คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกาศกระทรวงการคลัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย: บทบาทการนำสืบหลักฐานประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลังที่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลสามารถรับรู้ได้เอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ เมื่อทางพิจารณาโจทก์ไม่นำสืบความข้อนี้ให้ปรากฏต่อศาล โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ในอัตราร้อยละ19.5 ต่อปีซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดและเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการเช่าทรัพย์สิน การเฉลี่ยรายได้ตามประกาศกระทรวงการคลัง และกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี
โจทก์ได้รับค่าตอบแทนในการจดทะเบียนสิทธิการเช่าตึกแถวโดยมีระยะเวลาการเช่าตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2545 จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์เฉลี่ยเงินได้เป็นรายปีจนกว่าจะสิ้นระยะเวลาการเช่าตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2499โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเอาเงินได้ส่วนที่เฉลี่ยนั้นยื่นรายการเงินได้เมื่อถึงกำหนดแต่ละปี จำเลยจะให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ทั้งหมดในคราวเดียวกันตามมาตรา 60 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยอ้างเหตุว่า โจทก์ยื่นรายการเงินได้ปีก่อน ๆ ไม่ถูกต้อง เป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากร เงินได้จากการจดทะเบียนสิทธิการเช่ามีรอบระยะเวลาที่ต้องเสียภาษีนาน ไม่มีหลักประกันว่าจะเสียภาษีภายในกำหนดเวลาและครบถ้วนนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มีหลักทรัพย์และไม่ยากที่จะเรียกเก็บภาษี ทั้งได้เสนอหลักทรัพย์ที่จะประกันการเสียภาษีดังกล่าวสูงกว่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียมาก ย่อมเห็นได้ว่าสามารถเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ได้แน่นอน ส่วนการหลีกเลี่ยงภาษีอากรโดยยื่นรายการภาษีในปีก่อน ๆ ไม่ถูกต้องนั้น โจทก์จะต้องรับผิดในเรื่องเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับอยู่แล้ว เหตุต่าง ๆดังที่จำเลยอ้างจึงมิใช่กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีตามมาตรา 60 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราปกติ: จำเป็นต้องสืบข้อเท็จจริงตามประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อกฎหมายแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องนำสืบ เมื่อโจทก์ไม่สืบโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลังและดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
ประกาศของ กระทรวงการคลัง ซึ่ง ออกโดย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523มาตรา 3 หาใช่ข้อกฎหมายอันถือ เป็นเรื่องที่ศาลจะรับรู้เองได้ ไม่แต่ เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่คู่ความมีหน้าที่ต้อง นำสืบ เมื่อทางพิจารณาโจทก์ไม่สืบแสดงให้ความข้อนี้ปรากฏ ทั้งมิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้ได้เองแล้วเช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ย ได้ ถึง อัตราร้อยละ 20 ต่อปี อันเกินไปจากอัตราปกติตาม ที่กฎหมายกำหนดแต่ การที่จำเลยตก เป็นผู้ผิดนัดในการชำระหนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ย ได้ ในอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างเวลาผิดนัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าต้องนับระยะเวลาจากวันยื่นแบบแสดงรายการค้า หรือวันปล่อยของจากคลังสินค้าทัณฑ์บนตามประกาศกระทรวงการคลัง
ป. รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ซึ่งกำหนดว่าการประเมินภาษีการค้าให้กระทำได้ภายในสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หมายความว่า ในกรณีที่มีกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้หลายวัน ก็ให้นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลานั้น ส่วนในกรณีที่วันยื่นแบบแสดงรายการการค้าได้กำหนดไว้แน่นอนเป็นวันหนึ่งวันใด โดยเฉพาะ เพียงวันเดียวแล้ว ก็ย่อมต้องถือว่าวันที่กำหนดไว้แน่นอนนั้นเป็นวันสุดท้าย การนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่กำหนดไว้แน่นอนนั้น ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า เรื่องกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการการค้า และการชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกครั้งที่มีการยื่นใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งเป็นเพียงวันเดียวที่กำหนดไว้แน่นอนแล้ว การนับระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ (2) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว ในกรณีที่ผู้มีเอกสิทธิทางการทูตซื้อสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า แต่เปลี่ยนเป็นการยื่นบัญชีเล็ดเยอร์ ใบประทวนของใช้ในบ้านเมืองแทนเมื่อจะปล่อยของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ต้องถือว่าวันปล่อยของออกคือวันที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว แม้โจทก์จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทและมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่เจ้าพนักงานได้ประเมิน แต่เจ้าพนักงานทำการประเมินและแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันปล่อยของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน การประเมินดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 88 ทวิ (2)แห่ง ป.รัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อโกงค่าภาษีเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร แม้มีการระบุประกาศกระทรวงการคลังที่ยกเลิกแล้ว
แม้พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16บัญญัติให้ถือว่าการกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 และ 99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม แต่การที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ต้องได้ความว่าจำเลยมีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 612-613/2511)
การที่จำเลยขอชำระอากรขาเข้าสำหรับสินค้าหรือของรายพิพาท โดยระบุว่าอากรปกติในพิกัดดังกล่าวจะต้องเสียอัตราร้อยละ 15 แต่ได้รับลดหย่อนให้เสียในอัตราร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.4/2517 แม้ประกาศดังกล่าวนี้จะถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก. 6/2519 ก็ตาม ข้อความที่ระบุถึงประกาศกระทรวงการคลังที่ถูกยกเลิกดังกล่าวเป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นข้อความเท็จ แต่กรณีจะเป็นความไม่สมบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: การพิจารณาอัตราแลกเปลี่ยนมาตรฐานตามประกาศกระทรวงการคลัง
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทสกับเงินไทยย่อมหมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนอันเปนมาตราถานเดียวกัน หาไช่อัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละท้องถิ่นที่นำเงินเข้ามาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคิดดอกเบี้ยเกิน 15% ของสถาบันการเงินตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมฯ และการนำประกาศกระทรวงการคลังมาใช้
พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดจากผู้กู้ยืมหรือคิดให้ผู้ให้กู้ยืมหรือคิดให้ผู้ให้กู้ยืมให้สูงกว่าอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีได้ และตามมาตรา 6 เมื่อรัฐมนตรีกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามมาตรา 4 แล้ว มิให้นำมาตรา 654 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่การคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงินที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 4 โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์จึงเป็นสถาบันการเงินตามความในมาตรา 3 (2) แห่ง พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นสถาบันการเงินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้โจทก์เรียกจากผู้กู้ยืมได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทโดยตรง ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืมฯ ที่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราที่เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีที่โจทก์จะต้องนำสืบ การที่พยานโจทก์เบิกความว่า การคิดดอกเบี้ยและการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมและสัญญาจำนองที่โจทก์ฟ้องเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ โดยอ้างส่งประกาศกระทรวงการคลังเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืมฯ แนบท้ายประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาด้วย ถือได้ว่าโจทก์ได้นำสืบถึงประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว
แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวในบัญชีระบุพยานอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ. ก็ตาม แต่ประกาศดังกล่าวเป็นเอกสารทางราชการที่จำเลยและประชาชนโดยทั่วไปสามารถตรวจสอบถึงความมีอยู่และถูกต้องแท้จริงได้โดยไม่เป็นการยากลำบาก โจทก์อ้างส่งเอกสารดังกล่าวในระหว่างสืบพยานโจทก์ เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จสิ้นศาลชั้นต้นก็ได้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลย จำเลยมีโอกาสตรวจสอบเอกสารและถามค้านพยานโจทก์ตลอดจนนำพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ จำเลยจึงมิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ครั้งถึงวันนัดสืบพยานจำเลย จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านถึงความมีอยู่และความถูกต้องของประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืมตามมาตรา 4 แล้ว โจทก์เป็นสถาบันการเงินที่รัฐมนตรีกำหนดตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว จึงไม่อาจนำมาตรา 654 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4587/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาเงินกู้, ดอกเบี้ยผิดนัด, เบี้ยปรับ, การปรับลดเบี้ยปรับ, และการคิดดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลัง
แม้สัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ใช้บังคับ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ชําระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลาและไม่ครบจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาตั้งแต่ปี 2560 หลายครั้ง แต่โจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาหรือเรียกให้ชําระหนี้ทั้งหมดทันที โจทก์กลับรับชําระหนี้ไว้โดยไม่อิดเอื้อน ทั้งมีการงดคิดดอกเบี้ยผิดนัดระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2561 แสดงว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาและจำนวนเงินที่ต้องชําระตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จำเลยที่ 1 จะตกเป็นผู้ผิดนัดต่อเมื่อโจทก์ได้ให้คําเตือนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง เมื่อได้ความว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ชําระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 จำเลยที่ 1 ไม่ชําระหนี้ให้แก่โจทก์อีก โจทก์จึงมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามฉบับลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ให้จำเลยทั้งสี่ชําระทั้งหนี้ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือนั้นแล้วเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 ครบกำหนดวันที่ 6 มิถุนายน 2561 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชําระ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในวันที่ 7 มิถุนายน 2561 จึงเป็นกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดภายหลังจากวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ใช้บังคับ ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 19 ให้สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ ดังนั้น โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 686 วรรคหนึ่ง โดยมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันเพื่อให้ทราบถึงการผิดนัดนั้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2561 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้ชําระหนี้ ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 จำเลยที่ 4 ได้รับเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2561 จึงถือได้ว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งการผิดนัดของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ไปยังจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด อันเป็นการที่โจทก์ได้ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 วรรคหนึ่ง แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชําระหนี้ภายในกำหนด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชําระต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งดอกเบี้ยที่ค้างชําระเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ด้วย
โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินและสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงการคลังและประกาศของโจทก์ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ ศาลย่อมไม่มีอำนาจปรับลดดอกเบี้ยลงได้ แต่ส่วนที่สัญญากู้เงินและสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนกำหนดว่า ในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัดชําระหนี้ ยินยอมให้ผู้ให้กู้เรียกให้ชําระหนี้ทั้งหมดคืนพร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราสูงสุดได้ทันทีนั้น มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ดอกเบี้ยที่โจทก์ปรับเพิ่มขึ้นจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 หากศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนก็มีอำนาจให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาเพื่อลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรจะต้องกำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยระบุไว้ในประกาศกระทรวงการคลังที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 12 และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หากไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน กรมศุลกากรจะออกประกาศกรมศุลกากรเพื่อขยายหรือเพิ่มเติมหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพื่อพิจารณาให้สิทธิลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรให้แตกต่างไปจากประกาศกระทรวงการคลังไม่ได้
เมื่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยมูลค่าของฐานภาษี คือ ราคาสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้าที่โต้แย้งกันในคดีนี้ว่าเป็นอากรเท่าใดเพื่อใช้เป็นฐานภาษีและจำเลยที่ 1 ใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากรเป็นผลกระทบต่อสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิการลดอัตราอากรอันมีผลให้อากรขาเข้าลดลง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์มีความรับผิดย่อมลดลงไปโดยผลของกฎหมายด้วย
of 2