พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลขายทอดตลาด: ผู้ซื้อต้องตรวจสอบสภาพที่ดินเอง ศาลไม่รับเพิกถอนกรณีสำคัญผิด
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจเลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ ซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาวของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศกับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึง ทั้งได้ระบุการไปที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิ ค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เห็นได้ว่า ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควรแก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดสิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจนหลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการ ประมูล ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศ เจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดิน ดังกล่าว กับผู้ร้องได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดิน เห็นที่ดิน แปลงหนึ่งห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศ ขายทอดตลาดเมื่อผู้ร้องทราบว่า มีการประกาศขายทอดตลาด ที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบ ที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการ ตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาดให้ดีก่อน ทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองเพราะ ตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเองเช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ตามคำร้องและคำแถลงคัดค้านของผู้ร้องแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดี พอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่ง ศาลชั้นต้น ในกรณีนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลขายทอดตลาดที่ดิน: ความรับผิดชอบของผู้ซื้อในการตรวจสอบสภาพที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของการบังคับคดี
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาด ที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ซึ่งมีชื่อจำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาว ของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศ กับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึงทั้งได้ระบุการไป ให้ดูตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่ กับระบุว่า การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้อง ไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง ดังนี้ ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควร แก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียด สิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจน หลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการประมูล ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด กับผู้ร้อง ได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดินเห็นที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดิน แปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้อง ทราบว่ามีการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาด ให้ดีก่อนทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง เพราะตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อ ไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้ เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ตามคำร้อง และคำแถลงคัดค้านของผู้ร้อง แล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐาน ที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ขอให้วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่งศาลชั้นต้นในกรณีนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7285/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันสัญญาประมูลแชร์และข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.เล่นแชร์
จำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้แล้วย่อมมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนคือสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ การที่จำเลยประมูลแชร์ได้แล้วสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ เช็คนั้นจึงมีมูลหนี้ต่อกันจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 (1) ถึง (4) เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันกฎหมายฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง อันเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่น จึงต้องมีผลผูกพันและบังคับกันได้ตามกฎหมาย การชำระหนี้ค่าแชร์ตามฟ้องจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 (1) ถึง (4) เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันกฎหมายฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง อันเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่น จึงต้องมีผลผูกพันและบังคับกันได้ตามกฎหมาย การชำระหนี้ค่าแชร์ตามฟ้องจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6829/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจในการประมูลทอดตลาด ไม่เป็นเหตุเพิกถอนการขาย
ป.วิ.พ. มาตรา 296
การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ดำเนินการยื่นขอซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเกินขอบอำนาจที่โจทก์ได้ให้ไว้ เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้รับมอบอำนาจซึ่งไม่มีใครสามารถล่วงรู้ และถ้าหากความจริงจะปรากฏตามที่โจทก์กล่าวอ้างก็เป็นเรื่องที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องรับผิดชอบต่อโจทก์โดยส่วนตัว เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกับผู้รับมอบอำนาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หาได้เป็นเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เพราะกฎหมายกำหนดเหตุที่จะอ้างเพื่อเพิกถอนการขายทอดตลาดไว้ว่า ต้องเป็นกรณีที่ต้องด้วยมาตรา 296 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ตามคำร้องโจทก์อ้างว่าผู้รับมอบอำนาจเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินขอบเขตอำนาจแล้วมาขอเพิกถอน ดังนี้ จึงไม่มีข้อที่ศาลจะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ดำเนินการยื่นขอซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเกินขอบอำนาจที่โจทก์ได้ให้ไว้ เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้รับมอบอำนาจซึ่งไม่มีใครสามารถล่วงรู้ และถ้าหากความจริงจะปรากฏตามที่โจทก์กล่าวอ้างก็เป็นเรื่องที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องรับผิดชอบต่อโจทก์โดยส่วนตัว เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกับผู้รับมอบอำนาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หาได้เป็นเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เพราะกฎหมายกำหนดเหตุที่จะอ้างเพื่อเพิกถอนการขายทอดตลาดไว้ว่า ต้องเป็นกรณีที่ต้องด้วยมาตรา 296 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ตามคำร้องโจทก์อ้างว่าผู้รับมอบอำนาจเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินขอบเขตอำนาจแล้วมาขอเพิกถอน ดังนี้ จึงไม่มีข้อที่ศาลจะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จากการประมูล: ผู้ซื้อที่แท้จริง vs. ตัวแทน
