พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษี: ที่นอน/หมอนฟองน้ำเทียม ไม่จัดเป็นสินค้าลดหย่อนตาม พ.ร.ก.ภาษีอากร
สินค้าที่นอนและหมอนของโจทก์ซึ่งผลิตจากฟองน้ำเทียม ไม่ใช่สินค้าอื่น ๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เฉพาะที่ผลิตจากพลาสติกตามบัญชี 1 หมวด 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ. 2517เพราะสินค้าที่นอนและหมอนกฎหมายได้บัญญัติไว้แล้วในบัญชีที่ 2 หมวด 2 เพียงแต่กฎหมายในขณะพิพาทประสงค์ลดภาษีเฉพาะที่นอนและหมอนที่ยัดปุยนุ่นหรือปุยจากต้นไม้อย่างอื่นดังนั้นสินค้าของโจทก์จึงไม่อยู่ในบัญชีใด ๆ ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ฟองน้ำเทียมตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวย่อมหมายถึงฟองน้ำเทียมโดยตัวเอง หาได้มีความหมายรวมถึงสิ่งของที่ผลิตเป็นสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นโดยใช้ฟองน้ำเทียมเป็นส่วนประกอบด้วยไม่ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซึ่งถือเป็นผู้ผลิตสินค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตอยู่แล้ว เมื่อโจทก์นำฟองน้ำเทียมมาผลิตสินค้าเป็นที่นอนและหมอน ย่อมเห็นได้ชัดว่าโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซ้ำอีก.
ฟองน้ำเทียมตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวย่อมหมายถึงฟองน้ำเทียมโดยตัวเอง หาได้มีความหมายรวมถึงสิ่งของที่ผลิตเป็นสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นโดยใช้ฟองน้ำเทียมเป็นส่วนประกอบด้วยไม่ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซึ่งถือเป็นผู้ผลิตสินค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตอยู่แล้ว เมื่อโจทก์นำฟองน้ำเทียมมาผลิตสินค้าเป็นที่นอนและหมอน ย่อมเห็นได้ชัดว่าโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซ้ำอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรต้องตามความหมายของประเภทสินค้าและหมายเหตุ หากไม่มีข้อความกำหนดอื่น การตีความตามตัวอักษร
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในการจำแนกประเภทสินค้าตามพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ต้องเป็นไปตามความหมายในประเภทของสินค้านั้น หรือตามความหมายของหมายเหตุหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ จะตีความนอกเหนือไปจากความหมายที่ระบุไว้ในพิกัดหรือหมายเหตุในหมวดหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆไม่ได้ พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธียืดหรือเป่าเพียง 2 วิธีและยังมิได้มีการตกแต่ง พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่าและขัดผิวให้เรียบร้อยแล้วไม่ว่าจะขัดผิวโดยกรรมวิธีอย่างไร และกระจกนั้นจะมีสภาพใสเป็นมันเงาหรือไม่อย่างหนึ่งและแผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธีหล่อ รีด ยืดหรือเป่า และทำให้ใสแล้วไม่ว่าจะทำโดยกรรมวิธีอย่างไรและกระทำในขั้นตอนใดของการผลิตอีกอย่างหนึ่งเพราะตามพิกัดดังกล่าวระหว่างข้อความว่าขัดผิวกับทำให้ใสแล้วใช้คำว่า "หรือ" กระจกชีท ที่โจทก์นำเข้ามีกรรมวิธีในการผลิตโดยดึงน้ำแก้วที่หลอมเหลวในเบ้าหลอมขึ้นเป็นแผ่นกระจกในแนวตั้ง แผ่นกระจกที่ผ่านออกมามีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สภาพของผิวกระจกเรียบและใสทั้งสองด้าน เนื่องจากน้ำแก้วที่หลอมเหลวไหลผ่านไปบนผิวโลหะ หลอมเหลวในอ่างโลหะหลอมเหลวที่มีการควบคุมอุณหภูมิจนแผ่นกระจก เย็นลง สินค้าดังกล่าวจึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่70.06
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าไม้พื้น: ข้อพิพาทเรื่องประเภทสินค้าและการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายภาษีอากร
อุทธรณ์ของโจทก์โต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเภทสินค้า (แจกัน) เพื่อกำหนดสิทธิในการนำเข้าและคืนเงินภาษีอากร
