คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างให้พิจารณาเฉพาะประเด็นที่มิใช่การพิจารณาซ้ำ
คำฟ้องคดีเดิมเป็นคดีระหว่างจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์กับโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลย ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ว่า จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท โดยมิได้วินิจฉัยว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ คดีถึงที่สุดแล้ว สำหรับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มีว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท หากฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์ โจทก์ก็เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ว่าจะโอนโดยสุจริตหรือไม่สุจริต และยังมีประเด็นอีกว่า โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หรือไม่ โจทก์มีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทให้แก่โจทก์ในฐานที่โจทก์เป็นเจ้าของหรือให้ชดใช้ราคาแทนหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวข้างต้นเป็นคนละประเด็นกันกับที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในคดีเดิม การพิจารณาคดีนี้ตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้ว กรณีจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ สำหรับประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีก่อนที่ว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไว้โดยไม่สุจริตอันเป็นเหตุให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้น หากในคดีนี้ศาลฟังว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ในประเด็นต่อไปอาจจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปโดยสุจริตหรือไม่ หากจะมีการพิจารณาประเด็นดังกล่าวจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 144 ประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียวที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำทั้งหมดทุกประเด็นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247จึงชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำดังวินิจฉัยแล้วข้างต้นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะประเด็นทางภารจำยอม ศาลไม่ควรวินิจฉัยสิทธิครอบครองที่ดินเกินกว่าที่คู่ความพิพาทกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยอ้างว่าเป็นทางภารจำยอม จำเลยให้การว่ามิใช่ทางภารจำยอมจึงพิพาทกันเฉพาะทางพิพาทว่าเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วย การที่จำเลยนำชี้ในการทำแผนที่พิพาทว่าที่ดินตามกรอบสีแดงเป็นของตนและจำเลยร่วมคัดค้านว่าที่ดินตามกรอบสีเขียวเป็นของจำเลยร่วมก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้เป็นข้อพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี จำเลยและจำเลยร่วมต้องไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกรอบสีเขียวต่อไป การที่ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกรอบสีเขียวระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมนอกเหนือจากเรื่องทางภารจำยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะประเด็นทางภารจำยอม ศาลมิอาจวินิจฉัยสิทธิในที่ดินอื่นนอกเหนือจากประเด็นพิพาท
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยอ้างว่าเป็นทางภารจำยอมจำเลยให้การว่ามิใช่ทางภารจำยอมจึงพิพาทกันเฉพาะทางพิพาทว่าเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยการที่จำเลยนำชี้ในการทำแผนที่พิพาทว่าที่ดินตามกรอบสีแดงเป็นของตนและจำเลยร่วมคัดค้านว่าที่ดินตามกรอบสีเขียวเป็นของจำเลยร่วมก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้เป็นข้อพิพาทโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีจำเลยและจำเลยร่วมต้องไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกรอบสีเขียวต่อไปการที่ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกรอบสีเขียวระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมนอกเหนือจากเรื่องทางภารจำยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลต้องวินิจฉัยประเด็นสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่เพียงขับไล่ และไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่า จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 25 ไร่ ราคา 175,000 บาทวางมัดจำ 80,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันจดทะเบียน โอนที่ดิน เมื่อถึงกำหนดนัดจำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือ โจทก์จึงริบมัดจำและถือว่าสัญญาเลิกกัน ที่ดินที่จำเลยบุกรุก ประมาณ 10 ไร่ หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 12,000 บาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ผิดสัญญา เพราะไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยตามสัญญาได้ ขอให้ยกฟ้องและบังคับโจทก์รังวัดแบ่งแยกที่ดินเนื้อที่ 25 ไร่และจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลย หากไม่สามารถแบ่งแยกได้ให้โจทก์คืนเงินมัดจำ 80,000 บาท สภาพแห่งข้อหามิใช่คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองแต่เป็นคดีที่พิพาทกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า50,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: การพิจารณาประเด็นข้อเท็จจริงและการย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทโจทก์จึงริบมัดจำและถือว่าสัญญาเลิกกันขอให้ขับไล่และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ผิดสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินได้ตามสัญญาขอให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาหรือคืนเงินมัดจำดังนั้นสภาพแห่งข้อหาจึงมิใช่คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000บาทแต่เป็นคดีที่พิพาทกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า50,000บาทจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาทหลักในคำฟ้องและคำให้การ
การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 นั้น ต้องเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ในประเด็นที่พิพาทกันตามคำฟ้องและคำให้การ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครบอครองปลูกสร้างโรงอิฐ ปลูกต้นยางพารา ต้นกล้วยและต้นมะพร้าวในที่ดินสาธารณประโยชน์ บัดนี้ทางราชการประสงค์จะใช้ที่ดินปลูกสร้างอาคาร จึงขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดิน จำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ ที่ดินพิพาทไม่ได้ไม่ได้เป็นที่ดินสาธารณเป็นที่ดินสาธารณสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ดินทุ่งหวังหรือทุ่วช่วงกิ่วไม่ครอบคลุมถึงที่ดินของจำเลย ขอใหัยกฟัอง กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับตัวที่ดินเป็นหลัก ซึ่งทางศาลพิพากษาให้จำเลยชนะคดีก็มีที่ดินที่จะบังคับคดีได้ ตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ทำละเมิดต่อจำเลยและจำเลยได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้น จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท หรือขุดลอกรื้อถอนดินลูกรังเสาเข็ม แลอาคารออกไปจากที่ดินพิพาทในระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาต้องเชื่อมโยงกับประเด็นพิพาทหลักที่ฟ้องร้อง
การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264นั้นต้องเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ในประเด็นที่พิพาทกันตามคำฟ้องและคำให้การ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองปลูกสร้างโรงอิฐปลูกต้นยางพาราต้นกล้วยและต้นมะพร้าวในที่ดินสาธารณประโยชน์บัดนี้ทางราชการประสงค์จะใช้ที่ดินปลูกสร้างอาคารจึงขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ดินทุ่งหวังหรือทุ่งช่องกิ่วไม่ครอบคลุมถึงที่ดินของจำเลยขอให้ยกฟ้องกรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับตัวที่ดินเป็นหลักซึ่งหากศาลพิพากษาให้จำเลยชนะคดีก็มีที่ดินที่จะบังคับคดีได้ตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ทำละเมิดต่อจำเลยและจำเลยได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้นจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทหรือขุดลอกรื้อถอนดินลูกรังเสาเข็มและอาคารออกไปจากที่ดินพิพาทในระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นอยู่ที่การเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่การแบ่งทรัพย์สิน
ในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกที่มีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ประโยชน์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านอยู่ที่การจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น ไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตายการที่ผู้คัดค้านขอคุ้มครองชั่วคราวในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาประโยชน์ในทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวในคดีตั้งผู้จัดการมรดก ต้องมีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์มรดกโดยตรง
ในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกที่มีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกนั้นประโยชน์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านอยู่ที่การจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้นไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตายการที่ผู้คัดค้านขอคุ้มครองชั่วคราวในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาประโยชน์ในทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีตั้งผู้จัดการมรดก ต้องมีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกโดยตรง
ในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกที่มีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกนั้นประโยชน์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านอยู่ที่การจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้นไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตายการที่ผู้คัดค้านขอคุ้มครองชั่วคราวในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาประโยชน์ในทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264
of 6