รับหนังสือโดยชอบแล้ว การส่งหนังสือแจ้งโจทก์ดังกล่าวแม้โจทก์ไม่ยอมรับก็ถือว่ามีผลเป็นการแสดงเจตนาไปถึงโจทก์แจ้งให้ไปทำสัญญากับจำเลยโดยชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา ๑๖๙ วรรคหนึ่ง แล้วเมื่อโจทก์ได้ทราบถึงเจตนาของจำเลยแล้วเช่นนี้ แต่โจทก์ไม่ไปทำสัญญากับจำเลยภายในกำหนด จึงผิดเงื่อนไขตามประกาศของจำเลย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญากรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยการประกาศและการนับระยะเวลาเพื่อการยื่นคำขอพิจารณาใหม่ในคดีล้มละลาย
จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาไม่แน่นอน และโจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่แห่งใด การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถจะทำได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 โดยการประกาศหนังสือพิมพ์ และปิดประกาศคำบังคับให้จำเลยที่ 2ทราบที่หน้าศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง
การปิดประกาศคำบังคับที่หน้าศาลมีผลใช้ได้เมื่อกำหนด 15 วันได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นปิดประกาศคำบังคับให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 9กันยายน 2534 ถือว่าได้ส่งคำบังคับให้จำเลยที่ 2 แล้วเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2534และเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายเนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยตนเองเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2535 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่10 เมษายน 2535 จึงพ้นกำหนดสิบห้าวันนับจากวันที่ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาแก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยย้ายที่อยู่และไม่สามารถส่งถึงได้ โดยการประกาศทางหนังสือพิมพ์
โจทก์ส่งคำบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังบ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 5 ที่ 6 ตามที่ปรากฏในสัญญาจำนองสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านทางไปรษณีย์แต่ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ส.ทนายโจทก์ขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ที่ 6 แจ้งย้ายไปอยู่บ้านเลขที่ 35 ถนนราชวิถีแขวงจิตรลดาเขตดุสิตกรุงเทพมหานครเมื่อส.ขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 35 เจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนเขตดุสิตแจ้งว่าไม่มีบ้านเลขที่ดังกล่าว แม้ส.จะยื่นคำร้องขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 35 หลังจากโจทก์ประกาศบอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ก็เข้าใจได้แล้วว่าในช่วงระหว่างวันที่จำเลยที่ 5ที่ 6 แจ้งย้ายออกจากบ้านภูมิลำเนาเดิมถึงวันที่ ส. ยื่นคำร้องไม่มีบ้านเลขที่ 35 ตั้งอยู่บนถนนราชวิถีแขวงจิตรลดาเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดโดยมิชอบ การแจ้งหมายและการส่งประกาศ
พนักงานเดินหมายปิดประกาศขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทยังบ้านที่จำเลยแจ้งย้ายออกไปแล้ว ไม่ใช่เป็นการปิด ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานทำการงานของจำเลยและเจ้าพนักงานบังคับคดีใช้วิธีการประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดา ทั้ง ๆ ที่การส่งโดยวิธีธรรมดายังทำได้อยู่ ย่อมเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคแรก ถือได้ว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทไม่ทราบประกาศขายทอดตลาด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขาย-ทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปโดยไม่แจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดแก่จำเลยผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงเป็นการดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 2 6 วรรคสอง และมาตรา 306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายค่าชดเชย: รัฐวิสาหกิจต้องใช้ระเบียบใหม่แทนประกาศเก่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534 ข้อ 2ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายนพ.ศ. 2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ประกาศใช้บังคับซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 56 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2514 ข้อ 46จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1377-1378/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ: ประกาศสงวนที่ดินย้อนหลังมีผลผูกพัน แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกา
การที่ทางราชการอำเภอจันทึกได้ประกาศสงวนหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้เพื่อใช้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประกาศลงวันที่ 30 ตุลาคม 2478 นั้นแม้ในภายหลังได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 ซึ่ง มาตรา 4 และ มาตรา 5 บัญญัติว่าการหวงห้ามที่ดินดังกล่าวต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ก็หามีผลลบล้างถึงที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประกาศดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วไม่ ประกาศของอำเภอจันทึกลงวันที่ 30 ตุลาคม 2478 มีข้อความตอนท้ายของประกาศยกเว้นมิให้ที่ดินที่เป็นสิทธิของราษฎรอยู่ก่อนแล้วกลายสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประกาศ ดังกล่าว ผู้โอนขายที่พิพาทแก่โจทก์ ที่ 1 ได้ที่พิพาทมาโดยการจับจอง เมื่อ พ.ศ. 2493 ส่วน โจทก์ ที่ 2 ได้ที่พิพาทมาโดยการจับจองเมื่อ พ.ศ. 2497 ที่พิพาททั้งสองแปลงมิได้เป็นสิทธิของราษฎรซึ่ง มีมาตั้งแต่ก่อนทางราชการได้ประกาศสงวนที่ดินใน พ.ศ. 2478 จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิในที่พิพาท
of 18