โจทก์นำแจกันขนาดต่าง ๆ เข้ามาในราชอาณาจักร เป็นแจกันที่มีเนื้อกระเบื้องหรือวัสดุที่ใช้ผลิตไม่ขาวใส ลวดลายและการป้ายสีแม้แปลก ตา แต่ก็ไม่มีความประณีตสวยงาม แจกันบางใบมีรอยตำหนิ เป็นจุด ๆ ในเนื้อกระเบื้อง ราคาที่โจทก์ซื้อมาเป็นราคาไม่แพง ไม่มีคุณค่าพอที่จะนำไปเป็นเครื่องประดับบ้านเรือน คงมีความเหมาะสมเพื่อใช้ปักดอกไม้อันเป็นการใช้ตามสภาพของแจกันเท่านั้น จึงเป็นสินค้าเครื่องใช้ในบ้านเรือนตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 มิใช่เครื่องประดับบ้านเรือนตามพิกัดประเภทที่ 69.13 โจทก์นำแจกันเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าเป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13 ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ต้องห้ามนำเข้า ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร(ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2521 และได้ชำระภาษีประเภทต่าง ๆ ให้แก่จำเลยตามหน้าที่ การที่จำเลยรับชำระภาษีจากโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการรับชำระไว้โดยชอบ ต่อมาจำเลยไม่ยอมตรวจปล่อยแจกันบางส่วนซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่นำเข้าให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าแจกันพิพาทเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฯ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เสียก่อน โจทก์โต้แย้งว่าแจกันนั้นอยู่ในพิกัดตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ดังนี้เมื่อประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฯมิได้ห้ามการนำเข้าซึ่งสินค้าในพิกัดประเภทที่ 69.11 ไว้อย่างเด็ดขาด หากได้รับอนุญาตก็สามารถนำเข้าได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่ชำระไว้คืนจนกว่าโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ให้นำเข้าแจกันดังกล่าว และหรือโจทก์ส่งแจกันนั้นออกไปยังเมืองต่างประเทศ จำเลยจึงยังไม่ต้องคืนเงินค่าภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และเงินประกันค่าภาษีที่รับชำระไว้ให้แก่โจทก์ การที่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องโจทก์ในข้อหานำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จ กับนำของต้องพิกัดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตและสั่งให้คืนแจกันของกลางให้แก่โจทก์ โดยเห็นว่าแจกันนั้นมิได้อยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าแต่จำเลยไม่คืนแจกันแก่โจทก์โดยเห็นว่าเป็นสินค้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 69.11 เช่นนี้ความเห็นของพนักงานอัยการและจำเลยยังไม่เป็นยุติ จำเลยจึงยังมีอำนาจตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯที่จะกักแจกันของโจทก์ไว้โดยชอบจนกว่าโจทก์จะได้รับอนุญาตให้นำแจกันนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรได้หรือจัดการส่งแจกันออกไปยังเมืองต่างประเทศ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อลูมิเนียมฟอยล์และลามิเนต: การพิจารณาประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษีการค้า
อลูมิเนียมแผ่นเปลวชนิดฟอยล์ (PLAIN FOIL หรือ FOIL) และอลูมิเนียมแผ่นเปลวผนึกด้วยกระดาษ (LAMINATED FOIL) ที่โจทก์ผลิตขึ้นมานั้น จะเป็นของใช้เฉพาะที่ผลิตจากโลหะตามหมวด 9 บัญชีที่ 1 แห่ง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติของสินค้าดังกล่าวนั้น ว่าจะนำไปเป็นของใช้ในตัวของมันเองได้ในทันทีหรือไม่โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ใช้จะต้องนำของนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับความประสงค์พิเศษของผู้ใช้หรือเพื่อให้รู้แหล่งกำเนิดและชนิดของสินค้านั้น ๆ หรือไม่ โจทก์ต้องผลิตอลูมิเนียมทั้งสองชนิดดังกล่าวให้มีความหนา ความบาง ความกว้าง ความยาว และอื่น ๆ ตามคำสั่งของลูกค้า แสดงว่าเป็นสิ่งของที่พร้อมจะนำไปใช้จึงมีสภาพที่แท้จริงเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ห่อหรือบรรจุของหรือสินค้าอื่นโดยความมุ่งหมายเพื่อเก็บความร้อน ความชื้น และเก็บกลิ่นแม้ลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้อุตสาหกรรมหีบห่อ เช่นพวกซอง ถุงใส่ของโดยการนำไปพิมพ์ข้อความ เคลือบสี หรือนำไปผนึกเพื่อป้องกันมิให้ความชื้นเข้าไปได้ โดยนำไปทำเป็นซองหรือแผงเพื่อบรรจุสินค้าก็เป็นเพียงการปรับปรุงอลูมิเนียมแผ่นเปลวชนิดฟอยล์และอลูมิเนียมแผ่นเปลวผนึกด้วยกระดาษให้เหมาะสมกับสภาพที่จะเอาไปห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้าของลูกค้า เพื่อให้เกิดความสวยงาม ให้มีความคงทนในการเก็บรักษา ให้รู้ว่าสินค้าที่อยู่ภายในเป็นอะไร ให้รู้แหล่งกำเนิดของผู้ผลิต อลูมิเนียมทั้งสองชนิดนั้นมิได้คลายสภาพเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นใหม่ ยังคงมีสภาพเป็นของใช้ที่ใช้ห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้าอื่นที่ใช้ได้ทันทีในตัวของมันอยู่นั่นเอง จึงเป็นของใช้เฉพาะที่ผลิตจากโลหะตามหมวด 9 ของบัญชีที่ 1 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น (ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 5 (8) ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนั้น)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรเกิดเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอัตราภาษีและประเภทสินค้าที่ต้องเสียภาษี
