คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องซ้ำในคดีล้มละลาย: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม เนื่องจากประเด็นวินิจฉัยซ้ำกับคำร้องก่อนหน้า
คำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ป. เป็นผู้ยื่นคำร้องในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ ต่อมาผู้ร้องเป็นผู้ยื่นคำร้องโดยอ้างสิทธิว่าเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นเดียวกับ ป. ตามบทนิยามแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/1 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความเดิมที่ ป. เคยยื่นคำร้องไว้ แม้คดีนี้ผู้ร้องมิได้ระบุว่าขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยใช้คำว่า ขอให้มีคำสั่งให้ผู้บริหารแผนทุเลาการขายหุ้นไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด กับให้ผู้บริหารแผนกำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนใหม่อีกครั้งให้ได้ราคาที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายสูงกว่าที่กำหนดไว้หุ้นละ 3.30 บาท เปิดโอกาสให้ผู้สนใจร่วมลงทุนโดยวิธีการประมูลตามหลักธุรกิจการค้าปกติ โปร่งใส เป็นธรรม ก็ตาม แต่การที่จะกำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยประมูลขายหุ้นแก่ผู้สนใจร่วมลงทุนตามที่ผู้ร้องขอมาในคดีนี้ก็จะต้องยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 เสียก่อน แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองคดีต่างมีความประสงค์อย่างเดียวกันคือขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ส่วนการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและการดำเนินการขายหุ้นส่วนทุนตามแผน คำร้องทั้งสองฉบับได้กล่าวอ้างทำนองเดียวกันว่าผู้บริหารแผนไม่เปิดโอกาสให้มีการประมูลหรือแข่งขันเสนอราคาเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด กำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีหลักเกณฑ์หรือวิธีการคำนวณ กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ซื้อเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้บริหารแผนเป็นผู้ถือหุ้นหรือมีอำนาจกำกับดูแล มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้บริหารแผน ผู้ร่วมลงทุนใหม่จะเข้ามาครอบงำกิจการของลูกหนี้ เป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส ไม่สุจริตทำให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเสียหาย ดังนี้ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยตามคำร้องทั้งสองฉบับจึงเป็นประเด็นเดียวกัน คือ ผู้บริหารแผนดำเนินการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและทำข้อตกลงขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยชอบหรือไม่ เมื่อศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นดังกล่าวตามคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 แล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 9 ธันวาคม 2548 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้าม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดที่ประเด็นซ้ำกับคดีที่ฟ้องไว้แล้ว เป็นฟ้องซ้อนตามกฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยรับว่าเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์และยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลพิพากษาตามยอม ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดากับโจทก์ เพื่อประกอบกิจการร้านอาหาร แต่โจทก์และจำเลยสมรู้ร่วมคิดกันฟ้องคดีนี้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องที่มิได้เป็นบริวารของจำเลย ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาที่จะยื่นคำร้องสอดเข้ามาใสชั้นบังคับคดีหรือคำสั่งได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
แม้ผู้ร้องมีสิทธิที่ร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่ก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์และจำเลยให้บังคับโจทก์และจำเลยเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เช่าที่ดินจากจำเลยเป็นผู้ร้องกับพวก ให้โจทก์จดทะเบียนการเช่าที่ดินให้ผู้ร้องกับพวกมีกำหนด 5 ปี คดีอยู่ระหว่างพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์เพื่อปลูกสร้างอาคารประกอบกิจการร้านอาหารมีกำหนด 5 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ร้องกับพวกทำสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8898/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ - ที่ดินสาธารณประโยชน์: ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เนื่องจากคดีมีประเด็นซ้ำกับคดีก่อนหน้า
เดิมจำเลยฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์เป็นคดีนี้ คดีนี้กับคดีดังกล่าวจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่ แล้วในคดีนี้จึงวินิจฉัยต่อไปได้ว่าจำเลยบุกรุกและทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงต้องห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นดังกล่าวซ้ำอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์ในคดีนี้และการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แล้วมีคำพิพากษา จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว และเมื่อตามประเด็นข้อพิพาทเป็นกรณีที่เห็นได้ว่าการชี้ขาดตัดสินคดีนี้จำต้องอาศัยคำชี้ขาดตัดสินคดีดังกล่าวซึ่งจะต้องกระทำเสียก่อน ดังนั้น ถ้าศาลชั้นต้นได้เลื่อนการพิจารณาคดีนี้ไปจนกว่าคดีดังกล่าวจะถึงที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ก็ย่อมทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี อย่างไรก็ตาม แม้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้มา แต่เมื่อปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจะยกเรื่องที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ขึ้นต่อสู้โจทก์อีกไม่ได้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท
of 2