คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม หากเป็นคนละเรื่อง ศาลไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าเสียหายและลงโฆษณาขอขมาจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์โดยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาอีกฉบับหนึ่ง เพราะไม่ยอมปลดจำนองที่ดินที่ได้จำนองไว้เป็นประกันการกู้เงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายนั้น สัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 อ้างรวมทั้งที่ดินที่จำนองตามสัญญาเป็นคนละส่วนกับสัญญาและที่ดินที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้อง ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์: การพิจารณาประเภทคำร้องระหว่างทุเลาการบังคับกับคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ.
แม้โจทก์จะใช้ถ้อยคำว่าขอทุเลาการบังคับมาในคำร้องที่โจทก์ยื่นพร้อมกับอุทธรณ์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้อง แต่ก็มีใจความว่าหากศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการติดตามเอาทรัพย์พิพาทของโจทก์คืนมาจากจำเลย จึงพอแปลได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประจำตำแหน่งข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 มาตรา 12 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการจึงมิใช่เงินเดือนในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องวางค่าธรรมเนียมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานจำเลยเพราะเหตุไม่มีพยานมาเบิกความ เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ด้วย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์มาวาง จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การอ้างเหตุวิกฤตเศรษฐกิจโดยไม่เข้าหลักเกณฑ์จึงไม่อาจงดบังคับคดีได้
กรณีที่จะงดการบังคับคดีได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 292 และ 293 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หรือได้ยื่นฟ้องเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกันนั้นซึ่งศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด แต่ตามคำร้องของจำเลยหาได้อ้างเหตุตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลงดการบังคับคดีไม่ กลับอ้างวิกฤติทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดขึ้นนอกประเทศไทยและในประเทศไทยเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้มาของดการบังคับคดี โดยอ้างว่าได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150,205 และ 219 อันเป็นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติซึ่งไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการงดการบังคับคดีแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ปัญหาที่ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ถึงมาตรา 305(ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 3,4,6,30 และ 48 จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ทั้งมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ถึงมาตรา 305 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้และไม่จำต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีสินสอดที่เกินทุนทรัพย์ และขัดต่อข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าสินสอดเป็นเงินคืนแก่โจทก์ทั้งสามจำนวน 35,000 บาท พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำ 1 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้เป็นราคาแทน 5,300 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสามดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียง 40,300 บาท ไม่เกิน 50,000 บาททั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยตกลงสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยมีการหมั้น เมื่อไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงต้องคืนสินสอด ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่าทั้งสองฝ่ายมิได้ประสงค์จะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจเรียกสินสอดคืนได้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาโจทก์ทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่นอกเหนือจากที่ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ที่พิพาทไม่ใช่เป็นของจำเลยแต่เป็นของผู้ร้อง โดยผู้ร้องชำระราคาครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญาซื้อขายหลังจากนั้นผู้ร้องได้ครอบครองทำประโยชน์จนได้สิทธิครอบครองประเด็นตามคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้อง จึงมีว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยซื้อมาจากจำเลยแล้วหรือไม่การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า หลังจากทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทแล้ว จำเลยสัญญาว่าจะดำเนินการจดทะเบียนโอนที่พิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่ผู้ร้องในภายหลัง เท่ากับอ้างว่าสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายมิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามที่อ้างมาในคำร้องขัดทรัพย์ จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่นอกเหนือไปจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำร้องขัดทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกา แม้ต่อมาผู้ร้องฎีกาก็ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งเฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้น
เนื้อหาในฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำวินิจฉัยพยานหลักฐานและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลชั้นต้น มิได้คัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายไม่ชอบอย่างไร และจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยเพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลาย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรง: ผลของการคัดค้านของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ในกรณีที่ไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ฉะนั้น หากจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของผู้อุทธรณ์ได้ เมื่อกฎหมายมิได้บัญญัติถึงเหตุผลแห่งคำคัดค้านไว้ จึงต้องแปลว่าเพียงจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำร้องดังกล่าวก็ต้องถือว่าจำเลยอุทธรณ์ประสงค์ให้การดำเนินคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของผู้อุทธรณ์ได้ การที่จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ แม้จะระบุเหตุแห่งคำคัดค้านว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ต้องถือว่าจำเลยอุทธรณ์ได้คัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์แล้ว ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคำคัดค้านไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ถือว่าไม่มีคำคัดค้านและมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ โดยตรงต่อศาลฎีกาได้นั้น จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5071/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ต้องฟ้องเป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวที่โจทก์เช่าอยู่อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าและโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว จำเลยให้การว่าไม่ได้ผิดสัญญาคดีมีประเด็นเพียงว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าหรือไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิการเช่าตึกแถวให้แก่ พ. โดยไม่ให้สิทธิแก่จำเลยซื้อก่อนตามข้อตกลงในสัญญาเช่าขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวและบังคับให้โจทก์ขายแก่จำเลย จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแต่เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก และมีผลกระทบไปถึงสิทธิของบุคคลภายนอกจึงไม่อาจพิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
of 32