คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเทศไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยและการหักรายจ่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
ธนาคารโจทก์กับสาขาต่างประเทศและสาขากรุงเทพฯ เป็นนิติบุคคลเดียวกัน เมื่อสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศส่งเงินมาให้สาขากรุงเทพฯ ใช้เป็นเงินกองทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ แม้เงินที่ส่งมานั้นจะเคยเป็นเงินฝากของลูกค้าของสาขาต่างประเทศซึ่งมีความผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากก็ตามการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งดอกเบี้ยสำหรับเงินจำนวนนี้ไปให้สาขาต่างประเทศก็เป็นเพียงการผ่อนภาระของสาขาต่างประเทศเท่านั้นมิใช่รายจ่ายโดยตรงของสาขากรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงและเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ทั้งเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเองตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) ซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศ ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันและการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 70 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาคนต่างด้าว: เงื่อนไขการถือภูมิลำเนาตามคู่สมรสและการพิจารณาคดีฟ้องหย่าในประเทศไทย
โจทก์มีสัญชาติออสเตรเลีย จำเลยมีสัญชาติอเมริกันได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายที่ประเทศไทย แต่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขอหย่ากับจำเลยนั้น ปรากฏว่าจำเลยได้ออกจากประเทศไทยไปก่อนแล้ว และไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศอีก ทั้งปรากฏว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองดังนี้ จำเลยย่อมมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไม่ได้เสียแล้ว
เมื่อจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย โจทก์ก็ฟ้องคดีขอหย่ากับจำเลยต่อศาลแห่งประเทศไทยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาคนต่างด้าวและการฟ้องหย่าในไทย: จำเลยต้องได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรจึงถือเป็นภูมิลำเนาได้
โจทก์มีสัญชาติออสเตรเลีย จำเลยมีสัญชาติอเมริกัน ได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายที่ประเทศไทย แต่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขอหย่ากับจำเลยนั้น ปรากฏว่าจำเลยได้ออกจากประเทศไทยไปก่อนแล้ว และไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศอีก ทั้งปรากฏว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนี้ จำเลยย่อมมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไม่ได้เสียแล้ว
เมื่อจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย โจทก์ก็ฟ้องคดีขอหย่ากับจำเลยต่อศาลแห่งประเทศไทยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกจำเลยต่างชาติ การมีภูมิลำเนาต่างประเทศมีผลต่อการดำเนินคดีในไทย
การลงโฆษณาหมายเรียกจำเลยทางหนังสือพิมพ์นั้น ย่อมมีผลเฉพาะจำเลยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวในระหว่างระยะเวลาที่ได้มีการลงโฆษณา
จำเลยเป็นบุคคลสัญชาติมาเลเซีย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อพนักงานสอบสวนปล่อยตัวจำเลย จำเลยกลับไปประเทศมาเลเซียก่อนศาลชั้นต้นลงโฆษณาหมายเรียกจำเลย และไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้น จำเลยได้กลับมาในประเทศไทยอีก ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยในประเทศโดยชอบแล้ว ศาลจึงดำเนินคดีต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกจำเลยต่างชาติ การมีภูมิลำเนาในไทยเป็นสำคัญ
การลงโฆษณาหมายเรียกจำเลยทางหนังสือพิมพ์นั้น. ย่อมมีผลเฉพาะจำเลยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวในระหว่างระยะเวลาที่ได้มีการลงโฆษณา.