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโจทก์ยื่น รายการเสียภาษีการค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า สำหรับสินค้ารายพิพาทในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ โดยขอวางหลักประกันภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับและ ทำหนังสือขอให้นำเรื่องเสนอต่อ คณะเจ้าหน้าที่ประสานงานภาษีการค้าพิจารณาเกี่ยวกับอัตราภาษีการค้า ถ้าโจทก์ไม่วางหลักประกันจำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมปล่อยให้โจทก์นำเข้าซึ่งสินค้ารายพิพาทเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เขียนสั่งการไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ของโจทก์ให้โจทก์วางหลักประกันภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 แล้วส่งเรื่องให้คณะเจ้าหน้าที่ประสานงานภาษีการค้าพิจารณาดังนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีการค้าสำหรับสินค้า รายพิพาทเกิดขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
กระดาษลายน้ำมีตรานกวายุภักษ์ในวงกลมและพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า THAI LOTTERY เป็นกระดาษลายน้ำมิใช่เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต้องเสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่ง ประมวลรัษฎากรหาใช่เสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 6 ไม่
กระดาษลายน้ำมีตรานกวายุภักษ์ในวงกลมและพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า THAI LOTTERY เป็นกระดาษลายน้ำมิใช่เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต้องเสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่ง ประมวลรัษฎากรหาใช่เสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 6 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีค่าธรรมเนียมท่าเรือ: ประเด็นข้อพิพาทเรื่องประเภทสินค้า (น้ำมันเชื้อเพลิง) ต้องสืบพยาน
ข้อเท็จจริงบางประเด็นตามฟ้องและคำให้การจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ รับฟังเป็นยุติไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา ต้องยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปแล้วพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขสัญญาประนีประนอมยอมความ: การจัดสถานที่ค้าต้องสอดคล้องกับประเภทสินค้าที่จำเลยค้า
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกล่าวว่า "เมื่อทางการเทศบาลนครกรุงเทพได้จัดที่ตั้งแผงลอยขึ้นที่คลองโอ่งอ่างและจัดให้ผู้ค้าแผงลอยเข้าตั้งได้แล้ว จำเลยที่ 1,2,3 ยอมย้ายแผงลอยจากหน้าร้านโจทก์ไปภายใน 1 เดือน" เช่นนี้ มีความหมายว่า จำเลยที่ 1,2,3 จะย้ายต่อเมื่อเทศบาลจัดสถานที่ตั้งแผงลอยขึ้นที่คลองโอ่งอ่าง เพื่อให้จำเลยทั้งสามมีสิทธิเข้าไปทำการค้า ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าแผงที่สร้างแล้วอนุญาตให้ค้าได้เฉพาะการค้าผ้า ไม่อนุญาตสำหรับการค้าผลไม้ ดอกไม้ และขนม อย่างที่จำเลยค้าจำเลยที่ 1,2,3 ยังไม่มีสิทธิเข้าไปทำการค้าในแผงนั้น กรณีจึงยังไม่เป็นไปตามเงื่อนไขตามสัญญายอมโจทก์ไม่มีอำนาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1,2,3 ออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าเมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับทุกประเภทสินค้า
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้ว สำหรับสินค้าประเภท 2 และโจทก์ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับประเภท 3 ในสินค้าอย่างเดียวกัน ซึ่งนายทะเบียนไม่ยอมรับจดให้จนกว่าโจทก์จำเลยจะตกลงกันเองหรือนำคดีขึ้นสู่ศาลซึ่งเป็นการสั่งให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 21, 22 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยห้ามใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าจำกัดเฉพาะประเภทสินค้าที่จดทะเบียน แม้คล้ายคลึงกันก็ไม่อาจอ้างสิทธิเหนือผู้ขอจดทะเบียนก่อน
ผู้ใดจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใดสำหรับสินค้าจำพวกหนึ่งตามรายการท้าย พ.ร.บ.แล้วจะถือว่าคุ้มครองไปทั่วทุกจำพวกไม่ได้ ถ้ามีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะคล้ายคลึงกันบ้างในสินค้าจำพวกอื่นไว้ก่อนแล้ว ตนจะมาขอให้ศาลสั่งว่าตนมีสิทธิดีกว่าในการที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกหลังไม่ได้.