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทะเบียนรถยนต์ไม่มีผลทำให้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อ เพราะผู้มีชื่อในทะเบียนรถยนต์จะเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ต่อเมื่อเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงเท่านั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330จะบัญญัติให้สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลมิเสียไปก็ตามแต่บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่แท้จริงหากบุคคลดังกล่าวเป็นแต่เพียงตัวแทนของบุคคลอื่นในการซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด บุคคลดังกล่าวย่อมไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้น เมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาท จำเลยเป็นผู้ซื้อโดยใส่ชื่อผู้ร้องแทนรถยนต์คันพิพาทจึงเป็นของจำเลย มิใช่ของผู้ร้องผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยรถยนต์คันพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: ปลอมเอกสารเพื่อการประมูล
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรม แม้จำเลยเพิ่งจะหยิบยกขึ้นมาในชั้นฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา225 จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และปลอมใบเสนอราคาว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เสนอที่จะทำงานรับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ แก่สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดสิงห์บุรี โดยจำเลยลงลายมือชื่อปลอมของ ว. และประทับตราห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ปลอมลงในเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ส. เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา264 และจำเลยปลอมหนังสือราชการกรอกข้อความเป็นหนังสือรับรองว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ได้รับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานโรงเก็บพัสดุบ้านพักข้าราชการและอื่น ๆ ของโครงการชลประทานจังหวัดแพร่ แล้วจำเลยนำเอกสารต่าง ๆ ที่ทำปลอมดังกล่าวทั้งหมดไปใช้ยื่นแสดงต่อคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาและคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเพื่อให้หลงเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวทั้งหมดเป็นเอกสารแท้จริง การที่จำเลยกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เป็นผู้รับจ้างเหมาก่อสร้าง จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265 แต่กระทงเดียว
การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และปลอมใบเสนอราคาว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เสนอที่จะทำงานรับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ แก่สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดสิงห์บุรี โดยจำเลยลงลายมือชื่อปลอมของ ว. และประทับตราห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ปลอมลงในเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ส. เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา264 และจำเลยปลอมหนังสือราชการกรอกข้อความเป็นหนังสือรับรองว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ได้รับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานโรงเก็บพัสดุบ้านพักข้าราชการและอื่น ๆ ของโครงการชลประทานจังหวัดแพร่ แล้วจำเลยนำเอกสารต่าง ๆ ที่ทำปลอมดังกล่าวทั้งหมดไปใช้ยื่นแสดงต่อคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาและคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเพื่อให้หลงเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวทั้งหมดเป็นเอกสารแท้จริง การที่จำเลยกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เป็นผู้รับจ้างเหมาก่อสร้าง จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265 แต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแบ่งทรัพย์มรดก: ศาลมีอำนาจสั่งประมูลหากตกลงแบ่งกันไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์สองในสี่ส่วนและที่ดินที่มีชื่ออ. เป็นเจ้าของให้โจทก์อีกหนึ่งในสามส่วนหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองนั้นกรณีที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่พิพาทให้โจทก์เป็นการให้แบ่งตัวทรัพย์ส่วนที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองเป็นการให้ดำเนินการให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามส่วนในทางทะเบียนอันเป็นวิธีการบังคับตามคำพิพากษาโจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นตัวทรัพย์ได้แต่วิธีการแบ่งที่ดินพิพาทในชั้นบังคับคดีนั้นถ้าคู่ความไม่ตกลงกันก็ให้ประมูลราคากันเองระหว่างคู่ความก่อนถ้าไม่ตกลงก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ติดต่อจำเลยทั้งสองให้แบ่งที่ดินพิพาทแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมแบ่งทั้งยังขัดขวางการแบ่งโจทก์จึงขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งปันกันตามส่วนศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนเพื่อฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งว่าในการแบ่งที่ดินพิพาทคู่ความตกลงหรือประมูลราคาระหว่างกันเองได้หรือไม่ก่อนที่จะออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการไม่อุทธรณ์คำสั่งศาล
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2ไม่เกี่ยวกับคำสั่งศาลชั้นต้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2ฎีกาว่า ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีมีผู้เข้าสู้ราคาคนเดียว ไม่มีคู่แข่งเข้าประมูลสู้ราคา และมิได้กระทำต่อหน้าจำเลยที่ 2 เป็นการขายทอดตลาดที่มิชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง และเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินที่ได้จากการจำนองและประมูลเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ประกอบกิจการเงินทุนจัดหาเงินทุนจากประชาชนมาให้กู้ยืมโดยจำนองที่ดินเป็นประกันโจทก์มีสิทธิได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์จากการชำระหนี้การประกันการให้กู้ยืมเงินหรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกมาเป็นของโจทก์หรือภายในกำหนดเวลากว่านั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยดังที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา20(1)(ข)บัญญัติไว้ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้เงินคืนมาชำระหนี้จำนองและหนี้ที่โจทก์จัดหาทุนมาจากประชาชนกับเป็นกำไรของโจทก์อีกส่วนหนึ่งนั่นเองวิธีการดังกล่าวเป็นธุรกิจปกติของโจทก์ดังนั้นการที่โจทก์ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการการที่โจทก์ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา91/2(6)แห่งประมวลรัษฎากรดังที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร(ฉบับที่244)มาตรา3(5)กำหนดไว้โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ3ของรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา91/6(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาด การงดบังคับคดี และสิทธิในการรับคืนเงินประมูลเมื่อการขายทอดตลาดถูกยกเลิก
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวได้จากการขายทอดตลาดในราคา 1,940,000 บาท ผู้ร้องได้ชำระราคาครบถ้วนในวันขายทอดตลาดและกรมบังคับคดีได้มีหนังสือถึงศาลแพ่งให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องแล้ว แสดงว่าการซื้อขายเสร็จสิ้นลงแล้ว คงอยู่ในระหว่างดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงงดการบังคับคดีไว้เพื่อรอคำสั่งศาลและได้ให้ผู้ร้องรับเงินค่าซื้อสิทธิการเช่าตึกแถวคืนไปบางส่วน โดยเหลือเงินไว้ร้อยละ 5ของราคาที่ซื้อได้คิดเป็นเงิน 97,000 บาท ปรากฏว่าการขายทอดตลาดครั้งใหม่มีบุคคลอื่นประมูลได้ในราคา 2,320,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่ผู้ร้องประมูลได้กรณีไม่มีความเสียหายใด ๆ ที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516กรมบังคับคดีจึงไม่มีสิทธิที่จะริบเงินจำนวนนี้ จึงต้องคืนเงินจำนวนนี้แก่ผู้ร้อง