จำเลยเป็นบุคคลสัญชาติมาเลเซีย. มีภูมิลำเนาอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย. เมื่อพนักงานสอบสวนปล่อยตัวจำเลย จำเลยกลับไปประเทศมาเลเซียก่อนศาลชั้นต้นลงโฆษณาหมายเรียกจำเลย และไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้น จำเลยได้กลับมาในประเทศไทยอีก. ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกให้แก่จำเลยในประเทศโดยชอบแล้ว ศาลจึงดำเนินคดีต่อไปไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการในไทยโดยตัวแทนต่างประเทศ: ภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัทในต่างประเทศ มีบริษัทโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยแล้ว กรณีภาษีเงินได้ย่อมต้องปรับบทตามประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ซึ่งบัญญัติให้ถือว่า บริษัทในต่างประเทศนั้นประกอบกิจการในประเทศไทยและให้ถือว่าบริษัทโจทก์เป็นตัวแทนของบริษัทในต่างประเทศนั้นและบริษัทโจทก์ย่อมมีหน้าที่ และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามความที่บัญญัติไว้นั้น แต่จะนำมาตรา 76 ทวินี้ไปใช้กับกรณีภาษีการค้าหาได้ไม่ เพราะอยู่ต่างส่วนต่างหมวดกัน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัทโจทก์ เป็นแต่เพียงผู้ติดต่อแทน บริษัทในต่างประเทศเฉพาะในกิจการลงนามในสัญญาการทวงถามให้จ่ายเงินตามสัญญา การจัดให้มีการออกใบรับเงินและการรับส่งวัสดุเครื่องอุปกรณ์ตามสัญญาซึ่ง เป็นการกระทำเป็นผู้ติดต่อในกิจการเฉพาะรายตามสัญญาเท่านั้น จะถือว่าได้มีการประกอบหรือดำเนินการค้าเป็นปกติธุระอันมีบริษัทโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าแทนยังไม่ได้ บริษัทโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดในภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้ ภาษีการค้า และภาษีเทศบาลของตัวแทนบริษัทต่างประเทศที่ประกอบกิจการในไทย
ภาษีเงินได้นั้น ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติมุ่งถึงการรับตัวเงินในที่ใดเลย หากให้พิเคราะห์ถึงผลที่ว่าบริษัทในต่างประเทศนั้นได้รับเงินหรือผลกำไรในประเทศไทยหรือไม่ คำว่าเงินได้หรือผลกำไรนั้น มิใช่ตัวเงินสด บริษัทในต่างประเทศจะได้รับในทางเครดิตหรือทางอื่นใดก็ตาม ถ้าเป็นเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยแล้วก็ย่อมอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อความในประมวลรัษฎากรที่ว่าในประเทศไทย นั้น หมายถึงกิจการที่ประกอบอันเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรนั้นได้กระทำในประเทศไทย หาใช่เงินได้หรือผลกำไรที่บริษัทต่างประเทศได้รับในประเทศไทยไม่
ภาษีการค้านั้น เมื่อบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้ประกอบหรือดำเนินการค้าในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้กระทำการแทนจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการค้าตามความหมายของประมวลรัษฎากรด้วย ฉะนั้น ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างไร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่เสียอย่างนั้น
ภาษีเทศบาลนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเทศบาลด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตภาษีเงินได้ ภาษีการค้า และภาษีเทศบาลสำหรับบริษัทต่างประเทศในไทย
ภาษีเงินได้นั้นประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติมุ่งถึงการรับตัวเงินในที่ใดเลย หากเป็นกรณีบริษัทในต่างประเทศ ก็ให้พิเคราะห์ถึงผลว่าบริษัทในต่างประเทศนั้นได้รับเงิน หรือผลกำไรในประเทศไทยหรือไม่ คำว่า เงินได้หรือผลกำไรนั้น มิใช่ตัวเงินสด บริษัทในต่างประเทศจะได้รับในทางเครดิตหรือทางอื่นใดก็ตาม ถ้าเป็นเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยแล้วก็ย่อมอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
ภาษีการค้านั้น เมื่อบริษัทที่อยู่ต่างประเทศได้ประกอบหรือดำเนินการค้าในประเทศไทย ผู้กระทำการแทนจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการค้าตามความหมายของประมวลรัษฎากรด้วย ฉะนั้นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าอย่างไรผู้กระทำการแทนบริษัทที่อยู่ต่างประเทศก็ต้องมีหน้าที่เสียอย่างนั้น
ภาษีเทศบาลนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเทศบาลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อยกเว้นการนำเข้าเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว
จำเลยนำเงินตราเข้ามาไนราชอานาจักร 16834 เปี้ยส เปนของพยานโจทส่วนที่เหลือเปนของจำเลย สาลก็ยังลงโทสจำเลยได้ ไม่ผิดต่อวิธีพิจารนาเงินตราต่างประเทสที่กดหมายอนุญาตไห้นำเข้ามาไนราชอานาจักรได้โดยไม่ต้องขออนุญาตนั้น ต้องเปนเงินที่นำเข้ามาพร้อมด้วยตนเพื่อไช้เองและเปนส่วนหนึ่งต่างหากจากจำนวนอื่น (อ้างดีกาที่ 264/2485)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศไทย: ข้อจำกัดและเงื่อนไขการอนุญาต
จำเลยนำเงินตราเข้ามาในราชอาณาจักร 16834 เปี้ยสชั้นพิจารณาปรากฏว่าเงิน 11420 เปี้ยส เป็นของพยานโจทก์ ส่วนที่เหลือเป็นของจำเลยศาลก็ยังลงโทษจำเลยได้ไม่ผิดต่อวิธีพิจารณา เงินตราต่างประเทศที่กฎหมายอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรได้โดยไม่ต้องขออนุญาตนั้นต้องเป็นเงินที่นำเข้ามาพร้อมกับตนเพื่อใช้เองและเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากจำนวนอื่น(อ้างฎีกาที่ 264/2485)
of 3